1.1.2.2 น้ำมันราคาตกในช่วงปี พ.ศ. 2523
ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2523 รัฐบาลสหรัฐ สนองตอบต่อวิกฤติน้ำมันโดยการลดราคา และควบคุมในการใช้น้ำมัน เนื่องจากการไม่ควบคุมราคาน้ำมันดิบในประเทศ หรือจำกัดการส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ทำให้ตลาด และการแข่งขันสามารถกำหนดราคาน้ำมันดิบได้ ดังนั้นราคาน้ำมันในประเทศจึงปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันในต่างประเทศ
ผลมาจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเหล่านี้ อุตสาหกรรม และที่พักอาศัยใช้น้ำมันน้อยลง มีความพยายามประหยัดน้ำมัน หรือเปลี่ยนไปใช้เชื้อเพลิงทดแทน ความต้องการในการใช้น้ำมันดิบลดลง อย่างไรก็ดี องค์กรเพื่อการส่งออกปิโตรเลียม หรือกลุ่มโอเปค (Organization of Petroleum Exporting Countries: OPEC) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศซาอุดิอาระเบีย ได้ตัดการผลิตออกไปในช่วงครึ่งปีแรก ของปี พ.ศ. 2523 เพื่อไม่ให้ราคาน้ำมันลดลงมากเกินไป (ประเทศในกลุ่มโอเปก ได้แก่ แอลจีเรีย, อินโดนีเซีย, อิหร่าน, อิรัก, คูเวต, ลิเบีย, ไนจีเรีย, กาตาร์, ซาอุดิอาระเบีย, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเวเนซุเอลา)
ในปี พ.ศ. 2528 ซาอุดิอาระเบีย ได้ย้ายส่วนแบ่งการตลาดที่เพิ่มขึ้นของการส่งออกน้ำมันดิบ โดยการเพิ่มการผลิต (ซาอุดิอาระเบียยังคงเป็นผู้ผลิต และส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นชาติสมาชิกที่สำคัญของกลุ่มโอเปก) ส่วนประเทศอื่น ๆ ก็มีการผลิตเพิ่มขึ้นตามมาส่งผลให้น้ำมันดิบในตลาดโลกมีจำนวนเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2529 และก็มีการนำเข้าไปใช้ในประเทศสหรัฐเพิ่มขึ้น
1.1.2.3 การขึ้น และลงของราคาน้ำมันจากปี พ.ศ. 2533 ถึงพ.ศ.2545
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2533 อิรักได้บุกคูเวต องค์การสหประชาชาติ หรือยูเอ็น ตอบโต้โดยการห้ามนำเข้า และส่งออกน้ำมันดิบจากสองประเทศ เป็นผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นอย่างกะทันหัน
แต่ประเทศที่ไม่ใช่กลุ่มโอเปคในอเมริกากลาง, ยุโรปตะวันตก และเอเชีย พร้อมกับสหรัฐอเมริกาเพิ่มการผลิต เพื่อเติมช่องว่างในโลกการใช้ หลังจากที่สหประชาชาติได้อนุมัติการใช้กำลังกับอิรัก เริ่มต้นใน ตุลาคม พ.ศ. 2533 ราคาลดลงอย่างรวดเร็ว ดูที่รูปด้านล่าง
รูปราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
รูปเหตุการณ์เกี่ยวกับวิกฤติปิโตรเลียมที่สำคัญ และราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก
การล่มสลายของเศรษฐกิจโลกประมาณปี พ.ศ. 2540 (พิษต้มยำกุ้ง) ส่งผลให้ความต้องการใช้พลังงานลดลง และราคาปิโตรเลียมก็ลดลงอย่างมาก ในช่วงปี พ.ศ. 2542 โอเปกได้ตอบสนองด้วยการลดกำลังการผลิตน้ำมัน ส่งผลให้ราคาน้ำมันเริ่มเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2543 ดูที่รูปด้านบน
ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ปรับตัวลดลงจนถึงปี พ.ศ. 2544 เนื่องจากอุปสงค์ (ความต้องการ) ทั่วโลกลดลงจากพิษเศรษฐกิจที่ชะลอตัว (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสหรัฐอเมริกา) และความต้องการด้านเชื้อเพลิงเครื่องบินลดลง หลังจากการโจมตีของผู้ก่อการร้ายในสหรัฐ เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ความวิตกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกเพิ่มขึ้น รวมไปถึงการลดลงของราคาน้ำมันดิบด้วย
รูปเหตุการณ์เครื่องบินถูกผู้ก่อการร้ายจี้ แล้วพุ่งชนตึกเวิร์ลเทรด ในนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
วิดีโอลำดับเหตุการณ์ 9/11
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“ความมีวินัย
คือ สะพานที่เชื่อมระหว่าง
เป้าหมาย และความสำเร็จ
Discipline is the bridge between goals and accomplishment.”
Jim Rohn
นักธุรกิจ นักเขียน นักสร้างแรงบันดาลใจ
<หน้าที่แล้ว สารบัญ หน้าต่อไป>