บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 539
เมื่อวาน 984
สัปดาห์นี้ 11,568
สัปดาห์ก่อน 29,853
เดือนนี้ 58,725
เดือนก่อน 65,987
ทั้งหมด 4,873,977
  Your IP :18.119.19.205

โปรโมทหนังสือ

 

ดวงดาว และอวกาศ (Stars & Space) 2 (จบ)

 

รูปหน้าปกหนังสือ

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

สนใจหนังสือ และความรู้ของผู้เขียน

เรื่องอื่น ๆ มีทั้งโหลดได้ฟรี และราคาถูก นอกเหนือจากนี้ 

 

คลิก 

 

มีหนังสือ ดวงดาว และอวกาศ (Stars & Space) 2

ทำเป็นเล่ม อีบุ๊ค เพื่อสนับสนุนเว็บไซต์

 

สามารถโหลดอ่านตัวอย่างก่อนซื้อได้เลยครับ ฟรี

หากผู้อ่านสนใจคลิกที่ชื่อสำนักพิมพ์

 

meb          Se-ed

 

 

ดวงดาว และอวกาศ

 

Stars & Space

 

2 จบ

 

 

 

 

 

 

คำนำ

 

        เมื่อเรามองดูท้องฟ้า ดูดวงดาวที่มีอยู่มากมาย ดูแล้วรู้สึกถึงความยิ่งใหญ่ ลึกลับ จนทำให้เราอยากรู้ว่า เราอยู่ตรงไหนของจักรวาล เผ่าพันธุ์เราเป็นใคร ยังมีสิ่งมีชีวิตอื่นอีกไหมนอกเหนือจากเรา

 

      ทำให้มนุษย์พยายามสร้าง และพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อที่จะบินขึ้นไปท่อง และสำรวจอวกาศ  เพื่อที่จะดูว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างในจักรวาล, สิ่งที่เกิดขึ้นจะมีผลต่อเราแค่ไหน, หนังสือเล่มนี้จะนำผู้อ่านไปเรียนรู้เกี่ยวกับอวกาศ ที่มีความลึกลับเกินจินตนาการของมนุษย์  ฯลฯ ให้รู้จักกับอวกาศมากขึ้น

 

      ในเล่มที่ 2 นี้ จะพบกับเรื่องของ สภาพแวดล้อมในอวกาศ, เอกภพ, ดาราจักร, มหานวดารา, เนบิวลา, หลุมดำ, ดาวฤกษ์, ดาวเคราะห์ต่าง ๆ, ระบบสุริยะจักรวาล, ดาวหาง ฯลฯ

 

      เล่มนี้ จะเป็นเล่มจบ แต่การสำรวจ และการค้นหาในห้วงอวกาศยังคงดำเนินอยู่ต่อไป แน่นอนในอนาคต องค์ความรู้ของมนุษยชาติก็จะมีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าหากผู้เขียนเรียบเรียงความรู้จนมีมากพอ ก็จะทำเป็นเล่มมาให้อ่านอีกครับ

 

      ผู้เขียน และเรียบเรียง พยายามจะเขียนให้เข้าใจง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน เน้นให้อ่านสนุก ส่วนความรู้ที่สูงกว่านี้ ผู้อ่านก็สามารถนำไปต่อยอดได้เอง

 

      การเขียนออกมาให้ผู้อ่านได้อ่าน อาจจะใช้เวลานานสักหน่อย ตั้งใจอยากที่จะเขียน และเรียบเรียงออกมาให้ดีที่สุด ผิดพลาดให้น้อยที่สุด

 

      จึงจำเป็นต้องอ่านเพื่อกลั่นกรองคำที่เขียนไม่ต่ำกว่า 4 รอบ หรือมากกว่านั้น เพราะผู้เขียนพยายามจะทำให้อ่านง่าย จึงทำให้แต่ละเล่มที่เขียนเรียบเรียงออกมา ต้องใช้เวลาที่นานพอสมควร

 

