โปรโมทหนังสือ
ดวงดาว และอวกาศ (Stars & Space) 2 (จบ)
รูปหน้าปกหนังสือ
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
สนใจหนังสือ และความรู้ของผู้เขียน
เรื่องอื่น ๆ มีทั้งโหลดได้ฟรี และราคาถูก นอกเหนือจากนี้
คลิก
มีหนังสือ ดวงดาว และอวกาศ (Stars & Space) 2
ทำเป็นเล่ม อีบุ๊ค เพื่อสนับสนุนเว็บไซต์
สามารถโหลดอ่านตัวอย่างก่อนซื้อได้เลยครับ ฟรี
หากผู้อ่านสนใจคลิกที่ชื่อสำนักพิมพ์
meb Se-ed
บทที่ 1 สภาพแวดล้อมอวกาศพลาสมา
รูปที่ 1.1 สภาพแวดล้อมอวกาศพลาสมา
ที่มา : https://www.ucl.ac.uk
ความเร็วของ ลมสุริยะ (Solar wind: เป็นกระแสลำธารการไหลของอนุภาคประจุไฟฟ้า ที่ถูกปล่อยออกมาจากบรรยากาศชั้นนอกของดวงอาทิตย์ หรือดาวฤกษ์อื่น แล้วพุ่งออกไปสู่อวกาศในทุกทิศทาง (รายละเอียดได้กล่าวไว้ใน ดวงดาว และอวกาศ เล่ม 1)) จะไหลออกจากดวงอาทิตย์ ด้วยความเร็วคงที่ ไหลไปตามระยะทางที่มันไป (ด้วยความเร็วเหนือเสียง ในสภาวะสุญญากาศ) แต่จะเป็นจริงได้ก็ต่อเมื่อ มันอยู่ในระยะทางที่ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีอะไรมาคอยต้าน หรือบดบัง โดยนับระยะจากดวงอาทิตย์
หากลมสุริยะไหลเข้าไปปะทะกับดวงดาว หรือวัตถุบางอย่าง ความเร็วของมันจะช้าลง
การเคลื่อนที่ของลมสุริยะ โดยทั่วไปแล้วมีสองแบบ ไม่ว่าจะเป็น การเกิดลมสุริยะระหว่างดวงอาทิตย์ กับดาวเคราะห์ภายในระบบสุริยะจักรวาลของเรา
และลมสุริยะนี้ สามารถไหลออกไปสู่บริเวณต่าง ๆ นอกระบบสุริยะจักรวาลของเรา อีกทั้งยังสามารถรับลมสุริยะมาจากดาวฤกษ์ที่อยู่ด้านนอกระบบสุริยะของเราก็เป็นได้
รูปที่ 1.2 จำลองการไหลของลมสุริยะ
ที่มา : https://www.nasa.gov
1.1 เฮลิโอสเฟียร์
เฮลิโอสเฟียร์ (heliosphere) เป็นอาณาเขตคล้ายฟอง (bubble) ภายในอวกาศ ที่ขยายตัวโดยลมสุริยะ ไปในตัวกลางระหว่างดาว (interstellar medium) หรือก๊าซไฮโดรเจน และก๊าซฮีเลียมที่แพร่กระจายไปทั่วกาแล็กซี
ดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์ต่าง ๆ ไม่เพียงแต่ลอยอยู่ในสุญญากาศที่ว่างเปล่า ที่บางบริเวณเป็นอาณาเขตเฮลิโอสเฟียร์ ภายในอวกาศท่านั้น
สิ่งมีชีวิตอย่างมนุษย์เราเอง ก็เป็นส่วนหนึ่งของ กาแล็กซี หรือดาราจักร (Galaxy) (ในเล่มอาจเรียกสลับไปมา ไม่ว่ากันนะครับ) (มีอีกคำหนึ่งที่ขอใช้สลับกันไปมาบ่อย แต่ให้รู้ว่าเป็นตัวเดียวกัน ก็คือ เอกภพ กับจักรวาล (Universe)) ย่อมได้รับผลกระทบจากสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอวกาศด้วยเช่นกัน
รูปที่ 1.3 กาแล็กซี
ที่มา : https://c4.wallpaperflare.com
ซึ่งกาแล็กซีหนึ่ง ๆ เกิดจากดาวหลายแสน หรือหลายล้านดวงมารวมตัวกัน อีกทั้งยังมีก๊าซ และฝุ่นในระหว่างระบบดวงดาวปะปนอยู่ในกาแล็กซี
ดูการจำลองกาแล็กซีทางช้างเผือก (Milky way galaxy) ของเรา ในรูปที่ 1.4 – รูปที่ 1.6
รูปที่ 1.4 ภาพจำลองที่เชื่อว่าน่าจะเป็นกาแล็กซีของเรา
ที่มา : https://f.ptcdn.info
รูปที่ 1.5 กาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา
ที่มา : https://s3-us-west-2.amazonaws.com
รูปที่ 1.6 กาแล็กซีของเรา
ที่มา : https://www.space.fm
จากรูปด้านบน เป็นภาพจำลองที่เชื่อว่าเป็นโครงสร้างที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุด สำหรับกาแล็กซีของเรา และสภาพพื้นที่ใกล้เคียงรอบ ๆ
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“คำว่า ไม่รู้
เป็นศัตรูของความ ก้าวหน้า
The word "I don't know"
is the enemy of progress.”
คำคมคนทำงาน
<หน้าที่แล้ว สารบัญ หน้าต่อไป>