บทที่ 2 ส่วนประกอบพื้นฐาน และกลไกของเครื่องมือกล
2.1 บทนำ
เครื่องกลที่ใช้ตัดโลหะ (เครื่องมือกล) ลักษณะเด่นก็คือสามารถผลิตงานได้เป็นจำนวนมาก คล้ายกับเครื่องปั๊มโลหะแผ่น
กล่าวคือมันสามารถผลิตชิ้นงานที่มีขนาดเล็กได้เร็วใกล้เคียงกัน อุตสาหกรรมในปัจจุบันมีเครื่องมือกลผลิตโลหะ ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมมากกว่า 70% ของเครื่องจักรกลที่มีใช้ทั้งหมด ในตารางที่ 2.1 แสดงถึงเปอร์เซ็นต์การใช้งานชนิดเครื่องมือกลที่ถูกนำมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม
ชนิดของเครื่องมือกล
|
เปอร์เซ็นต์การใช้งาน
|
เครื่องกลึง และเครื่องกลึงอัตโนมัติ
|
34
|
เครื่องเจียรนัย
|
30
|
เครื่องกัด
|
15
|
เครื่องเจาะ และเครื่องคว้าน
|
10
|
เครื่องไสแพลนเนอร์ และชาปเปอร์
|
4
|
อื่น ๆ
|
7
|
ตารางที่ 2.1 เปอร์เซ็นต์การใช้งานของเครื่องมือกลประเภทต่าง ๆ
ในการออกแบบ และผลิตเครื่องมือกล จะให้ประสบความสำเร็จได้ควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้:
1.ความรู้ทางกลศาสตร์เครื่องจักรกล (Mechanics of machinery) เป็นการศึกษากลไกของเครื่องมือกล รวมไปถึงแรง ขนาด และทิศทางที่ใช้ในการตัดเฉือน
รูปเฟืองที่ต้องศึกษาศาสตร์ของกลศาสตร์เครื่องจักรกล
ที่มา : https://img.fotocommunity.com
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
สนใจหนังสือ และความรู้ของผู้เขียน
เรื่องอื่น ๆ มีทั้งโหลดได้ฟรี และราคาถูก นอกเหนือจากนี้
คลิก
มีหนังสือ ยานยนต์สมัยใหม่ (Modern vehicles) 2
ทำเป็นเล่ม อีบุ๊ค เพื่อสนับสนุนเว็บไซต์
รูปหน้าปกหนังสือ
สามารถโหลดอ่านตัวอย่างก่อนซื้อได้เลยครับ ฟรี
หากผู้อ่านสนใจ
คลิก
2. วัสดุชิ้นงานที่นำมาสร้างเครื่องกล คุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ผลิตชิ้นส่วนเครื่องมือกล รวมถึงความสามารถทางกลึง กัด ไส (Machinability) ที่เกิดผลต่อวัสดุนั้น
รูปความสามารถของวัสดุในการกลึงขึ้นรูป
ที่มา : https://assets.new.siemens.com
3. รูปแบบทางด้านเทคนิคในการผลิตของเครื่องมือกลแต่ละประเภท ซึ่งมีผลต่อต้นทุน
4. ความทนทาน และความสามารถของวัสดุที่ใช้ทำเครื่องมือกล
5. หลักเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม (Engineering economy)
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“ชีวิตจะดี เมื่อมี 4 อย่า
อย่า กลัวที่ขอโทษเมื่อ ทำผิด
อย่า มัวคิดอวดฉลาด ในสิ่งที่โง่เขลา
อย่า ดูถูกคนที่พลาดว่า ด้อยกว่าเรา
อย่า คาดเดา ในเรื่องที่เรา ไม่รู้จริง”
Like สาระ
<หน้าที่แล้ว สารบัญ หน้าต่อไป>