      มีทั้งการขัดเกลา กลั่นกรอง เพื่ออธิบายเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายเท่าที่จะทำได้ จึงต้องทวนหลายรอบ บางครั้งนั่งเขียนนั่งอ่านกันจนดึกดื่น ก็อาจจะมีส่วนผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ บ้าง ผู้เขียน และเรียบเรียงต้องขออภัยด้วยนะครับ

 

      การเขียนหนังสือแต่ละเล่มจะพยายามให้ดูน่าติดตาม ด้วยการใช้ภาษาง่าย ๆ อาศัยภาพช่วยในการอธิบาย ผู้อ่านที่มีความสนใจ ลองติดตามอ่านดูนะครับ

 

 

 

      ราชอาณาจักรไทย ต้องเดินหน้าไปด้วยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (เป็นการพัฒนาทางด้านวัตถุ (กายภาพ)) คิด หรือประยุกต์เอง สร้างเอง ผลิตเอง ถึงจะเป็นประเทศที่พัฒนาเหนือประเทศอื่น

 

      แต่ในขณะเดียวกันข้างหลัง ธรรมชาติป่าเขาลำเนาไพร, ศาสนา, ศิลปวัฒนธรรม, ศีลธรรมอันดี, ประวัติศาสตร์ชาติของเรา, ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่โอบอ้อมอารีย์ของความเป็นคนไทยอันดีงาม ก็ต้องรักษาเอาไว้ (เป็นการพัฒนาทางด้านความคิด จิตสำนึก (จิตใจ)) ควบคู่กันไป

 

      มันจะเป็นประเทศที่น่าอยู่มาก ราชอาณาจักรไทยจะเป็นประเทศที่มีความสุขสงบ จะสุขทั้งกาย และสุขทั้งใจ ทั้งในรุ่นเรา และรุ่นลูกหลานต่อไป 

 

ขอเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศชาติ

 

 

I have a dream.

ผู้เขียน และเรียบเรียง

T.M.E.

 

สารบัญ

 

ไมด์แม็พของหนังสือเล่มนี้..................................................    17

 

เกริ่นนำ..............................................................................19

 

 

บทที่ 1 สภาพแวดล้อมอวกาศพลาสมา................................31

 

       1.1 เฮลิโอสเฟียร์...........................................................33

 

       1.2 แมกนีโตสเฟียร์........................................................54

 

       1.3 สิ่งที่เกิดขึ้นนอกแมกนีโตสเฟียร์...................................58

 

       1.4 ภายในแม็กนีโตสเฟียร์...............................................77

 

       1.5 ดาวเคราะห์ดวงอื่น....................................................86

 

 

บทที่ 2 สภาวะอวกาศ.........................................................93

 

       2.1 เปลวสุริยะ และเหตุการณ์อนุภาคพลังงานแสงอาทิตย์......96

 

       2.2 กระแสเหนี่ยวนำแม่เหล็กภาคพื้น................................108

 

       2.3 ปรากกฎการณ์คาร์ริงตัน...........................................116

 

       2.4 การสำรวจของมนุษย์...............................................120

 

 

บทที่ 3 สสารมืด...............................................................138

 

       3.1 จุดเริ่มต้นค้าหาสสารมืด...........................................142

 

       3.2 หลักฐานการค้นพบสสารมืด......................................146

 

       3.3 การทำแผนที่สสารมืด..............................................151

 

       3.4 การระบุอนุภาคสสารมืด............................................156

 

       3.5 ทางเลือกแทนสสารมืด............................................162

 

       3.6 สสารมืด กับชะตากรรมของจักรวาล............................166

 

       3.7 พลังงานมืดคืออะไร? และเราสามารถแตะมันได้หรือไม่?............................................................................172

 

 

บทที่ 4 กาแล็กซี..............................................................180

 

       4.1 ประเภทของกาแล็กซี..............................................186

 

       4.2 ส่วนประกอบของกาแล็กซี........................................197

 

       4.3 การก่อตัวของกาแล็กซี............................................203

 

       4.4 การกระจายของเหล่ากาแล็กซี...................................210

 

