พุทธธรรม หรือ กฎธรรมชาติ และคุณค่าสำหรับชีวิต
(Laws of Nature, Pút-tá-tam)
In English
ภาษาไทย ด้านล่างจ้า
จะพยายามเขียนเป็นภาษาอังกฤษด้วย เพื่อให้คนต่างชาติได้อ่าน ไวยากรณ์อาจดีไม่พอ ต้องขออภัย
(I’m so sorry if grammar May not be good enough. I will try.)
Laws of Nature
Nature
Recommended for continuous reading, right-click, choose
Open link in new window.
If interested in other books; please
Click
Introduce
It should be understood. Buddhism, when viewed in the corner of the modern. Often it is a problem that it is Religion or Philosophy or just A way of life.
When this problem occurs. It is a matter of debate or reason. Make a long story.
The resolution in this regard is different. Not to be homogeneous the problem is open end. Endless debate
Buddha's teachings
In this case, even if you write about Buddhism in the philosophical category, you will not have to consider this issue. I will focus on that. How does Buddhism teach? What content?
Is the Buddhism a philosophy? It is a matter of philosophy itself to be covered or can be interpreted to cover Buddhism.
By the way, Buddhism. It is natural law. It is still a Buddhist. There is only one limitation that any principle or doctrine. That is just thinking about the truth in order to meet the intellectual needs. By not focusing and showing the way to behave in that real life, it is considered not Buddhism. Only as the original teachings of the Buddha. This is called Laws of Nature Buddhism.
Buddha's teachings
The teaching of Buddhism is based on the conclusion that. Buddhism is taught by the Buddha and truly intended. However, it so hard Although it is quoted in the book, which is considered to be a Buddhist term.
Because the scriptures are abundant. There are different levels of depth and dependence on the interpretation of the person. In some cases, the views of the two parties differ. May the words in the scripture support their opinions as well.
The diagnosis of the truth depends on the accuracy of the subject matter. And the harmonious consistency of the principles and evidence presented by the whole unit is important, however, the show and the evidence. It is not spacious enough. I cannot escape the influence of comments. And the basic understanding of the Buddha's teachings.
In this regard, there is another element that should be taken into account, namely, the existence of the living and the mode of practice of the Buddha. The Prophet is the source or source of the teachings.
Personality and what the instructor has done. It may help to show the true intent of the instructor better than the teachings of the scriptures, or at least a better understanding of the teachings. If you have to say. This element is from the scriptures.
Just like the doctrine and it's up to interpretation as well, however, it still has to accept that. It is a very useful computational instrument.
Video for listen to the Tibetan prayer to relax
รูปธรรมชาติ
ความนำ
