2.2 โครงสร้างของเครื่องมือกล
โครงสร้างของเครื่องมือกลประกอบไปด้วยโครงตัวถัง ซึ่งรองรับน้ำหนัก และเป็นที่อยู่ของชิ้นส่วนเครื่องกลอื่น ๆ ทั้งหมด รูปด้านล่าง แสดงประเภทฐานเครื่องของเครื่องกลึง และโครงของเครื่องเจาะหน้าที่หลักของโครงเครื่องจักรมีดังนี้
รูปฐานเครื่องกลึง
ที่มา : https://www.picclickimg.com
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
สนใจหนังสือ และความรู้ของผู้เขียน
เรื่องอื่น ๆ มีทั้งโหลดได้ฟรี และราคาถูก นอกเหนือจากนี้
คลิก
มีหนังสือ เครื่องมือกล (Machine tools) Vol. 1
ทำเป็นเล่ม อีบุ๊ค เพื่อสนับสนุนเว็บไซต์.
รูปหน้าปกหนังสือ
สามารถโหลดอ่านตัวอย่างก่อนซื้อได้เลยครับ ฟรี
หากผู้อ่านสนใจคลิกที่ชื่อสำนักพิมพ์
meb Se-ed
1. โครงต้องสามารถทนต่อแรงกระทำต่าง ๆ ได้ อันเนื่องมาจากภาระทางสถิตศาสตร์ และพลศาสตร์
2. มีความเสถียรภาพ และแม่นยำของการเคลื่อนที่ของชิ้นส่วน
3. ทนทานต่อ การเสียดสี (Wear) ของร่องรางสไลด์ (Guideway)
4. เป็นอิสระจากความเค้นที่เหลืออยู่
5. ลดการสั่นสะเทือน
โครงสร้างของเครื่องมือกลแบ่งเป็นประเภทโครงสร้างเปิด (โครงตัว-ซี (C-frames)) และโครงสร้างปิด
ในโครงสร้างเปิดมีความสามารถทำงานได้อย่างดี ประเภทตัวอย่างของโครงสร้างเปิดนี้สามารถพบเห็นได้ในเครื่องกลึง, เครื่องเจาะ, เครื่องกัด, เครื่องไสชาร์ปเปอร์, เครื่องเจียรนัย และเครื่องคว้าน ดูโครงเปิดที่รูปด้านล่าง
รูปตัวอย่างของโครงสร้างแบบเปิด (ซี-เฟรม)
ที่มา : https://image.made-in-china.com
โครงสร้างปิดหาดูได้จากเครื่องไสแพลนเนอร์, จิ๊กคว้านรู และเครื่องกัดสองหัวเพลาหมุน (Double-spindle milling machines) ดูโครงปิดได้จากรูปด้านล่าง
รูปตัวอย่างของโครงสร้างแบบปิด
ที่มา : http://www.zcmachinery.com
โครงสร้างเครื่องมือกลที่ที่อยู่ทั้งเครื่องมือ และชิ้นงาน ในการทำงานจะมีตำแหน่งเคลื่อนที่ที่สัมพันธ์กันเนื่องมาจากกระบวนการเครื่องจักร โครงสร้างเครื่องมือกลจึงต้องออกแบบให้มีความทนทาน และสามารถส่งกำลังได้ดี โดยไม่เกิดการบิดโค้งงอของโครงสร้าง และส่วนทำงานจากแรงตัด และน้ำหนักของชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ของเครื่องกล แรงที่ได้มาจะถ่ายทอดไปยังฐานรากแล้วกระจายแรงออกไป
ลักษณะของโครงสร้างของเครื่องมือกลจะออกแบบมาตามการใช้งานที่จำเป็น เช่นในระยะการตัดเฉือนชิ้นงาน, การเคลื่อนที่ และความยาวระยะต่าง ๆ ของขนาด และความจุของเครื่องมือกล
ในการพิจารณาการออกแบบเหล่านี้ เพื่อไม่ให้เกิดรอยแตก, การเคลื่อนที่ของชิ้นงาน / เครื่องมือตัด, การสร้าง และการบำรุงรักษาเป็นการพิจารณาเหมือนกัน อัตราของวัสดุที่เคลื่อนที่จะคำนวณความสามารถกำลังงานของเครื่องมือกล และขนาดของแรงตัด ระดับความละเอียดของงาน
สิ่งเหล่านี้มีผลต่อการเสียรูปร่าง และการบิดเบี้ยวของโครงสร้าง ซึ่งควรจะรักษาข้อจำกัดเป็นการเฉพาะ การประเมินพฤติกรรมของโครงสร้างเครื่องมือกลได้โดยประเมินผลของแรงในลักษณะด้านสถิตศาสตร์ และพลศาสตร์
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“เวลาจะทำอะไร ร่วมกับใคร
ให้ดูตอนเขาทำ อย่าดูตอนเขาพูด
เพราะความสำเร็จ ไม่ได้อยู่ที่ปาก
แต่อยู่ที่การลงมือทำ”
Like สาระ
<หน้าที่แล้ว สารบัญ หน้าต่อไป>