ก่อนที่จะเข้าไปสู่เรื่องเคมี ผู้เขียนขอโปรโมทหนังสือเรื่องธาตุก่อนนะครับ สามารถไปโหลดอ่านตัวอย่างได้ตามลิ้งค์ที่ให้ไว้
แล้วหากสนใจอ่านทั้งเล่ม ก็มีขายเป็นอีบุ๊ค เพื่อสนับสนุนเว็บไซต์ได้ครับ
1.3 อะตอม
ถ้าเอาชิ้นวัตถุชิ้นหนึ่ง มาตัดแบ่งครึ่ง ครึ่งหนึ่งที่แบ่งก็มาตัดแบ่งครึ่งอีก อีกครึ่งหนึ่งที่แบ่งก็ผ่าแบ่งครึ่งอีก ทำเช่นนี้เรื่อยไป จนมันเล็กลงเรื่อย ๆ ผ่าแบ่งครึ่งจนไม่สามารถตัดแบ่งได้อีกต่อไป จนไม่สามารถแยกแบ่งออกได้อีก
รูปที่ 1.10 เปรียบเทียบการตัดวัตถุให้เล็กลง เรื่อย ๆ ไปจนถึงระดับอะตอม
ที่มา : https://chem.libretexts.org
สนใจหนังสือ และความรู้ของผู้เขียน
เรื่องอื่น ๆ มีทั้งโหลดได้ฟรี และราคาถูก นอกเหนือจากนี้
คลิก
มีหนังสือ ธาตุ (Elements)
ทำเป็นเล่ม อีบุ๊ค เพื่อสนับสนุนเว็บไซต์
รูปหน้าปกหนังสือ
สามารถโหลดอ่านตัวอย่างก่อนซื้อได้เลยครับ ฟรี
หากผู้อ่านสนใจคลิกที่ชื่อสำนักพิมพ์
meb Se-ed Naiin
จากนั้นก็ใช้ กล้องส่องจุลทรรศน์ (Microscope) ส่องดูเล็กไปจนถึงขอบเขตจุดสิ้นสุด ส่วนนี้นักวิทยาศาสตร์เรียกกันว่า อะตอม (Atom) ซึ่งเป็นส่วนที่เล็กที่สุดของธาตุ และนั่นเป็นคุณสมบัติทั้งหมดของธาตุ
ดังนั้นอะตอมจึงมีความหมายถึง “สิ่งซึ่งไม่สามารถแบ่งได้อีก (Indivisible)”
รูปที่ 1.11 นีลส์ บอร์
ที่มา: http://www.counterbalance.org
นีลส์ บอร์ (Niel Bohr) เป็นผู้คิดค้นทฤษฏีอะตอมสมัยใหม่ ซึ่งเป็นที่ยอมรับร่วมกันทางสากล ถึงโครงสร้างของอะตอม อะตอมถูกสร้างขึ้นจากอนุภาคสามชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีความแตกต่างในประจุไฟฟ้า
ส่วนที่เล็กที่สุดของสสาร ก็คือ อะตอม ภายในของอะตอมจะประกอบไปด้วย โปรตอน (Protons: มีประจุเป็นบวก), นิวตรอน (Neutrons: ไม่มีประจุ หรือเป็นกลาง) และอิเล็กตรอน (Electrons: มีประจุเป็นลบ) ธาตุทุกธาตุจะมีจำนวนโปรตอนไม่ซ้ำกัน
รูปที่ 1.12 แบบจำลองของอะตอม
ที่มา: http://assets.openstudy.com
อะตอมที่ไม่มีประจุ และมีจำนวนตัวเลขที่เท่ากันของโปรตอน กับอิเล็กตรอน จึงไม่มีเครื่องหมายของประจุ ส่วนอะตอมที่มีตัวเลขที่ไม่เท่ากันของโปรตอน และอิเล็กตรอน จะเรียกว่า ไอออน (Ions)
รูปที่ 1.13 อะตอมที่ต้องแสดงประจุไฟฟ้าบวก และลบ
ที่มา : https://slideplayer.es
ส่วนประกอบของอะตอม
รูปที่ 1.14 ส่วนประกอบของอะตอม
ที่มา: http://1.bp.blogspot.com
นิวเคลียส
แกนกลาง หรือนิวเคลียส (Nucleus) ของอะตอม ประกอบด้วยโปรตอน และนิวตรอน มวลเกือบทั้งหมดของอะตอมอัดแน่นอยู่ในนิวเคลียส และทำให้ธาตุแต่ละชนิดมีมวลอะตอมเฉพาะตัว
โปรตอน
โปรตอน มีประจุไฟฟ้าเป็นบวก ประจุนี้จะดึงดูดอิเล็กตรอนที่มีประจุลบ และยึดเหนี่ยวอิเล็กตรอนให้หมุนวนรอบนิวเคลียส เนื่องจากประจุของโปรตอนแต่ละตัวถูกยกเลิกโดยประจุของอิเล็กตรอนที่เท่ากัน อะตอมจึงไม่มีประจุรวม ดังนั้นมันจึงเป็นกลาง
นิวตรอน
นิวตรอน เป็นอนุภาคที่เป็นกลางตามชื่อของมัน ซึ่งหมายความว่าพวกมันไม่มีประจุไฟฟ้า นิวตรอนมีน้ำหนักเท่ากับโปรตอน แต่มีมากกว่าอิเล็กตรอนมาก
อิเล็กตรอน
อนุภาคขนาดเล็กที่มีประจุลบในอะตอม เรียกว่า อิเล็กตรอน พวกมันเกี่ยวข้องกับวิธีที่อะตอมของธาตุทำปฏิกิริยา และสร้างพันธะกับอะตอมของธาตุอื่น
เชลล์
อิเล็กตรอนในอะตอมเคลื่อนที่ไปรอบนิวเคลียส เรียงเป็นชั้น ๆ เรียกว่า วงแหวน หรือวงโคจร หรือเปลือกอะตอม หรือเชลล์ (Shell) เมื่อทำปฏิกิริยากัน อะตอมมักจะไปเติมที่เปลือกนอกเพื่อให้เสถียรมากขึ้น
อะตอมทำงานเหมือนแม่เหล็กตัวเล็ก ๆ แรงที่เรียกว่า แม่เหล็ก (Magnetism) จะจับพวกมันไว้ด้วยกัน ทำให้อนุภาคที่มีประจุตรงข้ามกัน เช่น โปรตอน และอิเล็กตรอน ดึงดูดซึ่งกัน และกัน ส่วนพวกที่มีประจุเหมือนกันจะผลักกัน
รูปที่ 1.15 แม่เหล็ก
ที่มา: https://smartclass4kids.com
รูปที่ 1.16 การดึงดูดกันของอะตอม
ที่มา: https://dibujafacil.com
อะตอมเป็นอนุภาคที่เล็กที่สุด และเป็นส่วนประกอบหนึ่งของ ธาตุ (Element) ธาตุตั้งแต่สองธาตุขึ้นไปรวมกันจะเป็น สารประกอบ (Compounds) รูปแบบสารละลายธาตุ, สารประกอบ และสารผสม (Mixtures) เราสามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันตลอดเวลา
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“พายุ ไม่ใช่สิ่งน่ากลัว
เพราะฉันรู้วิธีรับมือกับมัน
I’m not afraid of storms, for I’m learning how to sail my ship.”
Louisa May Alcott
<หน้าที่แล้ว สารบัญ หน้าต่อไป>