โครงเครื่องมือกลส่วนใหญ่ จะได้มาจากการหล่อ หรือการเชื่อมขึ้นเป็นโครงสร้าง โครงสร้างที่ถูกเชื่อมขึ้นรูปมีความประหยัดวัสดุ และลดต้นทุนค่าใช้จ่ายได้มาก
ในรูปด้านล่าง แสดงให้เห็นโครงสร้างทั้งสองแบบทั้งจากการหล่อ และจากการเชื่อมขึ้นรูป
รูปโครงสร้างฐานเครื่องที่ได้จากการหล่อ
ที่มา : https://ae01.alicdn.com
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
สนใจหนังสือ และความรู้ของผู้เขียน
เรื่องอื่น ๆ มีทั้งโหลดได้ฟรี และราคาถูก นอกเหนือจากนี้
คลิก
มีหนังสือ เครื่องมือกล (Machine tools) Vol. 1
ทำเป็นเล่ม อีบุ๊ค เพื่อสนับสนุนเว็บไซต์
รูปหน้าปกหนังสือ
สามารถโหลดอ่านตัวอย่างก่อนซื้อได้เลยครับ ฟรี
หากผู้อ่านสนใจคลิกที่ชื่อสำนักพิมพ์
meb Se-ed
รูปฐานเครื่องที่ได้จากการเชื่อม
ที่มา : http://www.ramsaywelding.com
โครงสร้างเหล็กหล่อ (Caste iron) มีข้อดีดังนี้
-
คุณสมบัติในการหล่อลื่นที่ดีกว่า (เนื่องจากว่ามันมีกราไฟต์อิสระในเนื้อเหล็ก) มีความเหมาะสมสำหรับทำฐานเครื่องมือกลที่มีการถูเสียดสีเป็นหลัก
-
มีความแข็งแกร่งทางด้านการอัดสูง
-
สามารถทนความชื้นได้ดีกว่า
-
สามารถหล่อ และกระทำโดยเครื่องกล ในการกลึง กัด ไสได้ง่ายกว่า
โครงสร้างที่มีน้ำหนักเบา และหนัก
โครงสร้างเครื่องมือกล มีอีกอย่างคือสามารถจำแนกตามความถี่ธรรมชาติได้ ซึ่งเป็นโครงสร้างหนัก และเบา ความถี่ธรรมชาติ (Natural frequency: wO) ของเครื่องมือกลสามารถพิจารณาได้ดังนี้
wO = Ö(k/m) (2.1)
กำหนดให้
k = โครงสร้างทางสถิตศาสตร์แข็งตรึง
m = มวล
k = F/d (2.2)
กำหนดให้
F = แรงกระทำ (N)
d = ค่าความเบี่ยงเบน (mm)
เพื่อหลีกเลี่ยงการสะท้อน และลดการเบี่ยงเบนทางพลศาสตร์ของโครงสร้างเครื่องมือกลค่า wO ควรมีค่าต่ำหรือเอาให้ค่าให้เหนือกว่า ความถี่จากแรงกระทำ (Exciting frequency) ซึ่งเท่ากับการคูณเป็นเท่าตัวของความเร็วการหมุนของเครื่องกล
ถ้าหากความถี่ธรรมชาติของโครงสร้างเครื่องมือกลคงไว้ต่ำกว่าความเร็วช่วงการทำงานของเครื่องมือกลแล้ว จะพบว่า
wO< ความถี่จากแรงกระทำ
หรือ
Ö(k/m) < ความถี่จากแรงกระทำ
ช่องคายเศษ ในกรณีที่เครื่องมือกลผลิตงานจำนวนมาก อาจมีผลต่อโครงสร้างของเครื่องมือกลดังแสดงในรูปด้านล่าง
รูปช่องคลายเศษ (Chip disposal) ในฐานเครื่องกลึง
ที่มา : https://encrypted-tbn0.gstatic.com
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“เริ่มตั้งแต่วันนี้
ก่อนที่จะไม่มีโอกาสให้ทำในวันหน้า
Do it now. Sometimes “later”
becomes “never” ”
<หน้าที่แล้ว สารบัญ หน้าต่อไป>