       4.5 แอ็กทีฟกาแล็กซี....................................................220

 

 

 

 

บทที่ 5 ดาวฤกษ์..............................................................236

 

       5.1 ดาวฤกษ์ และคุณสมบัติ...........................................237

 

       5.2 อุณหภูมิ และสเปกตรัม............................................243

 

       5.3 ความสว่าง, ความส่องสว่าง และรัศมี...........................245

 

       5.4 มวล และการเคลื่อนที่..............................................263

 

       5.5 การจัดประเภทดาวฤกษ์...........................................264

 

       5.6 ชีวิตของดวงดาว....................................................270

 

       5.7 ความตายของดวงดาว.............................................276

 

 

บทที่ 6 เนบิวลา................................................................284

 

       6.1 เนบิวลาในลำดับชั้นจักรวาล......................................290

 

       6.2 ประเภทของเนบิวลา................................................300

 

       6.3 เนบิวลา แหล่งกำเนิดดาว.........................................308

 

       6.4 เนบิวลา กับฉากการทำลายล้างของดวงดาว.................316

 

       6.5 อนาคตในการวิจัยเนบิวลา........................................319

 

 

บทที่ 7 ซูเปอร์โนวา..........................................................325

 

       7.1 นำเข้าสู่ดวงดาวที่กำลังจะตาย...................................325

 

       7.2 วิธีค้นหาซูเปอร์โนวา...............................................332

 

       7.3 วัฏจักรชีวิตของดาวยักษ์..........................................338

 

       7.4 ประเภทของซูเปอร์โนวา..........................................341

 

       7.5 แกนยุบซูเปอร์โนวา.................................................349

 

       7.6 เราได้อะไรจากการเกิดซูเปอร์โนวา.............................354

 

 

 

บทที่ 8 หลุมดำ................................................................363

 

       8.1 เบื้องต้นของหลุมดำ................................................363

 

       8.2 ประเภทของหลุมดำ................................................372

 

       8.3 เราจะพบหลุมดำได้อย่างไร.......................................384

 

       8.4 หลุมดำในกลุ่มดาว M87 หลุมดำแรกที่มนุษย์ค้นพบ.......391

 

       8.5 หลุมดำที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่มนุษย์ค้นพบ.........................399

 

 

บทที่ 9 ดาวเคราะห์..........................................................414

 

       9.1 นำเข้าสู่เรื่องของดาวเคราะห์.....................................414

 

       9.2 ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะจักรวาล.............................419

 

       9.3 ดาวเคราะห์แคระ....................................................462

 

       9.4 ดาวเคราะห์น้อย.....................................................466

 

       9.5 โครงการเนียร์........................................................477

 

       9.6 ลงจอดบนอีรอส.....................................................480

 

 

บทที่ 10 ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล.........................486

 

       10.1 ดวงอาทิตย์: ศูนย์กลางของระบบสุริยะของเรา.............489

 

       10.2 ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาลของเรา....................490

 

       10.3 มีอะไรอีกบ้าง ในระบบสุริยะของเรา?.........................493

 

       10.4 ดาวเคราะห์อีกดวงที่อยู่ในระบบสุริยะของเรา...............494

 

       10.5 เหตุใดดาวพลูโต จึงไม่ถือว่าเป็นดาวเคราะห์อีกต่อไป...498

 

 

บทที่ 11 ดาวพุธ...............................................................509

 

       11.1 เบื้องต้นกับดาวพุธ................................................509

 

       11.2 องค์ประกอบภายในของดาวพุธ................................513

 

       11.3 ทฤษฎีการก่อตัวของดาวพุธ....................................515

 

       11.4 การมองดูดาวพุธ..................................................516

 

       11.5 ยานสำรวจดาวพุธ.................................................519

 

       11.6 ตารางแสดงคุณสมบัติทั่วไปของดาวพุธ.....................528

 

 

 

บทที่ 12 ดาวศุกร์.............................................................534

 

       12.1 เบื้องต้นกับดาวศุกร์...............................................534

 

