ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2545 เกิดการโจมตี และโต้กลับระหว่างชาวปาเลสไตน์ กับอิสราเอล ทำให้เกิดความวิตกว่าอิรักอาจระงับการขนส่งน้ำมันดิบไปยังประเทศต่าง ๆ ที่สนับสนุนรัฐยิวของอิสราเอลเหนือรัฐอิสลามปาเลสไตน์
นอกจากนี้ ความกังวลที่เกิดขึ้นว่าภูมิภาคตะวันออกกลางอาจกลายเป็นความวุ่นวายหากสหรัฐอเมริกาบุกอิรัก ซึ่งเป็นแหล่งสำรองน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลก
นอกจากนี้ผู้ค้าน้ำมันในเวเนซุเอลายังนัดหยุดงานซึ่งตัดการส่งออกจากเวเนซุเอลา ปัจจัยหลักสามประการนี้เป็นสาเหตุทำให้ราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นหลังปี พ.ศ. 2545
1.1.2.4 ความผันผวน และการบันทึกความผันผวนของราคาน้ำมัน ตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2546 – 2549
ในต้นปี พ.ศ. 2546 ได้เริ่มเกิดสงครามอิรักครั้งที่สอง นอกจากนี้ เนื่องจากฤดูหนาว และการประท้วงที่เวเนซุเอลา การจัดเก็บน้ำมันดิบในสหรัฐมีการปรับตัวลดลง ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบ 40 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 สูงสุดในรอบยี่สิบปี
เมื่อสงครามเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2546 อิรักได้ปิดแหล่งบ่อน้ำมัน ทำให้ประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายอื่น ๆ ได้เพิ่มกำลังการผลิต เพื่อชดเชยการขาดแคลนน้ำมัน อย่างไรก็ตาม นอกจากนี้การประท้วงในเวเนซุเอลาก็ได้สิ้นสุดพอดี ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงอย่างมาก เหลือ 27 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ภายในต้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2546
รูปการขึ้นลงของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
ถึงอย่างไร ราคาที่ต่ำกว่าก็ไม่ได้มีผลดีนัก ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2546 ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นเหนือระดับ 30 เหรียญต่อบาร์เรล ส่วนใหญ่ก็เนื่องมาจาก อุปาทาน (Demand: ความต้องการ)ของน้ำมันดิบอยู่ในระดับต่ำ และมีความต้องการสูง
ในช่วงฤดูร้อน มีการใช้พลังงานกันมาก โดยเฉพาะน้ำมัน ทำให้ราคาน้ำมันดิบ ยังคงไต่ระดับขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงฤดูร้อน และได้รับแรงกดดันมากขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ร่วง เมื่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ร่วงแตะระดับต่ำสุด เมื่อเทียบกับเงินยูโร เมื่อถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 ราคาเพิ่มขึ้นเกือบ 34 เหรียญต่อบาร์เรล
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“ความสำเร็จที่แท้จริง
มิใช่อยู่ที่การเรียนรู้เท่านั้น
แต่อยู่ที่การประยุกต์ใช้
เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติ”
พระราชดำรัสใน
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศอดุลยเดชวิกรม
พระบรมราชชนก
<หน้าที่แล้ว สารบัญ หน้าต่อไป>
|