2 กฎของโอห์ม
กฎของโอห์ม (Ohm’s law) หรือความสัมพันธ์ระหว่างกระแส, แรงดันไฟฟ้า และความต้านทาน ถูกพบครั้งแรกโดย จอร์จ โอห์ม (George Ohm) ในปี พ.ศ. 2370 กฎของโอห์มระบุว่ากระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าเป็นสัดส่วนโดยตรงต่อแรงดันไฟฟ้า และแปรผกผันกับความต้านทานในวงจร สิ่งนี้อาจแสดงเป็น
กระแสไฟฟ้า = แรงดันไฟฟ้า / ความต้านทาน
หรือ
I = E/R
กำหนดให้ I = กระแสไฟฟ้า (A)
E = แรงดันไฟฟ้า (V)
R = ความต้านทาน (W)
เมื่อใดก็ตามที่รู้สองค่า สามารถหาค่าตัวที่สามได้เสมอ
ตัวอย่าง จะมีกระแสไหลในวงจรมากแค่ไหนในวงจรในรูป 9
รูปที่ 9
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
สนใจหนังสือ และความรู้ของผู้เขียน
เรื่องอื่น ๆ มีทั้งโหลดได้ฟรี และราคาถูก นอกเหนือจากนี้
คลิก
มีหนังสือ ไฟฟ้า และ อิเล็กทรอนิกส์ Electrical & Electronics 1
ทำเป็นเล่ม อีบุ๊ค เพื่อสนับสนุนเว็บไซต์
หากผู้อ่านสนใจ
คลิก
วิธีทำ โจทย์กำหนดให้ IT = ?, ET = 12 V, RT = 1000 W
จากสมการ
I = E/R
I = 12v/1000 W
= 0.012 A หรือ 12 มิลลิแอมป์
ตัวอย่าง ในวงจรดังแสดงในรูป 10 จะมีแรงดันไฟฟ้าแค่ไหนที่สามารถสร้างกระแสไฟฟ้าได้ 20 มิลลิแอมป์ที่ไหล
รูปที่ 10
วิธีทำ โจทย์กำหนดให้ I = 20 mA = 0.02 A, E = ? , R = 1.2 kW
จากสมการ
I = E/R
0.02 A = E / 1200W
E = 24 V
ตัวอย่าง หาค่าความต้านทานที่จำเป็นสำหรับวงจรดังแสดงในรูป 5.11 ที่ใช้กระแสไฟฟ้า 2 แอมแปร์
รูปที่ 11
วิธีทำ โจทย์กำหนดให้ I = 2 A , E = 120 V, R = ?
I = E/R
2A = 120V/R
R = 60W
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“คุณจะไม่มีทาง
ไปถึงยังจุดหมายได้เลย
หากคุณเอาแต่หยุด
แล้วปาก้อนหินใส่สุนัขทุกตัว
ที่คอยเห่าคุณ”
วินสตัน เชอร์ชิล
<หน้าที่แล้ว สารบัญ หน้าต่อไป>
|