ลักษณะทางด้านสถิตศาสตร์ (Static characteristics)
ลักษณะนี้ จะเกี่ยวข้องกับการเบี่ยงเบนสม่ำเสมอ (Steady deflection) ภายใต้แรงตัดที่กระทำอย่างสม่ำเสมอ น้ำหนักของอุปกรณ์ที่กำลังเคลื่อนที่ ความเสียดทาน และแรงเฉื่อย (Friction & Inertia forces) ผลกระทบจากพวกมันส่งผลต่อความละเอียดของชิ้นส่วนเครื่องกล และการวัดโดยค่าความแข็ง (Stiffness) ทางสถิตศาสตร์
ลักษณะทางด้านพลศาสตร์ (Dynamic characteristics)
ลักษณะนี้เป็นการคำนวณหลัก ๆ โดยการเบี่ยงเบนทางด้านพลศาสตร์ และความถี่ธรรมชาติ ผลกระทบเหล่านี้ เกิดการสั่นสะเทือนต่อเครื่องมือกล และมีผลต่อเสถียรภาพโดยรวมในการปฏิบัติงานกับเครื่องจักร
การโก่งบิดเบี้ยวทางสถิตศาสตร์ และพลศาสตร์ของโครงสร้างเครื่องมือขึ้นอยู่กับลักษณะของแรงที่มากระทำถ่ายทอด และกระจาย และพฤติกรรมของแต่ละหน่วยของโครงสร้างภายใต้เงื่อนไขทำงาน คานเหมือนส่วนประกอบ การมีภาคตัดในรูปแบบของสี่เหลี่ยมผืนผ้ากลวงเป็นส่วนประกอบมากสุดที่เหนือกว่า การใช้งานของแนวคิดนี้เห็นในฐานของเครื่องกลึงในรูปด้านล่าง
รูปหน้าตัดกล่องกลวงของฐานเครื่องกลึง
ที่มา : http://www.mini-lathe.com
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
สนใจหนังสือ และความรู้ของผู้เขียน
เรื่องอื่น ๆ มีทั้งโหลดได้ฟรี และราคาถูก นอกเหนือจากนี้
คลิก
มีหนังสือ เครื่องมือกล (Machine tools) Vol. 1
ทำเป็นเล่ม อีบุ๊ค เพื่อสนับสนุนเว็บไซต์
รูปหน้าปกหนังสือ
สามารถโหลดอ่านตัวอย่างก่อนซื้อได้เลยครับ ฟรี
หากผู้อ่านสนใจคลิกที่ชื่อสำนักพิมพ์
meb Se-ed
ผลกระทบของหลุมหล่อในความแข็งของพื้นที่หน้าตัดกล่องปิดเป็นขนาดเล็กโดยการลดจำนวน และขนาดของมัน ซึ่งสามารถดูได้ในรูปด้านล่าง
รูปแรงกระทำในในโครงสร้างแบบเปิด และโครงสร้างแบบปิด
ที่มา : https://www.researchgate.net
ในโครงสร้างปิด ที่อยู่ภายใต้แรงกระทำ มันจะรักษาศูนย์ตำแหน่งของเส้นแกนกลางที่ไม่เปลี่ยนแปลง
รูปตัวอย่างโครงสร้างแบบปิด
ที่มา : http://kccnc.com
ส่วนโครงสร้างแบบเปิด ผลในแกน (ไม่ใช่เกิดที่ด้านข้าง) เกิดการแทนที่ของเครื่องมือตัดที่สัมพันธ์ต่อชิ้นงานขณะทำงานอาจมีผลต่อความละเอียด และรูปร่างของชิ้นงาน จึงมักทำการแก้ด้วยการเสริมแท่งโลหะที่ปลาย ในงานที่ต้องมีการใช้งานหนักจริง ๆ ยกตัวอย่างเช่นในเครื่องเจาะเรเดียล (Radial drilling machine) ในรูปด้านล่าง
รูปเครื่องเจาะสว่านเรเดียลที่มีตัวรองรับตอนปลาย
ที่มา : http://www.geetajam.com
เครื่องมือกลที่โครงสร้างมีความแข็งมาก (Stiffness) มันจะบรรเทาในเรื่องของแรงที่กระทำกับโครงสร้างของมัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวน และประเภทของข้อต่อที่ใช้เพื่อต่อโยงส่วนอื่นของโครงสร้าง ตามกฎความสามารถ
เมื่อมีจุดข้อต่อที่น้อยกว่า จะทำให้โครงสร้างมีความตรึงแข็งที่มากกว่าข้อต่อที่มาก และเล็กกว่าบรรเทา ระบบจัดการโครง (Rippbing system) เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ สำหรับการเพิ่มความตรึงแข็งของโครงสร้างเครื่องมือกล ในการนี้ ตัวอย่างการตรึงแข็งแนวดิ่งอย่างง่าย
รูปการเตรียมการของฐานเครื่องมือกล a: แนวตั้ง และ b: ทำทแยงมุมให้เกิดความแข็ง
ที่มา : https://encrypted-tbn0.gstatic.com
เห็นได้ในรูปด้านบน a การเพิ่มความตรึงแข็งของการดัดตัวในแนวดิ่งแต่ไม่ได้มีการปรับปรุงให้ดีขึ้นในการดัดตัวในแนวราบ การจัดตรึงขวาง แสดงในรูปด้านบน b ให้ความตรึงแข็งได้สูงกว่าในการดัดตัว และการบิด
ในบางกรณี เพื่อลดการเคลื่อนที่เอียง ปกติทำในยันศูนย์ท้าย (Tailstock) ของเครื่องกลึง ปากทางรางสไลด์ด้านหลัง (Rased rear guideways) แสดงในรูปด้านล่าง
รูปฐานของเครื่องกลึงที่เป็นส่วนของรางสไลด์ (Guideways)
ที่มา : https://slideplayer.com
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“ถ้าอยากได้ไข่มุกที่ล้ำค่า
ก็ต้องออกไปค้นหา ในห้วงทะเลลึก
Pearls don’t lie on the seahore.
If you want one, you must dive for it.”
Chinese Proverb
<หน้าที่แล้ว สารบัญ หน้าต่อไป>