2.2 ประเภทของน้ำมัน
รูปน้ำมันดิบ
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
ขณะที่น้ำมันดิบปกติมีสีดำมืด เพราะมันมาจากใต้พื้นดิน แต่หลังจากที่นำมากลั่นแล้ว ก็นำมาเติมสี และกลิ่นลงไป ก็อาจจะเห็นน้ำมันมีสีเขียว, แดง, เหลือง หรือสีอื่น มีการเติมส่วนผสมสารเคมี และจำนวนของกำมะถัน, ออกซิเจน, ไนโตรเจน และแร่ธาตุอื่น ๆ ลงไปในน้ำมัน
รูปการกำหนดสีน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ในไทยของกระทรวงพลังงาน
ความหนืดของมัน (ความหนาแน่น หรือความต้านทานต่อการไหล) จะมีตั้งแต่เหลวเป็นน้ำ คือหนืดน้อย (ความหนาแน่นน้อย) ไปจนถึงมีความหนืดมาก (ความหนาแน่นมาก) เช่น น้ำมันทาร์ (Tar) น้ำมันดิบก่อนที่จะนำมาใช้งาน จะต้องผ่านการกลั่น หรือแปรรูปทางเคมี จนไปเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูป
รูปตัวอย่างการเทียบความหนืดของน้ำมันประเภทต่าง ๆ
น้ำมันดิบ ที่เจาะได้จะมีคุณภาพที่แตกต่างกันไป โดยน้ำมันดิบที่ดีจะมีกำมะถันน้อย, สามารถกลั่นได้อย่างง่าย และมีมูลค่ากว่า น้ำมันดิบที่เปรี้ยว (Sour) ซึ่งจะมีสิ่งสกปรกมากกว่า
น้ำมันดิบเบา (Light) ซึ่งมีโมเลกุลสั้น ๆ จะให้ผลผลิตน้ำมันเบนซินมากขึ้น และทำกำไรได้มากกว่า ส่วนน้ำมันดิบหนัก (Heavy) ซึ่งมีสายโมเลกุลยาว และทำให้มีราคาต่ำกว่าในตลาด
นอกเหนือจากน้ำมันดิบแล้ว ยังมีแหล่งปิโตรเลียมอื่นอีกหลัก ๆ สองแหล่ง คือ น้ำมันดิบคอนเดนเสท (Lease condensate) และก๊าซธรรมชาติ (Natural gas) เหลวจากโรงงาน คอนเดนเสทเป็นของเหลวที่ได้จากแหล่งบ่อก๊าซธรรมชาติ ประกอบไปด้วยสารเคมีที่เรียกว่า เพนแทนส์ และไฮโดรคาร์บอนที่หนักกว่า (Pentanes and Heavier hydrocarbons)
โดยทั่วไปน้ำมันดิบนำมาใช้กลั่น จะได้ก๊าซธรรมชาติเหลวเป็นผลพลอยได้ด้วย เช่น บิวเทน (Butane) และโพรเพน (Propane) ซึ่งจะได้ในระหว่างการปรับแต่งเป็นก๊าซธรรมชาติในโรงกลั่น
รูปตัวอย่างก๊าซบิวเทน
รูปตัวอย่างการใช้งานก๊าซโพรเพน
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“สิ่งทั้งปวง อันใคร ๆ ไม่ควรยึดมั่น”
พุทธทาสภิกขุ
<หน้าที่แล้ว สารบัญ หน้าต่อไป>
|