       12.2 องค์ประกอบของดาวศุกร์........................................538

 

       12.3 การสำรวจดาวศุกร์................................................545

 

       12.4 ตารางแสดงคุณสมบัติทั่วไปของดาวศุกร์....................552

 

 

บทที่ 13 โลก...................................................................558

 

       13.1 กำลังงาน และแสงจากดวงอาทิตย์...........................561

 

       13.2  ทรงกลมของโลกทั้ง 4 คืออะไร?.............................565

 

       13.3 กลางคืน กับกลางวัน, อุณหภูมิ และฤดูกาล................583

 

       13.4 น้ำตาล และคาร์บอน.............................................593

 

       13.5 น้ำ และไฟ..........................................................598

 

       13.6 ความร้อน และลม.................................................601

 

       13.7 กำเนิดโลก..........................................................609

 

       13.8 ดวงจันทร์...........................................................616

 

       13.9 ตารางแสดงคุณสมบัติทั่วไปของดาวโลก...................628

 

 

 

บทที่ 14 ดาวอังคาร..........................................................633

 

       14.1 เบื้องต้นกับดาวอังคาร............................................633

 

       14.2 ภารกิจสำรวจดาวอังคาร.........................................639

 

       14.3 ภูมิประเทศทั่วไปของดาวอังคาร...............................674

 

       14.4 ตารางแสดงคุณสมบัติทั่วไปของดาวอังคาร................696

 

 

บทที่ 15 ดาวพฤหัสบดี.....................................................701

 

       15.1 เบื้องต้นกับดาวพฤหัสบดี........................................701

 

       15.2 โครงสร้างภายในของดาวพฤหัสบดี...........................709

 

       15.3 ดวงจันทร์บริวารของดาวพฤหัสบดี............................714

 

       15.4 ตารางแสดงคุณสมบัติทั่วไปของดาวพฤหัส.................741

 

 

บทที่ 16 ดาวเสาร์............................................................746

 

       16.1 เบื้องต้นกับดาวเสาร์..............................................746

 

       16.2 การสำรวจดาวเสาร์................................................751

 

       16.3 โครงสร้างของดาวเสาร์..........................................753

 

       16.4 ดวงจันทร์บริวารของดาวเสาร์..................................758

 

       16.5 ตารางแสดงคุณสมบัติทั่วไปของดาวเสาร์...................784

 

 

บทที่ 17 ดาวยูเรนัส..........................................................788

 

       17.1 เบื้องต้นกับดาวยูเรนัส............................................788

 

       17.2 โครงสร้างของดาวยูเรนัส........................................797

 

       17.3 การหมุนตะแคงข้างโคจรรอบดวงอาทิตย์...................799

 

       17.4 ดวงจันทร์บริวารของดาวยูเรนัส................................803

 

       17.5 ตารางแสดงคุณสมบัติทั่วไปของดาวยูเรนัส................839

 

 

บทที่ 18 ดาวเนปจูน.........................................................843

 

       18.1 เบื้องต้นกับดาวเนปจูน...........................................843

 

       18.2 โครงสร้างของดาวเนปจูน.......................................847

 

       18.3 วงแหวน และดวงจันทร์บริวารของดาวเนปจูน..............853

 

       18.4 ตารางแสดงคุณสมบัติทั่วไปของดาวเนปจูน................876

 

 

บทที่ 19 ดาวหาง.............................................................880

 

       19.1 ดาวหางคืออะไร?..................................................884

 

       19.2 เส้นทางของดาวหาง.............................................886

 

       19.3 องค์ประกอบของดาวหาง.......................................889

 

       19.4 ดาวหางสามารถแยกออกจากกันได้..........................894

 

       19.5 การสังเกตดาวหาง................................................897

 

 

บทที่ 20 ดาราศาสตร์ และการดูดาวเบื้องต้น......................903

 

       20.1 ที่อยู่ของมนุษย์ในจักรวาล......................................903

 

       20.2 ภาพรวมของวัตถุทางดาราศาสตร์.............................910

 

