บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,960
เมื่อวาน 1,871
สัปดาห์นี้ 8,065
สัปดาห์ก่อน 15,976
เดือนนี้ 70,991
เดือนก่อน 47,501
ทั้งหมด 4,338,878
  Your IP :34.230.77.67

ตัวอย่าง: ให้คำนวณหาความต้านทานรวมในวงจรในรูปตัวอย่างด้านล่าง

 

รูปตัวอย่าง

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

หากสนใจหนังสือ อื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ 

คลิก

 

หากสนใจหนังสือ แมคาทรอนิกส์   

คลิก

 

ก่อนอื่นให้ค้นหาความต้านทานเทียบเท่า (RA) สำหรับตัวต้านทานขนาน R2 และ R3 แล้วหาความต้านทานเท่าเทียม (RB) สำหรับตัวต้านทาน R5, R6 และ R7

กำหนดให้ RA = ?; R2 = 47 W; R3 = 62 W

วิธีทำ

รูปวิธีทำ

 

กำหนดให้ RB = ?; R5 = 100 W; R6 = 100 W; R7 = 100 W

แทนค่าในสมการ

รูปวิธีทำ

 

ตอนนี้ เรามาวาดวงจรใหม่ โดยใช้ความต้านทานเทียบเท่า RA และ RB และตรวจสอบความต้านทานอนุกรมทั้งหมดในวงจรใหม่ ดูที่รูป 4.27

 

รูปการยุบรวมวงจร

 

กำหนดให้ RT = ?; R1 = 10W; RA = 26.7 W; R4 = 68 W; RB = 33.3 W

แทนค่าในสมการ

RT = R1 + RA + R4+ RB

= 10 + 26.7 + 68 + 33.3

                  = 138 W                   ตอบ

วงจรที่แสดงในรูปที่ 4.26 สามารถเปลี่ยนได้ด้วยตัวต้านทานเดียว 138 โอห์ม ดูที่รูป 4.28

 

รูปการยุบรวมวงจร

 

 

 

ตัวอย่าง: หาความต้านทานรวมสำหรับวงจรในรูปที่ 4.29

 

รูปตัวอย่าง

 

ความต้านทานเท่ากันของอนุกรมในส่วนของวงจรขนานวงจรนี้ต้องถูกคำนวณก่อน กำหนดให้เป็น RS

กำหนดให้ RS = ?; R2 = 180W; R3 = 200 W; R4 = 620 W

วิธีทำ

 

แทนค่าในสมการ

RS = R2 + R3 + R4

= 180 + 200 + 620

= 1000 W

เขียนวงจรใหม่ แทนค่าการยุบรวมเป็นตัวต้านทาน RS สำหรับตัวต้านทานที่ต่อแบบอนุกรม R2, R3 และR4 ดูที่รูป 4.30

 

รูปการทยอยยุบรวมวงจร

 

 คำนวณความต้านทานแบบขนานที่เท่าเทียมกัน RA สำหรับ RS และR5

กำหนดให้ RA = ?; RS = 1000 W; R5 = 1000 W

แทนค่าในสมการ

 

รูปวิธีทำ

 

วาดวงจรใหม่ขึ้นอีกครั้ง แทนการเทียบเท่าความต้านทาน RA สำหรับความต้านทานแบบขนาน RS และ R5 จากนั้นหาค่าความต้านทานอนุกรมทั้งหมดดูได้ที่รูปวาดใหม่ 4.31

 

รูปยุบรวมวงจร

 

กำหนดให้ RT = ?; R1 = 2700W; RA = 500 W; R6 = 5600 W

แทนค่าในสมการ

RT = R1 + RA + R6

= 2700 + 500 + 5600

                  = 8800 W                       ตอบ

วงจรในรูปที่ 4.29 สามารถแทนที่ด้วย ตัวต้านทานตัวเดียวที่มีค่า 8800 โอห์ม ดูที่รูป 4.32

 

รูปยุบรวมวงจร

 

 

บทสรุป

  • ตัวต้านทาน มีทั้งแบบค่าคงที่ และปรับค่าได้
  • ค่าความคลาดเคลื่อนของตัวต้านทาน คือจำนวนความต้านทานอาจแตกต่างกัน และยังคงเป็นที่ยอมรับได้
  • ตัวต้านทานมีส่วนประกอบของคาร์บอน, ลวดขด หรือแผ่นฟิล์ม
  • ตัวต้านทานที่ทำมาจากคาร์บอนส่วนใหญ่แล้วเป็นตัวต้านทานที่ใช้กันทั่วไป
  • ตัวต้านทานแบบขดลวดใช้ในงานวงจรกระแสไฟฟ้าที่สูง วงจรที่ต้องการกระจายความร้อนจำนวนมาก
  • ตัวต้านทานแบบฟิล์มมีขนาดเล็ก และมีความแม่นยำเที่ยงตรงสูง
  • ตัวต้านทานเปลี่ยนค่าได้ใช้ในการควบคุมแรงดันไฟฟ้า เรียกกว่า โพเทนชิโอมิเตอร์
  • ตัวต้านทานปรับค่าใช้ที่ใช้ควบคุมกระแสเรียกว่า รีโอสตัด
  • ค่าตัวต้านทานอาจถูกระบุด้วยแถบสี:

      - แถบแรกแสดงตัวเลขแรก

      - แถบที่สองแสดงตัวเลขที่สอง

      - แถบที่สามแสดงจำนวนของเลขศูนย์ที่เพิ่มเข้าไปในตัวเลขสองตัวแรก

      - แถบที่สี่แสดงถึงค่าความคลาดเคลื่อน

      - แถบที่ห้า อาจเพิ่มเข้าไปเพื่อแสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือ

  • ค่าความต้านทานน้อยกว่า 100 โอห์ม คือแสดงโดยแถบสีดำที่แถบที่สาม
  • ตัวต้านทานในวงจรสามารถวางได้สามรูปแบบ ได้แก่ วางแบบอนุกรม, ขนาน และผสม
  • ค่าตัวต้านทานที่น้อยกว่า 10 โอห์ม จะถูกแสดงโดยแถบสีทองแถบที่สาม
  • ค่าตัวต้านทานที่น้อยกว่า 1 โอห์ม จะถูกแสดงโดยแถบสีเงินแถบที่สาม
  • ค่าตัวต้านทานสำหรับ ตัวต้านทานคลาดเคลื่อน 1 % จะแสดงด้วยแถบที่สี่ซึ่งเป็นตัวคูณ
  • ค่าตัวต้านทานอาจระบุได้ด้วยตัวเลข และตัวอักษร
  • สูตรสามารถหาค่าความต้านทานรวมในวงจรอนุกรมได้ดังนี้

RT = R1 + R2 + R3 ... + Rn

  •   สูตรสามารถหาค่าความต้านทานรวมในวงจรขนานได้ดังนี้

รูปสมการวงจรขนาน

 

  • ความต้านทานรวมในวงจรอนุกรม / ขนาน จะใช้สูตรทั้งอนุกรม และขนาน

 

รูปวงจรไฟฟ้าอนุกรม ขนาน และผสม

ที่มา :  http://www.webassign.net

 

จบบทที่ 4

 

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“ถ้าเจอคนที่ดีกับเรา

จงรักษาไว้ให้นาน

เพราะในชีวิตนี้

มีอยู่ไม่กี่คนหรอก

ที่จะดีกับเรา”

เพจ สิ่งเล็ก ๆ ที่เรียกว่ารัก

 

<หน้าที่แล้ว                                 สารบัญ                    หน้าต่อไป>

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา