3 การใช้งานกฎของโอห์ม
รูป 12 รูปวงจรอนุกรม กระแสไฟฟ้าไหลค่าเดียวกันทั้งวงจร
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
สนใจหนังสือ และความรู้ของผู้เขียน
เรื่องอื่น ๆ มีทั้งโหลดได้ฟรี และราคาถูก นอกเหนือจากนี้
คลิก
มีหนังสือ ไฟฟ้า และ อิเล็กทรอนิกส์
Electrical & Electronics 1
ทำเป็นเล่ม อีบุ๊ค เพื่อสนับสนุนเว็บไซต์
รูปหน้าปกหนังสือ
สามารถโหลดอ่านตัวอย่างก่อนซื้อได้เลยครับ ฟรี
หากผู้อ่านสนใจ
คลิก
รูปการใช้งานกฎของโอห์ม
ที่มา : https://www.electronics-notes.com
ในวงจรอนุกรม ดูที่รูปที่ 12 ด้านบน กระแสเดียวกันไหลทั่วทั้งวงจร
IT = IR1 = I R2 = I R3... = I Rn
แรงดันไฟฟ้าโดยรวมในวงจรอนุกรมเท่ากับแรงดันตกคร่อมในแต่ละตัวต้านทาน (โหลด) ในวงจร
ET = ER1 + E R2 + E R3... + E Rn
ความต้านทานโดยรวมในวงจรอนุกรมเท่ากับผลรวมของตัวต้านทานแต่ละตัวในวงจร
RT = R1 + R2 + R3... + R n
รูปที่ 13 ในวงจรขนาน กระแสไฟฟ้าแบ่งไปแต่ละสายของวงจร และรวมกันอีกครั้งที่แหล่งกำเนิดแรงดันไฟฟ้า
ในวงจรขนาน ดูที่รูป 13 แรงดันไฟฟ้าเดียวกันกระทำแต่ละสายของวงจร
ET = ER1 = E R2 = E R3... = E Rn
กระแสไฟฟ้าโดยรวมในวงจรขนานจะเท่ากันในผลรวมของแต่ละสายในวงจร
IT = IR1 + I R2 + I R3... + I Rn
ส่วนกลับ (reciprocal : ผกผัน) ของความต้านทานโดยรวมจะเท่ากันที่ผลรวมส่วนกลับของแต่ละสายวงจรความต้านทาน
รูปสมการ
ความต้านทานรวมในวงจรขนานจะเล็กกว่าความต้านทานของสายที่เล็กที่สุดเสมอ
กฎของโอห์มระบุว่ากระแสไฟฟ้าในวงจร (อนุกรม, ขนาน, วงจรผสม) เป็นสัดส่วนโดยตรงต่อแรงดันไฟฟ้า และเป็นสัดส่วนผกผันต่อความต้านทาน
I = E/R
ในการคำนวณกำหนดปริมาณที่ไม่รู้จักในวงจร ให้ทำตามขั้นตอนเหล่านี้
1. เขียนผังวงจร และติดชื่อที่รู้ทั้งหมด
2. แก้ปัญหาวงจรที่เท่ากัน และวาดวงจรใหม่
3. แก้ปัญหาปริมาณที่ไม่รู้จัก
ข้อสังเกต: กฎของโอห์มเป็นจริง สำหรับจุดใด ๆ ในวงจร และสามารถนำมาใช้ในเวลาใดก็ได้ กระแสไฟฟ้าเหมือนกันผ่านวงจรอนุกรม และแรงดันไฟฟ้าที่เหมือนกันปรากฏที่แต่ละสายย่อยวงจรขนาน
ตัวอย่าง จงหากระแสไฟฟ้ารวมที่ไหลอยู่ในวงจรที่แสดงในรูป 14
รูปที่ 14
วิธีทำ
กำหนดให้ IT = ?; ET = 12 V; RT = ? W; R1 = 560 W;R2 = 680 W; R3 = 1 kW = 1,000 W
แทนค่าในสมการ
ในขั้นแรกนี้ ให้หาค่าความต้านทานของวงจรก่อน
RT = R1 + R2 + R3
= 560 + 680 + 1000
= 2240 W
วาดวงจรที่เท่ากัน ดูที่รูป 15
รูปที่ 15
แล้วแก้ปัญหาสำหรับการไหลของกระแสไฟฟ้าโดยรวม
IT = ET/RT
IT = 12/2240
= 0.0054 A
= 5.4 mA
รูปวิธีทำ
ตัวอย่าง แรงดันตกคร่อมเท่าไหร่ที่ตัวความต้านทาน R2 ในวงจรในรูป 16
รูปที่ 5.16
วิธีทำ
กำหนดให้ IT = ?; ET = 48 V; RT = ? W; R1 = 1.2 kW = 1,200 W ;R2 = 3.9 kW = 3,900 W ; R3 = 5.6 kW = 5,600 W
แทนค่าในสมการ
ในขั้นแรกนี้ ให้หาค่าความต้านทานของวงจรก่อน
RT = R1 + R2 + R3
= 1200 + 3900 + 5600
= 10700 W
วาดรูปวงจรใหม่ ดูที่รูป 17 แก้ปัญหากระแสไฟฟ้าโดยรวมในวงจร
รูปที่ 17
IT = ET/RT
IT = 48/10700
= 0.0045 A
= 4.5 mA
จำไว้ว่า ในวงจรอนุกรม กระแสไฟฟ้าจะไหลค่าเดียวกันตลอดวงจร เพราะฉะนั้น
I R2 = IT
I R2 = ER2/R2
0.0045 = ER2/3900
ER2 = 17.55 V
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“วันที่สำคัญที่สุดในชีวิตของคุณ
มีอยู่สองวัน คือ
วันแรกที่คุณเกิด
และวันที่คุณพบว่าคุณเกิดมาทำไม
The two most important days in your life are the day you are born
and the day you find out why.”
มาร์ก ทเวน (Mark Twain)
นักเขียนที่มีชื่อเสียงชาวอเมริกัน
<หน้าที่แล้ว สารบัญ หน้าต่อไป>