โปรโมทหนังสือ
ธาตุ (Elements)
รูปหน้าปกหนังสือ
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
สนใจหนังสือ และความรู้ของผู้เขียน
เรื่องอื่น ๆ มีทั้งโหลดได้ฟรี และราคาถูก นอกเหนือจากนี้
คลิก
มีหนังสือ ธาตุ (Elements)
ทำเป็นเล่ม อีบุ๊ค เพื่อสนับสนุนเว็บไซต์
สามารถโหลดอ่านตัวอย่างก่อนซื้อได้เลยครับ ฟรี
หากผู้อ่านสนใจคลิกที่ชื่อสำนักพิมพ์
meb Se-ed Naiin
ตัวอย่างการนำไปใช้งาน
ก๊าซไฮโดรเจนเป็นธาตุที่เบาที่สุด และเบากว่าอากาศมาก นี่คือเหตุผลที่ลูกโป่งที่เติมไฮโดรเจน สามารถลอยได้สูงกว่าลูกโป่งที่บรรจุแต่อากาศ
รูปที่ 4.10 ลูกโป่งสวรรค์ ที่เติมก๊าซไฮโดรเจน หรือฮีเลียม
ที่มา: https://images.immediate.co.uk
บอลลูนไฮโดรเจน (Hydrogen balloon) นี้ สามารถลอยสูงขึ้นไปในชั้นบรรยากาศ ซึ่งติดตั้งเซ็นเซอร์ ที่จะรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความดันบรรยากาศ, อุณหภูมิ และความเร็วลม
รูปที่ 4.11 บอลลูนไฮโดรเจน
ที่มา: https://www.wfla.com
ไฮโดรเจนเหลวที่เย็นจัด (Supercold liquid hydrogen) นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงจรวดของยานอวกาศ ในการทำภารกิจด้านอวกาศ
รูปที่ 4.12 กระสวยอวกาศ
ที่มา: https://wha-international.com
อะตอมของไฮโดรเจนหลอมรวมกัน เพื่อผลิตพลังงานจำนวนมาก จนสามารถนำมาทำระเบิดจาก การระเบิดของไฮโดรเจน (Hydrogen bomb explosions: มีเรียกหลายชื่อ ได้แก่ อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์ (Thermonuclear weapon), อาวุธฟิวชัน (Fusion weapon) หรือระเบิดไฮโดรเจน (เฮช บอมบ์) (Hydrogen bomb (H bomb)) คือการออกแบบอาวุธนิวเคลียร์รุ่นที่สอง
ความซับซ้อนที่มากขึ้นทำให้มีพลังทำลายล้างสูงกว่าระเบิดนิวเคลียร์รุ่นแรก ขนาดที่กะทัดรัดกว่า มวลที่น้อยกว่า หรือการผสมผสานข้อดีเหล่านี้เข้าด้วยกัน)
รูปที่ 4.13 ระเบิดไฮโดรเจน
ที่มา: https://cdn.wallpapersafari.com
ไฮโดรเจนบริสุทธิ์ ยังเป็นแหล่งพลังงานสะอาดที่ใช้เป็นพลังงานให้กับรถโดยสาร และรถยนต์บางรุ่น
รถประหยัดพลังงาน ขับเคลื่อนด้วย เซลล์เชื้อเพลิง (Fuel cell: เป็นเซลล์ไฟฟ้าเคมีที่เปลี่ยนพลังงานเคมีจากเชื้อเพลิงชนิดหนึ่ง ให้เป็นกระแสไฟฟ้าผ่านทางปฏิกิริยาเคมีของไอออนของไฮโดรเจนประจุบวกกับออกซิเจน หรือตัวทำออกซิเดชันอื่น
เซลล์เชื้อเพลิงแตกต่างจากแบตเตอรี่ที่ว่า มันต้องการแหล่งจ่ายเชื้อเพลิง และออกซิเจน หรืออากาศอย่างต่อเนื่อง เพื่อความยั่งยืนของปฏิกิริยาเคมี ในขณะที่ในแบตเตอรี่สารเคมีภายในจะทำปฏิกิริยาต่อกัน เพื่อผลิตแรงเคลื่อนไฟฟ้า (emf) เซลล์เชื้อเพลิงสามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องนานเท่าที่เชื้อเพลิง และออกซิเจน หรืออากาศยังคงถูกใส่เข้าไป ไม่เหมือนกับแบตเตอรี่ที่จะหยุดจ่ายกระแสไฟฟ้าถ้าสารเคมีหมดอายุการใช้งาน) พลังงานได้จากไฮโดรเจน ไอเสียจากเชื้อเพลิงไฮโดรเจนก็คือ ไอน้ำ (Steam)
รูปที่ 4.14 รถบัสพลังงานไฮโดรเจน
ที่มา: https://images.squarespace-cdn.com
ในอาหาร ก็นำมาทำ เนยเทียม หรือมาการีน (Margarine: ทำจากน้ำมันพืชที่ทำให้ข้น โดยการเติมไฮโดรเจน (ตัวนี้อันตรายต่อการเกิดการสะสมของไขมันในเส้นเลือด และหัวใจ การบริโภคควรระวัง)) คืออาหารสังเคราะห์อย่างหนึ่ง เพื่อใช้แทนเนย ผลิตขึ้นจากไขมันชนิดอื่นที่ไม่ได้มาจากนมวัว
รูปที่ 4.15 มาการีน
ที่มา: https://www.tasteofhome.com
ในทางการแพทย์ นำมาใช้ในการทำความสะอาดแผล เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อ นั่นก็คือ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen peroxide)
รูปที่ 4.16 ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
ที่มา: https://www.naturallivingideas.com
จบบทที่ 4
รูปจำลองโมเลกุลของน้ำ
ที่มา: https://www.innovationnewsnetwork.com
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“ไม่ต้องรู้สึกอับอายกับความล้มเหลว
จงเรียนรู้จากมัน และเริ่มต้นใหม่
Do not be embarrassed by your failures, learn form them and start again.”
Richard Branson
<หน้าที่แล้ว สารบัญ