โปรโมทหนังสือ
ดวงดาว และอวกาศ (Stars & Space) 2 (จบ)
รูปหน้าปกหนังสือ
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
สนใจหนังสือ และความรู้ของผู้เขียน
เรื่องอื่น ๆ มีทั้งโหลดได้ฟรี และราคาถูก นอกเหนือจากนี้
คลิก
มีหนังสือ ดวงดาว และอวกาศ (Stars & Space) 2
ทำเป็นเล่ม อีบุ๊ค เพื่อสนับสนุนเว็บไซต์
สามารถโหลดอ่านตัวอย่างก่อนซื้อได้เลยครับ ฟรี
หากผู้อ่านสนใจคลิกที่ชื่อสำนักพิมพ์
meb Se-ed
ในที่สุดมันจะไหลไปถึงจุดที่ความดันก๊าซ, สนามแม่เหล็กของสสารระหว่างดวงดาว กับลมสุริยะเจอกัน จนเข้าสู่กระบวนการปรับสมดุลของความดันก๊าซ และสนามแม่เหล็กจากลมสุริยะ บริเวณขอบเขตนั้นเรียกว่า เฮลิโอพอส (Heliopause) ดูที่รูป 1.12
ข้อสังเกต: ฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ หรือ สสารระหว่างดาวเคราะห์ (Interplanetary dust cloud หรือ Interplanetary medium) เป็นฝุ่นจักรวาลชนิดหนึ่ง ที่แผ่กระจายอยู่ทั่วอวกาศระหว่างดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ หรือในระบบดาวเคราะห์อื่น ๆ
มีการเฝ้าศึกษาฝุ่นเหล่านี้มาหลายปีแล้ว เพื่อทำความเข้าใจถึงธรรมชาติ ต้นกำเนิด และความสัมพันธ์ของมัน แล้วนำมาเทียบกับวัตถุขนาดใหญ่อื่น ๆ
รูปที่ 1.13 ฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์
ที่มา : https://rocketstem.b-cdn.net
สำหรับในระบบสุริยะจักรวาลของเรา ฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์เหล่านี้ ทำให้แสงอาทิตย์เกิดการกระเจิง ที่เรียกกันว่า แสงจักรราศี (Zodiac light) ซึ่งจะเกิดขึ้นในแนววงโคจรสุริยะ นอกจากนี้มันยังแผ่รังสีความร้อนออกมาที่ครอบคลุมไปทั่วท้องฟ้ายามราตรี ในช่วงความยาวคลื่นประมาณ 5 – 50 ไมโครเมตร
ฝุ่นที่ทำให้เกิดการแผ่รังสีอินฟราเรด ในบริเวณที่ใกล้เส้นทางโคจรของโลก จะมีขนาดความยาวคลื่นประมาณ 10 – 100 ไมโครเมตร มวลรวมทั้งหมดของฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ มีประมาณเท่ากับมวลของดาวเคราะห์น้อยที่มีรัศมีความกว้างประมาณ 15 กิโลเมตร (ที่ความหนาแน่นราว 2.5 กรัม/ลบ.ซม.)
ภายในเฮลิโอพอส พลาสมา และสนามแม่เหล็กเกือบทั้งหมด เป็นจุดกำเนิดของระบบสุริยะ ส่วนด้านนอกของเฮลิโอพอส พลาสมา และสนามแม่เหล็กทั้งหมด จะเป็นส่วนกำเนิดของกาแล็กซี
มีความเป็นไปได้ที่จะมีเขตแดน นอกเฮลิโอพอสอีกส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส่วนคลื่นโค้งกระแทก หรือคลื่นโบว์ ช็อก (Bow shock)
หากระบบสุริยะจักรวาลของเรา เดินทางผ่านสสารระหว่างดวงดาวด้วยความเร็วสัมพัทธ์ที่เร็วกว่าความเร็วเสียง คลื่นช็อกจะก่อตัวรอบระบบสุริยะ
รูปที่ 1.14 การเคลื่อนที่ของลมสุริยะผ่านส่วนต่าง ๆ
ที่มา : https://www.nasa.gov
คล้ายกับการเกิด คลื่นกระแทก หรือโซนิคบูม (Sonic boom) รอบตัวเครื่องบิน ที่บินด้วย ความเร็วเหนือเสียง (Supersonic speeds) บนโลก
รูปที่ 1.15 การเกิดคลื่นกระแทกขณะที่เครื่องบิน บินด้วยความเร็วเหนือเสียง
ที่มา : https://artofthestate.files.wordpress.com
เราไม่สามารถบอกได้ว่า จะเกิดโบว์ ช็อกขึ้นหรือไม่ เพราะว่า เราไม่รู้สภาวะสสารระหว่างดวงดาว คืออะไร เพราะว่ามันไม่ใช่ประเภทของโครงสร้างที่จะสามารถสังเกตได้โดยตรง ด้วยเทคนิคการตรวจจับระยะไกลจากบนโลก
ฟองของพลาสมา และสนามแม่เหล็กที่แผ่ออกมาจากดวงอาทิตย์ และถูกแนวกันชนโดย สสารระหว่างดวงดาว เราเรียกว่า เฮลิโอสเฟียร์ (Heliosphere: หมายถึง ผลที่มาจากดวงอาทิตย์ มีลักษณะคล้ายฟองอากาศอยู่ในห้วงอวกาศ ที่พองตัวอยู่ในสสารระหว่างดวงดาว ซึ่งเป็นผลจากลมสุริยะ
มันทำหน้าที่ปกป้องระบบสุริยะเอาไว้จากรังสีคอสมิค แม้จะมีอะตอมที่เป็นกลางทางไฟฟ้าส่วนหนึ่งจากสสารระหว่างดวงดาว ก็สามารถลอดเข้ามาภายในเฮลิโอสเฟียร์ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วสสารส่วนใหญ่ที่อยู่ภายในเฮลิโอสเฟียร์ล้วนมีต้นกำเนิดมาจากดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น)
รูปที่ 1.16 เป็นค่าประมาณการที่ดีที่สุด เกี่ยวกับที่ตั้งของขอบเขตของเฮลิโอสเฟียส์เทียบกับตำแหน่งของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล สังเกตว่า ระยะทางเทียบเป็นมาตราส่วน บันทึกในหน่วยของ AU
ที่มา : https://imagecache.jpl.nasa.gov
AU = หน่วยดาราศาสตร์ (Astronomical Unit: au, a.u., ua) คือ หน่วยของระยะทาง (ค่าโดยประมาณ) เท่ากับระยะห่างระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ค่าที่ยอมรับในปัจจุบัน เท่ากับ 149,597,870,691±30 เมตร (ประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร หรือ 93 ล้านไมล์)
ในรูปที่ 1.16 ด้านบน เป็นการแสดงค่าประมาณการที่ดีที่สุดของมนุษย์เรา สำหรับอาณาบริเวณของแต่ละขอบเขตชั้นภายในเฮลิโอสเฟียร์
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“ความสุข ถ้าแบ่งปันกัน ก็จะเพิ่มเป็นสองเท่า
แต่
ความทุกข์ ถ้าแบ่งปันกันจะลดเหลือครึ่งหนึ่ง
Happiness, if shared it will double.
But
Suffering, if shared, will be reduced to half.”
นิรนาม
<หน้าที่แล้ว สารบัญ