       20.3 การหาทิศเหนือ....................................................931

 

       20.4 ระบบพิกัดขอบฟ้า.................................................933

 

       20.5 การใช้มือเป็นเครื่องวัดมุม.......................................935

 

       20.6 ทรงกลมท้องฟ้า...................................................941

 

       20.7 การสังเกตกลุ่มดาวสว่าง.........................................947

 

       20.8 สามเหลี่ยมฤดูหนาว..............................................953

 

       20.9 สามเหลี่ยมฤดูร้อน..............................................958

 

       20.10 เตรียมตัวอย่างไรสำหรับการสังเกต?........................960

 

       20.11 จะทำการสังเกตได้อย่างไร?..................................967

 

       20.12 การเลือกอุปกรณ์ในการสังเกตดวงดาวบนท้องฟ้า.......972

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เกริ่นนำ

 

      ก่อนที่จะเข้าไปอ่านหนังสือในเรื่องจักรวาล และอวกาศ เล่ม 2 ที่เป็นเล่มจบนี้ เรามาดูภาพรวมในหนังสือกันก่อนนะครับ

 

หนังสือเล่มนี้จะประกอบไปด้วย เรื่องของ

 

สภาพแวดล้อมอวกาศพลาสมา

 

      มารู้จักกับสภาพแวดล้อมอวกาศ ที่มีผลต่อดวงดาวต่าง ๆ เช่น การเกิดเฮลิโอสเฟียร์กับชั้นบรรยากาศห่อหุ้มดวงดาว, การเกิดแมกนีโตสเฟียร์, สนามแม่เหล็กของโลก, สนามแม่เหล็กของดาวอื่น ๆ ,แสงเหนือ (Aurora) ฯลฯ

 

 

รูปแสงเหนือ

ที่มา : https://wallpaperstudio10.com

 

สภาวะอวกาศ

 

      มาดูเรื่องของสภาวะอวกาศที่มีผลกับโลกของเรา ไม่ว่าจะเป็นการเกิดลม, ฝน, พายุ การเกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ จากอวกาศ ที่ส่วนใหญ่มักจะมาจากอิทธิพลของดวงอาทิตย์

     

 

 

รูปการเกิดเปลวสุริยะในดวงอาทิตย์

ที่มา : https://wallpaperstudio10.com

 

 

 

 

สสารมืด

 

      มาเรียนรู้พลังงานด้านมืดในอวกาศ ที่พลังนี้อาจมีส่วนในการก่อกำเนิดจักรวาล และท้ายสุดอาจทำให้จักรวาลจบลงได้

 

 

รูปการจินตนาการพลังงานด้านมืดในจักรวาล

ที่มา: https://www.cnet.com

 

 

 

 

 

กาแล็กซี

 

      เรียนรู้กาแล็กซีต่าง ๆ ในจักรวาล ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง, ประเภท, ส่วนประกอบของกาแล็กซี, ขั้นตอนการก่อกำเนิดของมัน ฯลฯ

 

 

รูปห้วงอวกาศที่มีกาแล็กซี และดวงดาวอยู่มากมาย

ที่มา: https://cdn.wallpapersafari.com

 

ดาวฤกษ์

 

      บทนี้มาเรียนรู้เรื่องของดาวฤกษ์ คุณสมบัติของมัน, ประเภทของดวงดาว รู้จักกับดาวที่มีแสงในตัวเองนอกเหนือจากดวงอาทิตย์ของเรา

 

เนบิวลา

               

      เมฆก๊าซ และฝุ่นขนาดยักษ์ในอวกาศ ที่เป็นแหล่งอนุบาลของดาวเกิดใหม่ และเป็นสุสานสุดท้ายของดวงดาวเป็นอย่างไร มาเรียนรู้ได้ในบทนี้    

 

ซูเปอร์โนวา

 

      ดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ที่กำลังจะตาย มันจะกลายเป็นซูเปอร์โนวาได้อย่างไร บทนี้มาดูกัน

 

 

