ก่อนที่จะเข้าไปสู่เรื่องเคมี ผู้เขียนขอโปรโมทหนังสือเรื่องธาตุก่อนนะครับ สามารถไปโหลดอ่านตัวอย่างได้ตามลิ้งค์ที่ให้ไว้
แล้วหากสนใจอ่านทั้งเล่ม ก็มีขายเป็นอีบุ๊ค เพื่อสนับสนุนเว็บไซต์ได้ครับ
ธาตุ
Elements
การรู้จักกับธาตุ น่าจะเป็นปฐมบทของวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ในด้านเคมี เพราะธาตุแต่ละตัวเป็นพื้นฐานของสารประกอบต่าง ๆ ที่นำมารวมกัน แล้วเอามาใช้เดี่ยว หรือประยุกต์ผสมกัน จนใช้งานได้หลากหลายอย่าง ดังที่เห็นได้ในชีวิตประจำวัน
ก่อนจะเรียนรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ สาขาเคมี เรามาดูว่าอะไรล่ะ? ที่ทำให้เกิดสารเคมีที่เรานำมาใช้งานในชีวิตประจำวันกันก่อน
รูปจำลองอะตอม
ที่มา: https://play-lh.googleusercontent.com
สนใจหนังสือ และความรู้ของผู้เขียน
เรื่องอื่น ๆ มีทั้งโหลดได้ฟรี และราคาถูก นอกเหนือจากนี้
คลิก
มีหนังสือ ธาตุ (Elements)
ทำเป็นเล่ม อีบุ๊ค เพื่อสนับสนุนเว็บไซต์
รูปหน้าปกหนังสือ
สามารถโหลดอ่านตัวอย่างก่อนซื้อได้เลยครับ ฟรี
หากผู้อ่านสนใจคลิกที่ชื่อสำนักพิมพ์
meb Se-ed Naiin
ธาตุ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ในการนำแต่ละตัวมาผสมนู่นนี่นั่นตามธรรมชาติ หรือทำการผสมกันอย่างมีความรู้ จนเกิดเป็นสารที่นำมาใช้งาน เรียนรู้หัวใจก่อนที่จะได้เข้าไปเรียนกลไกที่จะเกิดการทำงานในขอบเขตของวิชาเคมี
ในตารางธาตุที่มีอยู่ในตอนนี้ (มีอยู่ 118ธาตุในอนาคตน่าจะมีเพิ่มขึ้น เมื่อเทคโนโลยีของมนุษย์ก้าวหน้าไปถึง) ทุกสิ่งในธรรมชาติ ตั้งแต่ภูเขา และมหาสมุทร ไปจนถึงอากาศที่เราหายใจ และอาหารที่เรากิน มันประกอบไปด้วยสสารที่เรียกว่า ธาตุ
ธาตุหลายชนิด มีคุณสมบัติทางเคมี และทางฟิสิกส์ (กายภาพ) ที่ไม่เหมือนใคร และบางครั้งก็น่าประหลาดใจ ตัวอย่างเช่น แกลเลียมเป็นของแข็งแต่ละลายในมือ, สารประกอบของกำมะถันทำให้ไข่เน่ามีกลิ่นเหม็น, ฟลูออรีนเป็นก๊าซที่สามารถเผาไหม้คอนกรีตจนเป็นรูได้!
