แล้วมีเงินเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอ มาดูวิธีคำนวณกัน เราจะเริ่มต้นจาก เรามีค่าใช้จ่ายต่อเดือนเท่าไหร่ จะใช้สูตรนี้ในการคำนวณ
เงินที่ต้องใช้ = ค่าใช้จ่ายต่อเดือน (บาทต่อเดือน) ´ 12 เดือน ´ ชีวิตที่เหลืออยู่หลังเกษียณ (ปี)
ยกตัวอย่างเช่น หากต้องการเงินที่จะใช้ต่อเดือน 30,000 บาท สมมติตอนนี้อายุ 40 ปี และคาดว่าจะมีชีวิตอยู่ถึงอายุ 90 ปี ระยะเวลาจะเหลืออีก 50 ปี ต้องใช้เงินเท่ากับ
เงินที่ต้องใช้ = 30,000 บาทต่อเดือน x 12 เดือน x 50 ปี
= 18 ล้านบาท
หมายเหตุ: เงินที่คำนวณออกมา ยังไม่รวมอัตราเงินเฟ้อ ที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีจำนวนเงินอาจมีมากกว่านี้
ถ้าหากต้องการใช้มาก-ใช้น้อยกว่านั้น ก็ให้ทำการลด หรือเพิ่มเงิน และระยะเวลาเอาครับ ด้านล่างนี้ เป็นตารางสำเร็จที่ทำมาให้เป็นแนวทางตามช่วงอายุที่เหลืออยู่ ว่าจะต้องใช้เงินเท่าไหร่ จนกว่าจะตายจากโลกนี้ไป โดยไม่ต้องเป็นภาระแก่ลูกหลาน
ชีวิตที่เหลืออยู่หลังเกษียณ (ปี)
|
ค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ต่อเดือน (บาท)
|
10,000
|
20,000
|
30,000
|
40,000
|
50,000
|
เงินที่ต้องมีโดยรวม
|
40
|
4,800,000
|
9,600,000
|
14,400,000
|
19,200,000
|
24,000,000
|
50
|
6,000,000
|
12,000,000
|
18,000,000
|
24,000,000
|
30,000,000
|
60
|
7,200,000
|
14,400,000
|
21,600,000
|
28,800,000
|
36,000,000
|
70
|
8,400,000
|
16,800,000
|
25,200,000
|
36,600,000
|
42,000,000
|
ตาราง แสดงให้เห็นถึง จะต้องมีเงินเท่าไหร่ นับจากชีวิตหลังเกษียณ เพื่อให้ได้มีอิสรภาพทางการเงิน
สนใจหนังสือ และความรู้ของผู้เขียน
เรื่องอื่น ๆ มีทั้งโหลดได้ฟรี และราคาถูก นอกเหนือจากนี้
คลิก
มีหนังสือ สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom) 1
ทำเป็นเล่ม อีบุ๊ค เพื่อสนับสนุนเว็บไซต์
รูปหน้าปกหนังสือ
สามารถโหลดอ่านตัวอย่างก่อนซื้อได้เลยครับ ฟรี
หากผู้อ่านสนใจคลิกที่ชื่อสำนักพิมพ์
meb Se-ed Naiin Ookbee Bundanjai
เมื่อเรารู้แล้วว่าต้องการเงินเท่าไร เพื่อให้มีอิสรภาพทางการเงิน คำถามต่อมา และสิ่งที่ยากกว่าก็คือ เราจะไปถึงตรงจุดนั้นได้อย่างไร
มาดูตัวอย่างกัน สมมติว่าเราทำงานจนมีเงินเหลือเก็บเดือนละ 5,000 บาท และหากเก็บทุกบาททุกสตางค์จริง ๆ ตั้งแต่ทำงานวันแรก ตั้งแต่ตอนอายุ 22 ปี
ทำงานจนถึงอายุ 40 ปี เราจะมีเงินเก็บทั้งสิ้น 1.08 ล้านบาท
ทำงานจนถึงอายุ 50 ปี เราจะมีเงินเก็บทั้งสิ้น 1.68 ล้านบาท
และทำงานจนถึงอายุ 60 ปี เราจะมีเงินเก็บทั้งสิ้น 2.28 ล้านบาท
และหากเก็บได้เดือนละ 1 หมื่นบาทล่ะ เงินเก็บจะเพิ่มขึ้น ตอนที่อายุ 40 ปี (มีเงินเก็บ 2.16 ล้านบาท), 50 ปี (มีเงินเก็บ 3.36 ล้านบาท) และ 60 ปี (มีเงินเก็บ 4.56 ล้านบาท)
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“อย่างเลื่อนสิ่งที่คุณ สามารถทำได้ในวันนี้ ไปเป็นวันพรุ่งนี้
เพราะว่า ถ้าคุณพึงพอใจมันในวันนี้
คุณสามารถทำมันได้อีก ในวันพรุ่งนี้
Don’t put off for tomorrow what you can do today
because if you enjoy it today, you can do it again tomorrow.”
James A. Michener
<หน้าที่แล้ว สารบัญ หน้าต่อไป>