1.3 สัญกรณ์วิทยาศาสตร์
จักรวาล และอวกาศ เป็นลักษณะที่มีความหลากหลายอย่างสุดขั้ว อาทิเช่น ในบริเวณที่ร้อนก็จะร้อนมากพอที่จะสร้างฟิวชั่นได้, ในบริเวณที่เย็นจัด ก็จะเย็นจนก๊าซมีเทนแข็งตัวได้, ในบริเวณที่มีความหนาแน่นสูง ก็อาจจะมีความหนาแน่นของวัสดุมากกว่าตะกั่วกว่า 10 เท่า นี่เป็นเพียงตัวอย่างของสภาพแวดล้อมในอวกาศ
รูปตัวอย่างสภาพสุดขั้วของอวกาศ
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
หากสนใจหนังสือ อื่น ๆ นอกเหนือจากนี้
คลิก
ส่วนในบริเวณปกติ มักจะเป็นสภาพอวกาศที่เกือบจะว่างเปล่า กระบวนการขนาดใหญ่ของดาวเคราะห์ และดาวฤกษ์ มันจะถูกควบคุม หรือกำหนดโดยกระบวนการที่เกิดขึ้นในขนาดระดับอะตอม
รูปสภาพแวดล้อมในอวกาศ
จะต้องใช้ตัวเลขเพื่อที่จะหาปริมาณความสุดขั้วเหล่านี้ ซึ่งในระดับของดวงดาว ตัวเลขที่ใช้จะมีขนาดที่มาก จนนับด้วยค่าตัวเลขธรรมดาได้ยาก ดังนั้น เราจะใช้ สัญกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Notation) เพื่อที่จะแสดงให้เห็นถึงปริมาณที่มีขนาดใหญ่มากสุด หรือขนาดที่เล็กสุด
จุดที่น่าสนใจของสัญกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ คือ การแปลงจำนวนตัวเลขทั้งหมดด้วยการใช้ เลข 10 ยกกำลัง ที่มีสัมพันธ์กับขนาด เพื่อทำให้อ่านได้ง่าย ในการดำเนินการเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ซึ่งขนาดสามารถดูได้ที่ตาราง 1.1
ค่าตัวเลข
|
เลขชี้กำลัง
|
สัญลักษณ์
|
คำนำหน้า
|
1 000 000 000 000 000 000 000 000
|
1024
|
Y
|
ย็อตต้า (Yotta-)
|
1 000 000 000 000 000 000 000
|
1021
|
Z
|
เซตต้า (Zetta-)
|
1 000 000 000 000 000 000
|
1018
|
E
|
เอ็กซา (Exa-)
|
1 000 000 000 000 000
|
1015
|
P
|
เพตา (Peta-)
|
1 000 000 000 000
|
1012
|
T
|
เทรา (Tera-)
|
1 000 000 000
|
109
|
G
|
จิกะ (Giga-)
|
1 000 000
|
106
|
M
|
เมกกะ (Mega-)
|
1 000
|
103
|
k
|
กิโล (Kilo-)
|
100
|
102
|
h
|
เฮกโต (Hecto-)
|
10
|
101
|
da
|
เดกา (Deca-)
|
0.1
|
10-1
|
d
|
เดซิ (Deci-)
|
0.01
|
10-2
|
c
|
เซนติ (Centi-)
|
0.001
|
10-3
|
m
|
มิลลิ (Milli-)
|
0.000 001
|
10-6
|
m
|
ไมโคร (Micro-)
|
0.000 000 001
|
10-9
|
n
|
นาโน (Nano-)
|
0.000 000 000 001
|
10-12
|
p
|
พิโค (Pico-)
|
0.000 000 000 000 001
|
10-15
|
f
|
เฟมโต (Femto-)
|
0.000 000 000 000 000 001
|
10-18
|
a
|
แอตโต (Atto-)
|
0.000 000 000 000 000 000 001
|
10-21
|
z
|
เซพโต (zepto-)
|
0.000 000 000 000 000 000 000 001
|
10-24
|
y
|
ยอคโต (zepto-)
|
ตารางที่ 1.1 เลขที่แสดงเครื่องหมายทางวิทยาศาสตร์ และกำหนดปริมาณตัวเลข ในตัวเลขที่น้อย จะมีค่ายกกำลังติดลบ ตัวอักษรจะเป็นพิมพ์เล็ก ค่าจุดทศนิยมไปทางขวามือที่เป็นเลขนัยสำคัญ ส่วนตัวเลขที่มากค่ายกกำลังจะเป็นบวก ตำแหน่งจุดทศนิยมไปทางซ้ายมือจะเป็นหน่วยที่ใหญ่ ตัวอักษรจะเป็นพิมพ์ใหญ่
ค่าจะแบ่งออกเป็นสองฝั่ง คือ ค่ามาก กับค่าน้อย ในค่าที่มากตัวเลขจะมาก และค่ายกกำลังจะเพิ่มขึ้น สำหรับตัวเลขที่น้อยกว่ายกกำลัง 1 จะเป็นตัวเลขที่มีจุดทศนิยม และการยกกำลังจะติดลบ
รูปตัวอย่างการใช้งานสัญกรณ์ทางวิทยาศาสตร์
จากค่าบนตารางเหล่านี้ มันจะเห็นสัญกรณ์ทางวิทยาศาสตร์เป็นแนวทางที่ชัดเจน ในการเขียนค่าที่ใหญ่ และเล็ก สัญกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้สามารถลดความซับซ้อนของตัวเลขที่มีปริมาณมาก ๆ ได้ โดยเฉพาะการคูณด้วยเลข 10 ยกกำลัง มันหมายถึงตัวเลขที่เพิ่มขึ้นมาให้ดูจากตัวเลขชี้กำลังที่เพิ่มขึ้น
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“คำพูด บางคำ
อาจต้องใช้ เวลา เป็นเครื่องพิสูจน์
แต่คำพูดทุกคำพูด จะถูกพิสูจน์
ด้วยการกระทำ”
ที่ตั้ง ของความสุข
Facebook page
<หน้าที่แล้ว สารบัญ หน้าต่อไป>
|