ธาตุเหล่านี้ไม่ค่อยพบในรูปแบบบริสุทธิ์ ส่วนใหญ่จะรวมกันเป็นสารประกอบ ซึ่งประกอบขึ้นเป็นสสารที่อยู่รอบตัวเรา ตัวอย่างเช่น ไฮโดรเจน และออกซิเจนเกิดเป็นน้ำ, โซเดียม และคลอรีนก่อตัวเป็นเกลือ และคาร์บอนพบได้ในสารประกอบหลายล้านชนิด ซึ่งหลายชนิดนี้รวมถึงโปรตีน และน้ำตาลทำให้ร่างกายของเราทำงานได้
หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับองค์ประกอบต่าง ๆ เราจำเป็นต้องดูตารางธาตุให้ดีเสียก่อน นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกใช้สิ่งนี้เพื่อแสดงรายการ และรายละเอียดของธาตุต่าง ๆ แสดงข้อมูลสำคัญสำหรับแต่ละธาตุ โดยจัดกลุ่มตามประเภทที่คล้ายคลึงกัน
ด้วยข้อมูลนี้ เราสามารถใช้ธาตุหลากหลาย เพื่อสร้างสิ่งต่าง ๆ ที่เราต้องการได้ เช่น สารประกอบฟลูออรีนในยาสีฟันทำให้ฟันของเราแข็งแรงขึ้น และผลึกซิลิกอนที่ออกแบบเป็นไมโครชิปจะควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้า และโทรศัพท์ของเรา
ทุกธาตุมีเรื่องราวของตัวเองว่ามันมาจากไหน ทำอะไรได้บ้าง และเราจะใช้มันอย่างไร หนังสือเล่มนี้ เราจะมาเริ่มดูทุกธาตุที่มีอยู่ในตารางธาตุ ทีละรายการ ไม่ได้มีไว้ให้จำ (ถ้าจำได้ก็สุดยอด) แต่ให้ทำความเข้าใจ และสามารถประยุกต์ใช้งานได้
เกริ่นนำ
ก่อนที่จะเข้าไปอ่าน ในเรื่องของธาตุในแต่ละตัว เรามาดูภาพรวมในหนังสือเล่มนี้กันก่อนนะครับ เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
บทที่ 1 รู้จักธาตุเบื้องต้น
เราจะมาทำความรู้จักกับ สสาร, อะตอม, โมเลกุล, ธาตุ, สารประกอบ, ของผสม, เลขอะตอม, วงโคจรอิเล็กตรอน ฯลฯ
บทที่ 2 ความเป็นมาเกี่ยวกับธาตุ
ผู้คนสมัยก่อนกับการค้นพบธาตุ, ความเชื่อในเรื่องของการเล่นแร่แปรธาตุ, นักเคมีในยุคแรก ฯลฯ
รูปดิน น้ำ ลม ไฟ แนวคิดธาตุของคนสมัยก่อน
ที่มา: https://c4.wallpaperflare.com
บทที่ 3 ตารางธาตุ
รู้จักกับตารางธาตุ, การแบ่งกลุ่มของธาตุในตารางสมัยใหม่, การอ่านตารางธาตุเบื้องต้น
บทที่ 4 ไฮโดรเจน
รู้จักกับธาตุตัวแรก ที่ไม่มีกลุ่ม ตัวเดียวโดด ๆ แต่มีความสำคัญ มาดูแหล่งที่จะพบมัน และตัวอย่างของการนำไปใช้ประโยชน์
รูปจำลองอะตอมไฮโดรเจน
ที่มา: https://hidrogenoaragon.org
บทที่ 5 ธาตุในกลุ่มโลหะอัลคาไล
มารู้จักกับธาตุในกลุ่มนี้ แหล่งที่มาของมัน และตัวอย่างของการใช้ประโยชน์
ธาตุในกลุ่มนี้ได้แก่ ลิเธียม, โซเดียม ,โพแทสเซียม, รูบิเดียม, ซีเซียม และแฟรนเซียม
บทที่ 6 ธาตุในกลุ่มโลหะอัลคาไลน์เอิร์ท
มารู้จักกับธาตุในกลุ่มนี้ แหล่งที่มาของมัน และตัวอย่างของการใช้ประโยชน์
ธาตุในกลุ่มนี้ได้แก่ เบริลเลียม,แมกนีเซียม, แคลเซียม, สตรอนเซียม, แบเรียม และเรเดียม
บทที่ 7 ธาตุในกลุ่มโลหะทรานซิชัน
เป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด เรามารู้จักกับธาตุในกลุ่มนี้ แหล่งที่มาของมัน และตัวอย่างของการใช้ประโยชน์
