1.1.2 ศตวรรษที่ 20 ถึงต้นศตวรรษที่ 21
ในประวัติศาสตร์ของอเมริกา การใช้พลังงานในประเทศเกือบจะเพียงพอ แม้ว่าจะมีถ่านหินส่งมาจากอังกฤษในยุคอาณานิคม ผ่านการผลิตพลังงาน และการบริโภคในประเทศ ในปี พ.ศ. 2493 เทียบเท่ากันกับในช่วงปี พ.ศ. 2503 การบริโภคน้อยลงเมื่อเทียบกับการผลิตในยุค 70 แต่หลังจากช่วงต้นปี พ.ศ. 2520 เริ่มมีการใช้งานด้านพลังงานกว้างมากขึ้น และกว้างขึ้นทุกปี ในปี พ.ศ. 2547 ช่องว่างระหว่างการผลิต และการบริโภคภายในประเทศมีความสำคัญมาก ดูที่รูป
รูปกราฟแสดงการใช้พลังงานของอเมริกา
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
รูปกราฟแนวโน้มการบริโภคพลังงานในประเทศไทย
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 การนำเข้าพลังงานในสหรัฐถูกนำมาใช้เพื่อพยายามปิดช่องว่างระหว่างการผลิต และการบริโภคพลังงาน อย่างไรก็ตามอเมริกายังคงพึ่งพาพลังงานจากประเทศอื่น (ไม่ค่อยได้ใช้พลังงานของประเทศตัวเอง ของตัวเองเก็บเอาไว้) จนทำให้เกิดปัญหาสำคัญ
1.1.2.1 วิกฤติน้ำมันในช่วงปี พ.ศ. 2516
สหรัฐอเมริกาได้สนับสนุนอิสราเอล ในการทำสงครามสงครามยมคิปปูร์ (สงครามเราะมะฎอนหรือสงครามตุลาคม) (Yom Kippur War (Ramadan War)) (อ่านรายละเอียดได้ที่ วิกิพีเดีย)
รูปการยิงปืนใหญ่ในสงครามยมคิปปูร์
ซึ่งเป็นสงครามที่ต่อสู้กันระหว่างประเทศอิสราเอล และประเทศอาหรับรอบข้าง ประเทศอาหรับหลายประเทศได้ตอบโต้โดยการตัดการส่งออกน้ำมันไปสู่ประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำมัน น้ำมันดิบราคาขึ้นถึงสามเท่าตัว ส่งผลทำให้ทั่วโลกต้องเผชิญกับการปรับขึ้นราคาของสินค้าอย่างกะทันหัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำมันเบนซิน (แก๊สโซลีน), น้ำมันเตา ฯลฯ ที่ได้จากปิโตรเลียม เกิดแพงขึ้นมาก และขาดแคลน
ทำให้เกิดปัญหาด้านพลังงานจนกลายเป็นวิกฤติพลังงานอย่างรวดเร็ว จนนำไปสู่การดับไฟเป็นครั้งคราวทั้งในเมือง และภาคอุตสาหกรรม มีการปิดโรงงาน และโรงเรียนชั่วคราว ยิ่งสถานีบริการน้ำมันยิ่งไม่ต้องพูดถึงได้มีการปิดตัวลงเป็นส่วนมาก
มีการเพิ่มราคาพลังงานขึ้นอย่างฉับพลันในช่วงปี พ.ศ. 2513 และถือได้ว่ามันเป็นสาเหตุหลักของภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปี พ.ศ. 2517 และ พ.ศ. 2518
ราคาน้ำมันได้ปรับตัวขึ้นสูงมากในช่วงปลาย พ.ศ. 2522 นอกจากนี้ ยังเกิดการปฏิวัติในประเทศอิหร่าน (Revolution in Iran)
รูปการประท้วงของผู้คนในประเทศอิหร่าน
ยิ่งส่งผลทำให้การผลิตน้ำมันของอิหร่านลดลงอย่างมากในช่วงปี พ.ศ. 2521 – 2524 แล้วในช่วงเวลาคาบเกี่ยวกัน ก็ได้เริ่มเกิดสงครามระหว่างอิรัก และอิหร่าน จนนำไปสู่สงครามอ่าวเปอร์เซีย (Persian gulf war)
รูปปฏิบัติการพายุทะเลทราย
รูปรถถังในสงครามอ่าวเปอร์เซีย
ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ สงครามอิรักอิหร่าน และสงครามอ่าวที่เริ่มขึ้น ส่งผลกระทบทำให้ลดการส่งออกน้ำมันลงไปโดยปริยาย บริษัทน้ำมัน และรัฐบาลเริ่มเก็บกักน้ำมัน เป็นผลทำให้ราคาน้ำมันยิ่งเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และถึงจุดสูงสุดในปี พ.ศ. 2524 ดูที่รูป
รูปกราฟเหตุการณ์วิกฤติปิโตรเลียม และต้นทุนการกลั่นที่สำคัญ
วิดีโออธิบายการเกิดขึ้นของสงครามอ่าวเปอร์เซีย
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“ไม่มีอะไร แย่เท่ากับ ความเย่อหยิ่งอวดดี
ผู้ที่คิดว่าตัวเองไม่ดีพอ คือคนที่ดีพอ
ผู้ที่คิดว่าตัวเองดีแล้ว คือผู้ที่ดีไม่พอ”
ฟังเสี้ยวหยู
<หน้าที่แล้ว สารบัญ หน้าต่อไป>