อิสรภาพทางการเงิน (Financial Freedom) หมายถึง การที่บุคคล หรือครอบครัวใด ที่มีเงิน หรือทรัพย์สินที่มีมูลค่าของทรัพย์สินมากพอที่จะดำรงชีวิต จับจ่ายใช้สอย โดยไม่ต้องหารายได้จากการทำงาน ไปจนวันสุดท้ายของชีวิต และสามารถถ่ายโอนไปสู่ลูกหลาน หรือคนอื่นได้ตามต้องการ
รูปที่ 1.6 อิสรภาพทางการเงิน
ที่มา : http://ocdn.eu
สนใจหนังสือ และความรู้ของผู้เขียน
เรื่องอื่น ๆ มีทั้งโหลดได้ฟรี และราคาถูก นอกเหนือจากนี้
คลิก
มีหนังสือ สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom) 1
ทำเป็นเล่ม อีบุ๊ค เพื่อสนับสนุนเว็บไซต์
รูปหน้าปกหนังสือ
สามารถโหลดอ่านตัวอย่างก่อนซื้อได้เลยครับ ฟรี
หากผู้อ่านสนใจคลิกที่ชื่อสำนักพิมพ์
meb Se-ed Naiin Ookbee Bundanjai
จะทำงานก็ได้ เพื่อไม่ให้รู้สึกเหงา หรือรู้สึกตัวเองไม่มีคุณค่า หรือรู้สึกไม่มีประโยชน์เมื่อเกิดว่างงานนาน ๆ แต่จะทำแบบไม่เครียดอะไร หรือกลายมาเป็นผู้ให้แก่สังคม ในการทำสังคมสงเคราะห์ช่วยเหลือสังคมได้
เมื่อมีผู้ให้มากขึ้น และจากผู้เคยรับได้กลายเป็นผู้ให้ สังคม หรือประเทศของเราจะน่าอยู่
รูปที่ 1.7 การยื่นมือช่วยเหลือคนอื่นในยามที่เรามีพอกิน-พอใช้แล้ว
ที่มา: https://assets.change.org
คนที่มีอิสรภาพทางการเงิน จะมีสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ (กระแสเงินสด) ที่อย่างน้อยก็เท่ากับค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายไปในแต่ละวัน
รายได้ที่มีอิสระของงานนั้น โดยทั่วไปจะเป็น รายได้ทางอ้อม หรือรายได้แฝง (Passive income: รายได้ที่ไหลเข้ามาต่อเนื่อง โดยไม่ต้องใช้ทั้งแรง และเวลา หรือใช้ให้น้อยที่สุด) และเป็นฐานรากต่อการบรรลุสู่อิสรภาพทางการเงิน
รูปที่ 1.8 รายได้เข้ามาโดยไม่ต้องออกแรงทำงาน
ที่มา: https://www.bajajfinservmarkets.in
ขออธิบายเรื่องรายได้สักเล็กน้อย
โดยทั่วไปแล้ว เงินที่หามาจนเป็นรายได้ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ นั่นก็คือ รายได้จากการทำงาน และรายได้แฝง
1. รายได้จากการทำงาน (Active income) คือ รายได้ที่เกิดขึ้นจากการทำงาน ที่ใช้แรงเข้าแลก, ใช้ความคิด แล้วถ้าวันไหนไม่ได้ทำ รายได้ส่วนนี้ก็จะไม่ได้ เช่น การเปิดร้านขายของในตลาด, การเป็นลูกจ้างในสถานประกอบการ, การเป็นพนักงานเงินเดือน, เป็นเจ้าของกิจการ, เป็นข้าราชการ ฯลฯ
ข้อดี: หากต้องการรายได้เพิ่มมากขึ้น ก็เพิ่มเวลาทำงานให้มาก หรือใส่ทักษะความสามารถของตนเองลงไปให้คนเห็นจนผลงานออกมาดี ทำให้องค์กรที่ทำงานเห็นความสามารถ ก็จะเพิ่มรายได้มากขึ้น ผลตอบแทนจะมากจะน้อยก็ขึ้นอยู่กับทักษะความเชี่ยวชาญของตนเอง
ข้อเสีย: เมื่อรายได้มาจากการทำงาน จำเป็นต้องใช้เวลามาแลก ต้องลงแรงกาย และแรงใจ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ต้องการ และบางครั้งเมื่อทำไปนาน ๆ อายุยิ่งมากจะเป็นข้อจำกัดต่อการทำงาน จะเห็นได้ว่าเมื่ออายุมากขึ้น จำเป็นต้องมีการเกษียณตัวเอง
รูปที่ 1.9 รายได้จากการทำงาน และรายได้แฝง
ที่มา: https://i.ytimg.com
2. รายได้แฝง (Passive income) คือ รายได้ที่ไม่ต้องใช้แรง หรือใช้เวลาในการทำงานเพื่อแลกเงิน แต่จะได้รับผลตอบแทนจากการเป็นเจ้าของสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น เป็นเจ้าของบ้านเช่าที่รับผลตอบแทนจากค่าเช่า, การฝากประจำในธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยสูง, การลงทุนในหุ้น, กองทุน, พันธบัตร, ฯลฯ
ข้อดี: มีความเป็นอิสระในชีวิตที่ไม่ต้องแลกมาด้วยการทำงาน หรืออาจจะทำเล็กน้อย ถือได้ว่าเป็นความฝันของใครหลาย ๆ คน หรือคนส่วนใหญ่เลยที่เดียว
ข้อเสีย: ต้องมีสถานะเป็นเจ้าของในสินทรัพย์นั้น ๆ เสียก่อนที่จะทำให้มันสามารถสร้างรายได้ออกมา ต้องใช้เวลาในการที่จะเก็บสะสมไปเรื่อย ๆ เพราะเริ่มแรกผลตอบแทนอาจไม่สูง ต้องใช้เวลา และการเลือกสินทรัพย์ที่ดี จะทำให้เกิดการเติบโตจนเกิดรายได้ เหมือนกับการปลูกต้นไม้ ที่ต้องอดทนใช้เวลาหมั่นรดน้ำ, พรวนดิน, ใส่ปุ๋ย กว่าที่จะได้กินดอกกินผล ก็ต้องใช้เวลาหลายปี
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“จงอ้าแขนรับต่อ การเปลี่ยนแปลง
แต่อย่าได้ทิ้งคุณค่า ที่มีอยู่ในตัวของคุณ
Open your arms to change,
but don’t let go of your values.”
Dalai Lama
<หน้าที่แล้ว สารบัญ หน้าต่อไป>