รูปซูเปอร์โนวา

ที่มา: https://c4.wallpaperflare.com

 

หลุมดำ

 

      หลุมดำในอวกาศ เกิดขึ้นได้อย่างไร มีกี่ประเภท วิธีการพบหลุมดำทำได้อย่างไร จะได้เรียนรู้ในบทนี้

 

 

รูปหลุมดำ

ที่มา: https://wallpapercave.com

 

ดาวเคราะห์

 

      มาเรียนรู้เรื่องของดาวเคราะห์ทั้งใน และนอกระบบสุริยะจักรวาล ว่าเป็นอย่างไร ที่มนุษย์ค้นพบในทุกวันนี้ มีดาวเคราะห์อะไรบ้าง

 

ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล

 

      มาเรียนรู้ข้อมูลของดวงดาวต่าง ๆ ในระบบสุริยะจักรวาลของเรากัน มาลงรายละเอียดในแต่ละบทไม่ว่าจะเป็นดาวพุธ, ดาวศุกร์, โลก, ดวงจันทร์, ดาวอังคาร ฯลฯ

 

 

รูประบบสุริยะจักรวาลของเรา

ที่มา : https://lh3.googleusercontent.com

 

 

 

 

 

 

 

 

ดาวหาง

 

      มาดูเรื่องของดาวหาง วัตถุเคลื่อนที่ตามวงโคจร เป็นวัตถุที่มีขนาดเล็กในระบบสุริยะจักรวาล ว่าเป็นอย่างไร เกิดมาจากไหน และตัวอย่างดาวหางที่ค้นพบ   

 

รูปดาวหาง

ที่มา : https://stmed.net

 

ดาราศาสตร์ และการดูดาวเบื้องต้น

 

      มาศึกษาดวงดาวในศาสตร์ของทางดาราศาสตร์กัน และมาเรียนรู้ในการดูดาวเบื้องต้น

 

 

 

      อิจฉาที่เห็นประเทศพัฒนา ทำโน่น นี่ นั่น เราได้แต่มอง อยากเห็นประเทศเราทำได้บ้าง ในการคิด การสร้างเทคโนโลยี เพื่อการสำรวจอวกาศ หรือในงานด้านอื่น

 

      คนไทยเราเก่ง, ดี และมีศักยภาพเยอะแยะมากมาย แต่ขาดการสนับสนุน และการทำงานเป็นทีม ก็เลยยังไปไหนไม่ได้ไกล

 

      ผู้เขียน และเรียบเรียง ก็ทำได้แค่อ่านหนังสือหาความรู้ไปทั่ว ส่วนไหนปฏิบัติได้ก็ปฏิบัติ แล้วนำความรู้ประสบการณ์มาถ่ายทอดให้ได้อ่านกัน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หนังสืออีบุ๊ค ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอวกาศของผู้เขียน และเรียบเรียง หากสนใจเพิ่มเติม มีดังนี้

 

 

ดวงดาว และอวกาศ (Stars & Space) 1

 

   

อวกาศยาน และเทคโนโลยีอวกาศ (Aerospace and Space technology) เบื้องต้น เล่ม 1

 

และ 2

 

 

 

สัมพัทธภาพ (Relativity)

 

 

สามารถโหลดอ่านตัวอย่างก่อนซื้อได้ ฟรี ก่อนตัดสินใจซื้อ

ในอนาคต จะทำหนังสืออีบุ๊ค ทั้งเล่มอ่านฟรี และเล่มจำหน่ายออกมาให้อ่านอีก

 

ขอขอบคุณที่เข้ามาอ่าน และช่วยสนับสนุนครับ 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“ใช้... ก็หมด

ไม่ใช้... ก็หมด

นั่นก็คือ เวลา

จงใช้ชีวิตที่คุ้มค่า กับเวลาที่เหลืออยู่

 

Use it... and it's gone.

If you don't use it...it's gone.

That is Time.

Live a life worth living with the remaining time

นิรนาม

 

<หน้าที่แล้ว                              สารบัญ                         หน้าต่อไป>

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา