In English
ภาษาไทย ด้านล่างจ้า
จะพยายามเขียนเป็นภาษาอังกฤษด้วย เพื่อให้คนต่างชาติได้อ่าน ไวยากรณ์อาจดีไม่พอ ต้องขออภัย
(I’m so sorry if grammar May not be good enough. I will try.)
From evidence Bible and history. It enough to picture the event. And the social conditions of the Buddhist era is roughly are as follows.
Statue of Prince Siddhartha
Recommended for continuous reading, right-click, choose
If interested in other books; please
Click
The Buddha was born in the Indian subcontinent about 2,600 years ago. He was born in the caste king. The old name. Prince Siddhartha. He is the son of Lord Suddhodana, the ruler of Sakka. Its located on the northeast side of the Indian subcontinent. Himalayan foothills
Drawing Prince Siddhartha
As a son of a king and the hope of the royal family. He has been pampered with a variety of worldly pleasures. And have enjoyed such a long time to 29 years, he had both sons and daughters.
At that time in politics. Some state monarchy is in power. And they are trying to spread the power and territory to many states, especially the rulers fellowship. (Republican) power is deteriorating, and some states have been consolidated into other states. Some states that are still strong are in a state of tension. War can happen at any time. Even the great state of the colonies. There are often conflicts.
In the economy. Trade is expanding. One of the more influential people in society is the rich, who have the right to be more honorable and influential even in the Royal Courts.
In society, people are divided into 4 castes according to the doctrine of Brahman, the right to honor the social and professional status. Vary according to their castes.
Even historians of Hinduism say that the caste of that era is not strictly. But at least the caste Shudras. It’s not right to listen. Or say in the Vedas, the sacred text of Brahman. They have a penalty. (As known from Nava Thammasat, later the body was cut up with the second half.) and Untouchable or outcast don’t have the right to education. The caste system is used as a separatist. Especially the Brahmins try to raise themselves. Considered to be the highest caste.
In the religious those Brahmins Who is keep Religious. Brahmin's successor had developed the doctrine of the cult rituals. Let the mystery, the grandiose, Along with the absurd down by sequence.
To do this, not only for religious purposes only. But to meet the needs of the authority. To show the honor of their greatness one. And with the benefit of instead provided by one of those authorities.
These rituals all motivate people for personal gain hope the return is a treasure and erotic pleasure. This is also causing trouble for the lower class. Slave laborers who work hard and slaughter of animals by killing a large number of sacrifices.
At the same time, some Brahman thinks that rituals cannot make you suffer eternal life. So I started thinking seriously with the problem of eternal life and the way to lead to such a condition.
With the withdrawal from the society to find answers to invent solitude in the woods and the teachings of Brahmanism in this era. This is called the Vedanta. There are many conflicts, some explain more about rituals. Some back damn those rituals And in eternity, there are different opinions.
ภาษาไทย
จากหลักฐานต่างๆ ทางฝ่ายคัมภีร์ และประวัติศาสตร์ พอจะวาดภาพเหตุการณ์ และสภาพสังคมครั้งพุทธกาลได้คร่าว ๆ ดังนี้
รูปปั้นเจ้าชายสิทธัตถะ
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
หากสนใจหนังสือ อื่น ๆ นอกเหนือจากนี้
คลิก
พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในชมพูทวีป เมื่อประมาณ ๒,๖๐๐ ปีล่วงมาแล้ว ทรงประสูติในวรรณะกษัตริย์ พระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ เป็นโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะผู้ครองแคว้นศากยะ ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของชมพูทวีป ติดเชิงเขาหิมาลัย
รูปวาดเจ้าชายสิทธัตถะ
ในฐานะโอรสกษัตริย์ และเป็นความหวังของราชตระกูล พระองค์จึงได้รับการปรนเปรอด้วยโลกียสุขต่าง ๆ อย่างเพียบพร้อม และได้ทรงเสวยความสุขอยู่เช่นนี้เป็นเวลานานถึง ๒๙ ปี ทรงมีทั้งพระชายา และพระโอรส
ครั้งนั้น ในทางการเมือง รัฐบางรัฐที่ปกครองแบบราชาธิปไตยกำลังเรืองอำนาจขึ้น และกำลังพยายามทำสงครามแผ่ขยายอำนาจและอาณาเขตออกไป รัฐหลายรัฐ โดยเฉพาะที่ปกครองแบบสามัคคีธรรม (แบบสาธารณรัฐ) กำลังเสื่อมอำนาจลงไปเรื่อยๆบางรัฐก็ถูกปราบรวมเข้าในรัฐอื่นแล้ว บางรัฐที่ยังเข้มแข็งก็อยู่ในสภาพตึงเครียด สงครามอาจเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ แม้รัฐใหญ่ที่เรืองอำนาจ ก็มีการขัดแย้งรบพุ่งกันบ่อย ๆ
ในทางเศรษฐกิจ การค้าขายกำลังขยายตัวกว้างขวางขึ้น เกิดคนประเภทหนึ่งมีอิทธิพลมากขึ้นในสังคม คือ พวกเศรษฐี ซึ่งมีสิทธิ มีเกียรติยศ และอิทธิพลมากขึ้นแม้ในราชสำนัก
ในทางสังคม คนแบ่งออกเป็น ๔ วรรณะตามหลักคำสอนของศาสนาพราหมณ์ มีสิทธิ เกียรติ ฐานะทางสังคม และอาชีพการงาน แตกต่างกันไปตามวรรณะของตน
แม้นักประวัติศาสตร์ฝ่ายฮินดูจะว่าการถือวรรณะในยุคนั้นยังไม่เคร่งครัดนัก แต่อย่างน้อยคนวรรณะศูทร ก็ไม่มีสิทธิที่จะฟัง หรือกล่าวความในพระเวทอันเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของพราหมณ์ได้ ทั้งมีกำหนดโทษไว้ (เท่าที่ทราบจากมานวธรรมศาสตร์ต่อมา ถึงกับให้ผ่าร่างกายเป็น ๒ ซีก) และคนจัณฑาล หรือพวกนอกวรรณะก็ไม่มีสิทธิได้รับการศึกษาเลย การกำหนดวรรณะก็ใช้ชาติกำเนิดเป็นเครื่องแบ่งแยก โดยเฉพาะพวกพราหมณ์พยายามยกตนขึ้น ถือตัวว่าเป็นวรรณะสูงสุด
ส่วนในทางศาสนา พวกพราหมณ์เหล่านั้น ซึ่งเป็นผู้รักษาศาสนาพราหมณ์สืบต่อกันมา ก็ได้พัฒนาคำสอนในด้านลัทธิพิธีกรรมต่างๆ ให้ลึกลับซับซ้อนใหญ่โตโอ่อ่าขึ้นพร้อมกับที่ไร้เหตุผลลงโดยลำดับ
การที่ทำดังนี้ มิใช่เพียงเพื่อวัตถุประสงค์ทางศาสนาเท่านั้น แต่มุ่งสนองความต้องการของผู้มีอำนาจ ที่จะแสดงถึงเกียรติยศความยิ่งใหญ่ของตนประการหนึ่ง และด้วยมุ่งหวังผลประโยชน์ตอบแทนที่จะพึงได้จากผู้มีอำนาจเหล่านั้นอย่างหนึ่ง
พิธีกรรมเหล่านี้ล้วนชักจูงให้คนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากขึ้น เพราะหวังผลตอบแทนเป็นทรัพย์สมบัติและกามสุขต่างๆ พร้อมกันนี้ ก็ก่อความเดือดร้อนแก่คนชั้นต่ำ พวกทาสกรรมกรที่ต้องทำงานหนัก และการทารุณต่อสัตว์ด้วยการฆ่าบูชายัญครั้งละเป็นจำนวนมาก ๆ
ในเวลาเดียวกันนี้ พราหมณ์จำนวนหนึ่งได้คิดว่าพิธีกรรมต่างๆ ไม่สามารถทำให้ตนประสบชีวิตนิรันดรได้ จึงได้เริ่มคิดเอาจริงเอาจังกับปัญหาเรื่องชีวิตนิรันดร และหนทางที่จะนำไปสู่สภาวะเช่นนั้น
ถึงกับยอมปลีกตัวออกจากสังคมไปคิดค้นแสวงคำตอบอาศัยความวิเวกอยู่ในป่า และคำสอนของศาสนาพราหมณ์ในยุคนี้ ซึ่งเรียกว่า ยุคอุปนิษัท ก็มีความขัดแย้งกันเองมาก บางส่วนอธิบายเพิ่มเติมเรื่องพิธีกรรมต่างๆ บางส่วนกลับประณามพิธีกรรมเหล่านั้น และในเรื่องชีวิตนิรันดรก็มีความเห็นต่าง ๆ กัน
<หน้าที่แล้ว สารบัญ หน้าต่อไป>