วัตถุทั้งหมดที่ปล่อยรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า รูปแบบที่แน่นอนของการแผ่รังสีนี้ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของวัตถุ และเรียกว่า การแผ่รังสีของวัตถุดำ (Blackbody radiation) ตัวอย่างบางส่วนดูได้ในรูปด้านล่าง
รูป สเปกตรัมของวัตถุดำ
ที่มา : http://hyperphysics.phy-astr.gsu.edu
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
สนใจหนังสือ และความรู้ของผู้เขียน
เรื่องอื่น ๆ มีทั้งโหลดได้ฟรี และราคาถูก นอกเหนือจากนี้
คลิก
หนังสืออีบุ๊ค
ดวงดาว และอวกาศ (Stars & Space) 1
รวมเป็นเล่มให้แล้วนะครับ เพื่อสนับสนุนเว็บไซต์
หากผู้อ่านสนใจ
คลิก
วัตถุที่มีความเย็นกว่า จะปล่อยออกมาอย่างเห็นเด่นชัดในช่วงอินฟราเรด (ซึ่งอินฟราเรดเป็นพลังงานที่ค่อนข้างต่ำ และเกี่ยวข้องกับความร้อน) เมื่ออุณหภูมิของวัตถุเพิ่มขึ้น มันมีความสามารถในการเปล่งแสง
ด้วยเหตุนี้สีแดงที่ดูเหมือนว่าร้อน ความเป็นจริงจะมีอุณหภูมิที่เย็นกว่าสีขาว ที่มีอุณหภูมิร้อนกว่า ดวงอาทิตย์จึงมีแถบรังสีหลักในแสงที่มองเห็นได้ ซึ่งหมายความว่ามันมีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 6,000 K (เคลวิน (Kelvin))
การพึ่งพาอาศัยกันในลักษณะของการแผ่รังสีของวัตถุดำ ถูกค้นพบโดย ไวเฮล็ม ไวน์ (Wilhelm Wien) ในปี พ.ศ. 2436 และด้วยผลงานชิ้นนี้ ในที่สุดก็ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบล
เขาแสดงให้เห็นว่า ความยาวคลื่นที่จุดยอดของการแผ่รังสีของวัตถุดำนั้น แปรผันแบบผกผันกับอุณหภูมิของวัตถุ
Imax µ I / TK
สังเกตว่า หน่วยสำหรับอุณหภูมิในสมการนี้อยู่ในหน่วยเคลวิน ซึ่งมีค่าสัมบูรณ์เป็นศูนย์ (เช่นการเคลื่อนที่ด้วยความร้อนเป็นศูนย์) เป็นความว่างเปล่าในระดับอุณหภูมิ ซึ่งตรงข้ามกับเซลเซียส โดยที่ศูนย์องศาเซลเซียส คือ จุดเยือกแข็งของน้ำ
ด้วยความสัมพันธ์ของสีที่เกิดขึ้นนี้ นักดาราศาสตร์สามารถดูดวงดาวต่าง ๆ เพื่อดูว่ามันเกิดการเปรียบเทียบกับดาวของเราได้อย่างไร ตัวอย่างแสดงในรูป ด้านล่าง
รูป กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิ้ล ภาพดวงดาวในทางช้างเผือก มีดาวประมาณ 100,000 ดวง
ที่มา : https://www.nasa.gov
สีของดวงดาวที่แตกต่างกันไป จากสีแดง สีเหลือง สีฟ้า ก็คือ เป็นอุณหภูมิที่แตกต่างกันของวัตถุดำ
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“รอยยิ้ม คือ อาภรณ์ที่สวยงามที่สุด
A smile is the prettiest thing you can wear”
<หน้าที่แล้ว สารบัญ หน้าต่อไป>