ธาตุในกลุ่มนี้ได้แก่ สแกนเดียม, ไทเทเนียม, วาเนเดียม, โครเมียม, แมงกานีส, เหล็ก, โคบอลต์, นิกเกิล, ทองแดง, สังกะสี, อิตเทรียม, เซอร์โคเนียม, ไนโอเบียม, โมลิบดีนัม, เทคนีเชียม, รูทีเนียม, โรเดียม, แพลเลเดียม, เงิน, แคดเมียม, แฮฟเนียม, แทนทาลัม, ทังสเตน, รีเนียม, ออสเมียม, อิริเดียม, แพลทินัม, ทอง, ปรอท, รัทเทอร์ฟอร์เดียม, ดุบเนียม, ซีบอร์เกียม, โบห์เรียม, ฮัสเซียม, ไมต์เนเรียม, ดาร์มสตัดเทียม, เรินต์เกเนียม และ โคเปอร์นิเซียม
รูปตารางธาตุ
ที่มา: https://miro.medium.com
บทที่ 8 ธาตุในกลุ่มแลนทาไนด์
มารู้จักกับธาตุในกลุ่มนี้ แหล่งที่มาของมัน และตัวอย่างของการใช้ประโยชน์
ธาตุในกลุ่มนี้ได้แก่ แลนทานัม, ซีเรียม, ปราซีโอไดเมียม, นีโอไดเมียม, โพรมีเทียม, ซาแมเรียม, ยูโรเพียม, แกโดลิเนียม, เทอร์เบียม, ดิสโพรเซียม, โฮลเมียม, เออร์เบียม, ทูเลียม, อิตเทอร์เบียม และลูทีเชียม
บทที่ 9 ธาตุในกลุ่มแอคติไนด์
มารู้จักกับธาตุในกลุ่มนี้ แหล่งที่มาของมัน และตัวอย่างของการใช้ประโยชน์
ธาตุในกลุ่มนี้ได้แก่ แอกทิเนียม, ทอเรียม, โพรแทกทิเนียม, ยูเรเนียม, เนปทูเนียม, พลูโตเนียม, อะเมริเซียม, คูเรียม, เบอร์คีเลียม, แคลิฟอร์เนียม, ไอน์สไตเนียม, เฟอร์เมียม, เมนเดเลเวียม, โนเบเลียม และลอว์เรนเซียม
บทที่ 10 ธาตุในกลุ่มโบรอน
มารู้จักกับธาตุในกลุ่มนี้ แหล่งที่มาของมัน และตัวอย่างของการใช้ประโยชน์
ธาตุในกลุ่มนี้ได้แก่ โบรอน, อลูมิเนียม, แกลเลียม, อินเดียม, แทลเลียม และนิโฮเนียม
บทที่ 11 ธาตุในกลุ่มคาร์บอน
มารู้จักกับธาตุในกลุ่มนี้ แหล่งที่มาของมัน และตัวอย่างของการใช้ประโยชน์
ธาตุในกลุ่มนี้ได้แก่ คาร์บอน, ซิลิกอน, เจอร์เมเนียม, ดีบุก, ตะกั่ว และฟลิโรเวียม
บทที่ 12 ธาตุในกลุ่มไนโตรเจน
มารู้จักกับธาตุในกลุ่มนี้ แหล่งที่มาของมัน และตัวอย่างของการใช้ประโยชน์
ธาตุในกลุ่มนี้ได้แก่ ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส, อาร์เซนิก, แอนติโมนี, บิสมัท และมอสโกเวียม
บทที่ 13 ธาตุในกลุ่มออกซิเจน
มารู้จักกับธาตุในกลุ่มนี้ แหล่งที่มาของมัน และตัวอย่างของการใช้ประโยชน์
ธาตุในกลุ่มนี้ได้แก่ ออกซิเจน, ซัลเฟอร์, ซีลีเนียม, เทลลูเรียม, พอโลเนียม และลิเวอร์มอเรียม
บทที่ 14 ธาตุในกลุ่มฮาโลเจน
รู้จักกับธาตุในกลุ่มนี้ แหล่งที่มาของมัน และตัวอย่างของการใช้ประโยชน์
ธาตุในกลุ่มนี้ได้แก่ ฟลูออรีน, คลอรีน, โบรมีน, ไอโอดีน, แอสทาทีน และเทนเนสซีน
รูปก๊าซเฉื่อย
ที่มา: https://chandigarhmetro.com
บทสุดท้าย บทที่ 15 ธาตุในกลุ่มก๊าซเฉื่อย
รู้จักกับธาตุมีตระกูลในกลุ่มนี้ แหล่งที่มาของมัน และตัวอย่างของการใช้ประโยชน์
ธาตุในกลุ่มนี้ได้แก่ ฮีเลียม, นีออน, อาร์กอน, คริปทอน, ซีนอน, เรดอน และโอกาเนสซอน
ที่กล่าวมาทั้งหมดจะได้พบในหนังสือเล่มนี้ ในอนาคตอาจพบเจอธาตุใหม่ ๆ มากกว่า 118 ธาตุ ก็ขึ้นอยู่กับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของมนุษย์ในการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“ชีวิตที่ไร้ซึ่งความกลัว
คือ ชีวิตที่ไร้ซึ่งขีดจำกัด
Once you become fearless life become limitless.”
jobthai
สารบัญ หน้าต่อไป>