เป็นการใช้การแยก หรือผสมผสานกันของรางสไลด์ครึ่งร่องหางเหยี่ยว และแบบแบน รางทรงกระบอก แสดงในรูปด้านล่าง
รูปรางสไลด์ทรงกระบอก
ที่มา : https://sc02.alicdn.com
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
สนใจหนังสือ และความรู้ของผู้เขียน
เรื่องอื่น ๆ มีทั้งโหลดได้ฟรี และราคาถูก นอกเหนือจากนี้
คลิก
มีหนังสือ เครื่องมือกล (Machine tools) Vol. 1
ทำเป็นเล่ม อีบุ๊ค เพื่อสนับสนุนเว็บไซต์
รูปหน้าปกหนังสือ
สามารถโหลดอ่านตัวอย่างก่อนซื้อได้เลยครับ ฟรี
หากผู้อ่านสนใจคลิกที่ชื่อสำนักพิมพ์
meb Se-ed
เป็นทั้งประเภทตัวผู้ หรือตัวเมียนั่นต้องมีความละเอียดในการผลิตพอสมควร พวกมันต้องการอุปกรณ์พิเศษเพื่อปรับระยะการทำงาน เสาของเครื่องเจาะเป็น ชนิดตัวอย่างของประเภทตัวผู้ (Male) ขณะที่ปลอก (Sleeve) ของหัวเพลาหมุนเครื่องเจาะเป็นชนิดตัวเมีย (Female) แบบผสมของทรงกระบอกรางสไลด์แสดงในรูปด้านล่าง (ทรงกระบอกคู่)
รูปรางสไลด์ทรงกระบอกคู่
ที่มา : https://5.imimg.com
สำหรับพื้นผิวสไลด์ ปริมาณของแรงส่งผ่านในการสัมผัสเหล็กต่อเหล็ก แรงที่ส่งไปโดยการหล่อลื่นด้วยฟิล์มน้ำมันที่บางมาก ๆ ความดันถูกจำกัดเนื่องมาจากการเปลี่ยนรูปในช่วงอีลาสติก หรือพลาสติก (Elastic or plastic) เพื่อรองรับความหยาบของพื้นผิว
ซึ่งทำให้ย้อนกลับความไม่มั่นคงของการเคลื่อนที่แบบสไลด์ปกติเราเรียกมันว่า ผลกระทบการแทงไถล (Stick-slip effect)
รูปตัวอย่างรางสไลด์ในเครื่องมือกล
ที่มา : https://www.hwacheon-europe.com
ปรากฏการณ์นี้สามารถลด หรือกำจัดได้โดยการใช้สารหล่อลื่นที่เหมาะสม หรือการใช้ร่องสไลด์ที่เป็นลูกปืน
เงื่อนไขที่ทำให้เกิดความเสียดทาน จากการเสียดสีของร่องสไลด์มักจะมาจาก
1. คุณสมบัติของวัสดุ ส่วนที่เคลื่อนที่ และส่วนที่อยู่กับที่
2. ขนาดพื้นผิวของรางสไลด์
3. น้ำหนักกด หรือแรงดันที่กระทำ
4. การสะสมของสิ่งสกปรก, เศษสะเก็ด และเศษจากการเสียดสี
รูปตัวอย่างร่องสไลด์ที่ใช้ลูกปืนเวียน
ที่มา : https://www.schaeffler.de
เมื่อชิ้นส่วนเครื่องกลถูกขูดไปด้วยกัน จะเกิดความเสียหายของวัสดุชิ้นงานอาจจะเกิดที่ชิ้นเดียว หรือว่าทั้งสองฝั่ง เมื่อใช้งานไปนาน ๆ โดยไม่ได้รับการแก้ไข ก็จะเกิดผลย้อนกลับมา นั่นก็คือ อาจเสียรูปร่างของรางสไลด์ไป เพราะถูกันจันสึกหรอ ทำให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติของเครื่องจักรกล และเกิดความเสียดทานที่มากขึ้นกว่าเดิม
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“มีศัตรูเพียงคนเดียว
ก็มากเกินไปแล้ว
One enemy is too much. ”
George Herbert
<หน้าที่แล้ว สารบัญ