โปรโมทหนังสือ
ดวงดาว และอวกาศ (Stars & Space) 2 (จบ)
รูปหน้าปกหนังสือ
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
สนใจหนังสือ และความรู้ของผู้เขียน
เรื่องอื่น ๆ มีทั้งโหลดได้ฟรี และราคาถูก นอกเหนือจากนี้
คลิก
มีหนังสือ ดวงดาว และอวกาศ (Stars & Space) 2
ทำเป็นเล่ม อีบุ๊ค เพื่อสนับสนุนเว็บไซต์
สามารถโหลดอ่านตัวอย่างก่อนซื้อได้เลยครับ ฟรี
หากผู้อ่านสนใจคลิกที่ชื่อสำนักพิมพ์
meb Se-ed
เนื่องจากเทคโนโลยีของมนุษย์ ยังไม่สามารถบินไปถ่ายรูปกาแล็กซีทางช้างเผือกจากระยะไกลได้ และการส่งหัววัดโพรบออกนอกระบบสุริยะจักรวาลของเรา ยังมีความเป็นไปได้อีกไกลเลยทีเดียว
สิ่งที่เห็นในอวกาศเหล่านี้ สามารถประมาณการได้จากสิ่งที่สังเกตด้วยการใช้กล้องโทรทรรศน์, หอดูดาว, การวัดความยาวคลื่น ฯลฯ แล้วนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ จนจำลองภาพออกมาเป็นรูปร่าง
รูปที่ 1.7 ตัวอย่างการสังเกตการณ์ในอวกาศ
ที่มา : https://astronomynow.com
ระบบสุริยะจักรวาลของเรา อยู่ในตำแหน่งประมาณ สองในสาม หากนับจากใจกลางกาแล็กซีในวงก้นหอยออกมา
รูปที่ 1.8 เราอยู่ตรงนี้ ในกาแล็กซีทางช้างเผือก
ที่มา : http://www.meteoweb.eu
โดยเรากำลังเคลื่อนที่โคจรรอบศูนย์กลางของกาแล็กซีด้วยความเร็วประมาณ 220 กิโลเมตรต่อวินาที หมายความว่า เราจะโคจรครบหนึ่งรอบ ในทุก ๆ 225 ถึง 250 ล้านปี
รูปที่ 1.9 ระบบสุริยะจักรวาลของเรา กำลังโคจรรอบกาแล็กซีทางช้างเผือก
ที่มา : https://i.stack.imgur.com
รูปที่ 1.10 โลกของเรา และดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาลกำลังหมุนรอบดวงอาทิตย์ แล้วเคลื่อนที่แบบควงสว่านโคจรรอบกาแล็กซีทางช้างเผือกอีกที
ที่มา: https://www.syfy.com
กาแล็กซีของเรามีวงโคจรประมาณ 20 วง ตั้งแต่ก่อกำเนิดระบบสุริยะจักรวาล เป็นที่เชื่อกันว่า ณ ขณะนี้ เรายังเคลื่อนที่อยู่ในบริเวณ เมฆฝุ่นระหว่างดวงดาวท้องถิ่น (Local cloud) ดูที่รูป 1.11
รูปที่ 1.11 สสารระหว่างดวงดาวท้องถิ่น
ที่มา : https://www.americanscientist.org
ทำให้เป็นการยากที่จะประเมินลักษณะที่แน่นอนของ สสารระหว่างดวงดาว หรือ ลิสม์ (Local InterStellar Medium: LISM)
เนื่องจากเราไม่สามารถวัดความแรงของสนามแม่เหล็ก หรือความหนาแน่นของก๊าซ / พลาสมา จากระยะที่ไกลมาก ๆ ได้
เมื่อลมสุริยะไหลออกจากดวงอาทิตย์ ในรัศมี 10,000 ล้านกิโลเมตรแรก ลมสุริยะจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วมากกว่า 1 ล้านกิโลเมตรต่อชั่วโมง
ขณะที่ลมสุริยะไหลไป ช่วงที่มันไหลผ่านก๊าซ และไหลผ่านความแรงของสนามแม่เหล็ก มันจะรู้สึกถึงผลแรงต่อต้าน ที่กระทำโดย สสารระหว่างดวงดาว ทำให้มันเกิดการชะลอตัวช้าลง บางครั้งก็สลายไป
ลมสุริยะจะชะลอความเร็ว จนกระทั่งหยุดลงในที่สุด และร่วมไปกับวัตถุมวลสารเหล่านั้น จุดที่ลมสุริยะชะลอความเร็วลงไปถึงต่ำกว่าความเร็วเสียง โครงสร้างแบบนี้ เรียกว่า รูปแบบกำแพงกระแทก (Termination shock forms)
รูปที่ 1.12 การจำลองการเคลื่อนที่ของลมสุริยะผ่านส่วนประกอบต่าง ๆ ของรูปแบบกำแพงกระแทก
ที่มา : https://static.wikia.nocookie.net
เมื่อมันไหลผ่านกำแพงกระแทกไปแล้ว ลมสุริยะก็จะยังคงไหลอย่างต่อเนื่องต่อไป แต่จะมีความเร็วการเคลื่อนที่ ที่ต่ำกว่าความเร็วเสียง
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“กับคำว่า พอ
เป็นจุดเริ่มต้นของความสุข
With the word “Enough”
It's the beginning of happiness.”
นิรนาม
<หน้าที่แล้ว สารบัญ