ก่อนที่จะเข้าไปสู่เรื่องเคมี ผู้เขียนขอโปรโมทหนังสือเรื่องธาตุก่อนนะครับ สามารถไปโหลดอ่านตัวอย่างได้ตามลิ้งค์ที่ให้ไว้
แล้วหากสนใจอ่านทั้งเล่ม ก็มีขายเป็นอีบุ๊ค เพื่อสนับสนุนเว็บไซต์ได้ครับ
บทที่ 1 รู้จักธาตุเบื้องต้น
1.1 สสาร
สสาร (Matter) คือ สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว ที่ต้องการใช้พื้นที่ และมีน้ำหนัก มันถูกกำหนดให้เป็นสสาร
ตัวอย่างของสสาร อากาศที่เราใช้หายใจ นี้ก็เป็นสสาร, น้ำที่เราดื่มกิน, เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม และแม้กระทั่งตัวเราเองก็เป็นสสารด้วย สสารอาจเป็นได้ทั้งธาตุ หรือสารประกอบ
สสาร อาจพบได้เป็น 4 สถานะ ได้แก่ ของแข็ง (Solid), ของเหลว (Liquid), ก๊าซ (Gas, Gaseous) และพลาสมา(Plasma)
รูปที่ 1.1 ตัวอย่างน้ำที่เป็นสสาร สามารถเป็นได้ 4 สถานะ
ที่มา: https://encrypted-tbn0.gstatic.com
สนใจหนังสือ และความรู้ของผู้เขียน
เรื่องอื่น ๆ มีทั้งโหลดได้ฟรี และราคาถูก นอกเหนือจากนี้
คลิก
มีหนังสือ ธาตุ (Elements)
ทำเป็นเล่ม อีบุ๊ค เพื่อสนับสนุนเว็บไซต์
รูปหน้าปกหนังสือ
สามารถโหลดอ่านตัวอย่างก่อนซื้อได้เลยครับ ฟรี
หากผู้อ่านสนใจคลิกที่ชื่อสำนักพิมพ์
meb Se-ed Naiin
1.1.1 ของแข็ง
ของแข็ง คือ สถานะของสสารที่มี อนุภาค (Particle) อยู่ชิดกัน มีช่องว่างระหว่างอนุภาคน้อย จึงเคลื่อนไหวได้ยาก
รูปร่างสสารมักจะคงที่ เปลี่ยนแปลงได้ยาก สสารที่มีสถานะเป็นของแข็ง เช่น ก้อนหิน, เหล็ก, น้ำแข็ง ฯลฯ
รูปที่ 1.2 ก้อนหิน
ที่มา: https://www.incimages.com
1.1.2 ของเหลว
ของเหลว คือ สถานะของสสารที่มีอนุภาคอยู่ห่างกันมากกว่าของแข็ง แต่อยู่กันอย่างหลวม ๆ อนุภาคของสสารจึงเคลื่อนไหวได้ง่ายขึ้น
มันจึงมีรูปร่างไม่แน่นอน และเปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะที่บรรจุ ยกตัวอย่างเช่น น้ำ, น้ำมัน, เหล้า ฯลฯ
รูปที่ 1.3 น้ำ
ที่มา: https://media.springernature.com
1.1.3 ก๊าซ
ก๊าซ คือ สถานะของสสารที่มีอนุภาคอยู่ห่างกัน จึงมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างกันน้อยมาก ทำให้อนุภาคเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ มันจึงมีรูปร่างไม่แน่นอน
เมื่อสสารอยู่ในภาชนะใด อนุภาคของสสารจะฟุ้งกระจายเต็มภาชนะ ยกตัวอย่างเช่น อากาศ, ก๊าซหุงต้ม, คาร์บอนไดออกไซด์ ฯลฯ
รูปที่ 1.4 ก๊าซกำลังพวยพุ่ง
ที่มา: https://cdn.mos.cms.futurecdn.net
1.1.4 พลาสมา
พลาสมา คือ สถานะของสารที่มีอนุภาคแตกกระจาย จึงเกิดการกระจายไปมาของอนุภาค ทำให้อนุภาคเคลื่อนไหวแบบรวดเร็ว สสารจึงมีรูปร่างที่ไม่แน่นอน แล้วก็สลายไปอย่างรวดเร็วในเวลาอันสั้น
รูปที่ 1.5 ลูกบอลพลาสมา
ที่มา: https://qph.cf2.quoracdn.net
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“ผมยอมรับความล้มเหลวได้
แต่ผมรับไม่ได้
ถ้าหากไม่ได้พยายาม”
Michael Jordan
<หน้าที่แล้ว สารบัญ หน้าต่อไป>