ควรทำความเข้าใจกันเสียก่อน พระพุทธศาสนา (Buddhism) นั้น เมื่อมองในมุมของคนสมัยใหม่ มักเกิดปัญหาขึ้นบ่อยๆ ว่า มันเป็น ศาสนา (religion) หรือเป็น ปรัชญา (philosophy) หรือว่าเป็นเพียงแค่ วิถีชีวิตแบบหนึ่ง (a way of life)
เมื่อมีปัญหาเช่นนี้เกิดขึ้นแล้ว ก็เป็นเหตุให้ต้องถกเถียงหรือแสดงเหตุผล ทำให้เรื่องยืดยาวออกไป
อีกทั้งมติในเรื่องนี้ก็ดูแตกต่างกัน ไม่ลงรอยเป็นเนื้อเดียวกัน ทำให้เป็นเรื่องปัญหาปลายเปิด ถกเถียงกันไม่มีที่สิ้นสุด
รูปคำสอนของพระพุทธเจ้า
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
(เทคนิคการอ่านหนังสือ (ของผู้เขียน))
อ่านช้า ๆ ทีละวรรค หยุดทำความเข้าใจ แล้วอ่านต่อ
หรืออีกวิธี อ่านทีละวรรค แล้วนำมาเขียนด้วยลายมือลงบนกระดาษ (หรือสรุปความเอาตามความเข้าใจของเรา) ความรู้จะซึมซับเข้าไปครับ และไม่เครียดด้วย นี่เป็นการคิดแบบเป็นระบบ อ่านแบบเข้าใจ (ไม่เข้าใจก็ข้ามไปก่อนได้ ไม่ต้องเครียด) ทำให้รู้สึกอยากอ่านต่อ ช้าหน่อยแต่ได้ผล
หรืออีกวิธี กรณีไม่อยากอ่านเอง คัดลอกไปอ่านที่กูเกิลแปลภาษา ปรับเป็นภาษาไทย แล้วให้อ่านให้ฟัง ตามองดูตามตัวหนังสือ)
หากสนใจหนังสือ อื่น ๆ นอกเหนือจากนี้
คลิก
ในที่นี้ แม้จะเขียนเรื่องพุทธธรรมไว้ในหมวดปรัชญาก็จะไม่ต้องพิจารณาปัญหานี้เลย ก็จะมุ่งแสดงแต่ในขอบเขตว่า พุทธธรรมสอนว่าอย่างไร มีเนื้อหาอย่างไรเท่านั้น
ส่วนที่ว่าพุทธธรรมจะเป็นปรัชญาหรือไม่ ให้เป็นเรื่องของปรัชญาเองที่จะมีขอบเขตครอบคลุมหรือสามารถตีความให้ครอบคลุมถึงพุทธธรรมได้หรือไม่
โดยที่ว่าพุทธธรรม ก็คือกฎธรรมชาติ ก็ยังคงเป็นพุทธธรรมอยู่นั่นเอง มีข้อจำกัดเพียงอย่างเดียวว่า หลักการ หรือคำสอนใดก็ตาม ที่เป็นเพียงการคิดค้นหาเหตุผลในเรื่องความจริงเพื่อสนองความต้องการทางปัญญา โดยมิได้มุ่งและแสดงแนวทางสำหรับประพฤติปฏิบัติในชีวิตจริง อันนั้น ให้ถือว่า ไม่ใช่พระพุทธศาสนา เฉพาะอย่างที่ถือว่าเป็นคำสอนเดิมแท้ของพระพุทธเจ้า ซึ่งในที่นี้เรียกว่า พุทธธรรม
รูปคำสอนของพระพุทธเจ้า
การประมวลคำสอนในพระพุทธศาสนามาวางเป็นข้อสรุปลงว่า พุทธธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอน และทรงมุ่งหมายแท้จริง เป็นอย่างไรนั้น เป็นเรื่องยาก แม้ว่าจะยกข้อความในคัมภีร์ซึ่งถือกันว่าเป็นพุทธพจน์มาอ้าง
เพราะคำสอนในคัมภีร์มีปริมาณมากมาย มีแง่ด้านระดับความลึกซึ้งต่าง ๆ กัน และขึ้นต่อการตีความของบุคคล โดยใช้สติปัญญาและความสุจริตใจหรือไม่เพียงไรด้วย ในบางกรณี ผู้ถือความเห็นต่างกันสองฝ่าย อาจยกข้อความในคัมภีร์มาสนับสนุนความคิดเห็นของตนได้ด้วยกันทั้งคู่
การวินิจฉัยความจริงจึงขึ้นต่อความแม่นยำในการจับสาระสำคัญ และความกลมกลืนสอดคล้องแห่งหลักการและหลักฐานที่แสดงทั้งหมดโดยหน่วยรวมเป็นข้อสำคัญ แม้กระนั้น เรื่องที่แสดงและหลักฐานต่างๆ ก็มักไม่กว้างขวางครอบคลุมพอ จึงหนีไม่พ้นจากอิทธิพลความเห็น และความเข้าใจพื้นฐานต่อพุทธธรรมของบุคคลผู้แสดงนั้น
ในเรื่องนี้ เห็นว่ายังมีองค์ประกอบอีกอย่างหนึ่งที่ควรนำมาเป็นเครื่องวินิจฉัยด้วย คือ ความเป็นไปในพระชนมาชีพ และพระปฏิปทา (ทางดำเนิน, ข้อปฏิบัติ, แนวทางปฏิบัติ, ความประพฤติ: Mode of practices) ขององค์สมเด็จพระบรมศาสดา ผู้เป็นแหล่ง หรือที่มาของคำสอนเอง
บุคลิก และสิ่งที่ผู้สอนได้กระทำ อาจช่วยแสดงความประสงค์ที่แท้จริงของผู้สอนได้ดีกว่าคำสอนเฉพาะแห่ง ๆ ในคัมภีร์ หรืออย่างน้อยก็เป็นเครื่องประกอบความเข้าใจให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ถึงหากจะมีผู้ติงว่า องค์ประกอบข้อนี้ก็ได้จากคัมภีร์ต่าง ๆ
เช่นเดียวกับคำสอน และขึ้นต่อการตีความได้เหมือนกัน แม้กระนั้น ก็ยังต้องยอมรับอยู่นั่นเองว่า เป็นเครื่องประกอบการพิจารณาที่มีประโยชน์มาก
วิดีโอมาฟังเสียงสวดมนต์แบบธิเบตเพื่อความผ่อนคลายกัน
สารบัญ หน้าต่อไป>