จักวาล และอวกาศ
Cosmic & Space
รูปอวกาศ
รูปอวกาศ 2
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
(เทคนิคการอ่านหนังสือ (ของผู้เขียน))
อ่านช้า ๆ ทีละวรรค หยุดทำความเข้าใจ แล้วอ่านต่อ
หรืออีกวิธี อ่านทีละวรรค แล้วนำมาเขียนด้วยลายมือลงบนกระดาษ (หรือสรุปความเอาตามความเข้าใจของเรา) ความรู้จะซึมซับเข้าไปครับ และไม่เครียดด้วย นี่เป็นการคิดแบบเป็นระบบ อ่านแบบเข้าใจ (ไม่เข้าใจก็ข้ามไปก่อนได้ ไม่ต้องเครียด) ทำให้รู้สึกอยากอ่านต่อ ช้าหน่อยแต่ได้ผล
หรืออีกวิธี กรณีไม่อยากอ่านเอง คัดลอกไปอ่านที่กูเกิลแปลภาษา ปรับเป็นภาษาไทย แล้วให้อ่านให้ฟัง ตามองดูตามตัวหนังสือ)
ดูภาพรวมกันก่อน
บทที่ 1 นำเราเข้าสู่จักรวาล และอวกาศ
รูปมนุษย์มองดูจักรวาลอันกว้างไกล
กล่าวถึงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอวกาศ ก่อนที่จะเข้าไปเรียนรู้ข้อมูลเชิงลึกในหนังสือเล่มนี้ เช่น สัญลักษณ์มูลฐาน, ข้อมูลต่าง ๆ ในระบบสุริยะจักรวาล, คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า, การแผ่รังสีของวัตถุดำ ฯลฯ
บทที่ 2 พลังงาน, กำลังงาน และอะตอม
รูปพลังงานอันมหาศาลเหลือคณานับที่เกิดในอวกาศ
บทนี้จะได้เรียนรู้พลังงาน กำลังงานที่เกิดขึ้นในอวกาศ ไม่ว่าจะเป็นดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ พลังงานนิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นในอวกาศทั้งฟิวชั่น และฟิชชั่น, ไอโซโทป, พลาสม่า
บทที่ 3 ภายในดวงอาทิตย์ กับปฏิกิริยาฟิวชั่น
รูปดวงอาทิตย์
มาเรียนรู้พลังงานนิวเคลียร์ที่เป็นแบบนิวเคลียร์ฟิวชั่น เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นภายในของดวงอาทิตย์มันให้พลังงานมหาศาล จากแกนของดวงอาทิตย์ ก๊าซ และมวลต่าง ๆ ในดวงอาทิตย์
บทที่ 4 ชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ และสภาพของอวกาศ
รูปการเกิดพายุสุริยะที่ดวงอาทิตย์
เราจะได้รู้จัก สนามแม่เหล็กในแต่ละดวงดาว, จุดดำบนดวงอาทิตย์, ไดนาโมสุริยะ, โคโรน่า (การทรงกลด) แสงอาทิตย์, ลมสุริยะ ฯลฯ
บทที่ 5 สภาพแวดล้อมอวกาศพลาสม่า: สนามแม่เหล็ก
บทนี้จะได้เรียนรู้ เฮลิโอสเปียร์ บรรยากาศห่อหุ้ม (ฮีลีโอสเฟียร์ (heliosphere) คือ อาณาเขตคล้ายฟอง (bubble) ภายในอวกาศที่ขยายตัวโดย ลมสุริยะ (solar wind)ไปในตัวกลางระหว่างดาว(interstellar medium) หรือก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซฮีเลียมที่แพร่กระจายไปทั่วกาแลกซี), สนามแม่เหล็กของโลก, สนามแม่เหล็กของดาวอื่น ๆ , แสงเหนือ (Aurora) ฯลฯ
รูปแสงเหนือ
วิดีโอมาดูความสวยงามของแสงเหนือกัน
บทที่ 6 สภาวะอวกาศ
ในบทนี้จะได้รู้จัก เปลวสุริยะ, กระแสเหนี่ยวนำในพื้นดวงดาว, มนุษย์จะต้องเจออะไรบ้างก่อนการเตรียมตัวที่จะขึ้นไปสำรวจอวกาศ
รูปการเกิดเปลวสุริยะในดวงอาทิตย์
บทที่ 7 ระบบสุริยะจักรวาล
มาเรียนรู้ข้อมูลของดวงดาวต่าง ๆ ในระบบสุริยะจักรวาลของเรากัน ไม่ว่าโลก, ดวงจันทร์, ดาวพุธ, ดาวศุกร์, ดาวอังคาร ฯลฯ
รูประบบสุริยะจักรวาลของเรา
บทที่ 8 ดวงดาวอื่น ๆ
เป็นภาคต่อของบทที่แล้ว นอกจากดวงดาวในระบบสุริยะ เช่น ดาวพฤหัส, ดาวเสาร์แล้ว ยังกล่าวถึงดาวเคราะห์น้อยอื่น ๆ ที่วนรอบดาวต่าง ๆ (ดวงจันทร์ในแต่ละดวงดาวนั่นเอง) นอกจากนี้ ยังกล่าวถึง ดาวหาง, อุกาบาต, หลุมดำ, ดวงดาว และกาแลกซี่ต่าง ๆ ที่อยู่ในอวกาศ
รูปดาวหาง
บทที่ 9 การเดินทางไปยังดาวเคราะห์
มารู้จักกับดาราศาสตร์, กฎของเคเปล่อร์, การเคลื่อนที่ของดวงดาว, การช่วยของวงโคจร, สมการจรวด, การปล่อยจรวด, เครื่องยนต์ และระบบขับดัน, ปฏิกิริยาเคมีของเชื้อเพลิงในระบบขับดัน, จรวดไฮบริดจ์, การปล่อยจรวดจากเครื่องบิน ฯลฯ
รูปการปล่อยยานอวกาศ
บทที่ 10 ในอวกาศ / การเคลื่อนที่ไปในอวกาศ
จะได้เรียนรู้ระบบขับดันด้วยไฟฟ้า, การขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์ ฯลฯ
รูปนักบินอวกาศ
วิดีโอสารคดีจักรวาลที่ซ่อนอยู่
(ความจริงไม่ได้ซ่อนหรอก เทคโนโลยีของเรายังไม่ถึงเอง)
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“จุดประสงค์ของการใช้ชีวิตของคนเรา
ก็คือ
การมีความสุข”
Dalai Lama
สารบัญ หน้าต่อไป>