บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 787
เมื่อวาน 1,918
สัปดาห์นี้ 2,705
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 30,940
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,375,437
  Your IP :18.221.187.121

4.3 ตัวต้านทาน

 

      ความต้านทาน (Resistance) เป็นคุณสมบัติหนึ่งขององค์ประกอบของไฟฟ้าทั้งหมดที่ต้องมี บางครั้งผลของความต้านทานอาจเป็นสิ่งที่ไม่ต้องการ แต่บางครั้งก็เป็นสิ่งที่ต้องการ

 

ตัวต้านทาน (Resistors) เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างขึ้นมา ให้มีค่าที่เฉพาะของความต้านทานจากการไหลของกระแสไฟฟ้า

 

      ตัวต้านทานเป็นสิ่งที่ใช้มากที่สุดในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ตัวต้านทานมีทั้งแบบ ตัวต้านทานค่าคงที่ (Fixed resistor) หรือตัวต้านทานแบบเปลี่ยนค่าได้ (Variable resistor)ได้ พวกมันมีรูปแบบต่าง ๆ มากมายหลายรูปทรง และขนาดเพื่อสนองตอบต่อวงจรที่เฉพาะเจาะจงของวงจร, พื้นที่ และความต้องการในการดำเนินงาน ดูที่รูปด้านล่าง

 

 

 

รูปตัวต้านทานคงที่ที่มีหลากหลายขนาด และรูปร่าง

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

 

รูปตัวต้านทานเปลี่ยนค่าได้ ก็มีหลากหลาย ที่มีความจำเป็นใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

 

ตัวต้านทานในวงจรมีการวาดสัญลักษณ์ แบบเป็นเส้นหยักดังแสดงในรูปด้านล่าง

 

 

 

รูปสัญลักษณ์ของตัวต้านทานคงที่

 

      ความคลาดเคลื่อน (Tolerance) ของตัวต้านทาน เป็นจำนวนค่าความเผื่อที่ตัวต้านทานอาจมีแตกต่างกันไป แต่ยังคงเป็นที่ยอมรับในการใช้งาน ในผู้ผลิตจะมีค่าไว้สอบเทียบเสมอ เมื่อมันมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ค่าที่แน่นอนในการอ้างอิงเทียบค่า

 

      ค่าความคลาดเคลื่อนยิ่งมีค่ามาก ผู้ผลิตที่ผลิตจะใช้ต้นทุนผลิตที่ไม่สูง ราคาไม่แพง ส่วนค่าความคลาดเคลื่อนที่ตัวต้านทานที่เราพบจะมีค่าอยู่ที่ ±20%, ±5%, ±2% และ ±1% ในค่าความแม่นยำของตัวต้านทานที่มีค่าความคลาดเคลื่อนน้อยลง ส่วนใหญ่มักจะใช้อยู่ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ค่าที่นิยมที่ใช้ในตัวต้านทานจะมีค่าความคลาดเคลื่อน 10% แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว

 

ตัวอย่าง จะมีช่วงค่ามากแค่ไหนหากว่า ตัวต้านทานมีค่า 1000 W แล้วมีค่าความคลาดเคลื่อนผันแปร 20% ที่ยอมรับได้

 

วิธีทำ

1000 × 0.2 = ±200 W

 

1000 – 200 = 800 W ค่าน้อยสุด

 

1000 + 200  = 1200 W ค่ามากสุด

 

ค่าความคลาดเคลื่อน ±200 W  ดังนั้น ตัวต้านทาน 10 อาจเปลี่ยนแปลงไปได้ตั้งแต่ 800 – 1200 W  และยังสามารถทำงานได้แบบเป็นที่ยอมรับ                              ตอบ  

 

เพื่อความคงที่สม่ำเสมอ ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มักจะใช้ตัวต้านทานที่มีค่ามาตรฐาน ดูที่ตารางที่ 4.2

 

ค่าความคาดเคลื่อน

±1% ±5%

ค่าความคาดเคลื่อน

±10%

ค่าความคาดเคลื่อน

±20%

1.0

1.0

1.0

1.1

 

 

1.2

1.2

 

1.3

 

 

1.5

1.5

1.5

1.6

 

 

1.8

1.8

 

2.0

 

 

2.2

2.2

2.2

2.4

 

 

2.7

2.7

 

3.0

 

 

3.3

3.3

3.3

3.6

 

 

3.9

3.9

 

4.3

 

 

4.7

4.7

4.7

5.1

 

 

5.6

5.6

 

6.2

 

 

6.8

6.8

6.8

7.5

 

 

8.2

8.2

 

9.1

 

 

ตารางที่ 4.2 ค่าความต้านทานมาตรฐาน (ไม่รวมแถบที่คูณ)

 

เป็นรายการค่ามาตรฐานสำหรับตัวต้านทาน ที่มีค่าความคลาดเคลื่อน ±5%, ±10% และ ±20% หลังจากได้ค่าในตารางแล้ว โดยค่าที่เกี่ยวข้องกับแถบสีของการคูณ

 

      ตัวต้านทานส่วนใหญ่จะใช้อยู่สามประเภทหลัก ได้แก่ ตัวต้านทานแบบคาร์บอน, ตัวต้านทานแบบลวด, ตัวต้านทานแบบฟิล์ม

 

      จนปัจจุบัน ตัวต้านทานชนิดโมลด์คาร์บอนผสม (Molded carbon composition) มีการใช้งานเป็นส่วนใหญ่ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ รูปด้านล่างมันเป็นการผลิตที่มีค่าความต้านทานเป็นมาตรฐาน

 

 

รูปตัวต้านทานคาร์บอนผสมที่มีการใช้งานเป็นส่วนใหญ่ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์

 

 

รูปภายในตัวต้านทานชนิดโมลคาร์บอนผสม

 

      ตัวต้านทานแบบขดลวด (Wirewound resistor) เป็นโครงสร้างของนิกเกิล-โครเมียมผสม (นิโครม (Nichrome)) ทำเป็นขดลวดในรูปแบบเซรามิค ดูที่รูปด้านล่าง

 

 

รูปตัวต้านทานแบบขดลวดที่สามารถใช้งานได้เหมือนกันแต่รูปแบบแตกต่างกัน

 

นำไปแนบพัน และไปทำการผนึกด้วยการเคลือบ ตัวต้านทานขดลวดถูกนำไปใช้ในวงจรที่มีกระแสสูงที่ซึ่งต้องการความแม่นยำมาก มีช่วงความต้านทานตั้งแต่หนึ่งโอห์มไปจนถึงเป็นหลาย ๆ พันโอห์ม

 

 

รูปตัวต้านทานฟิล์มตัวต้านทานฟิล์มมีขนาดของตัวต้านทานคาร์บอนพร้อมกับความแม่นยำของตัวต้านทานไวล์วูด (Wirewound resistor)

      ตัวต้านทานแบบฟิล์ม (Film resistors) มันกลายเป็นที่นิยม ดูรูปด้านบน ที่นิยมใช้เพราะว่าพวกมันมีตัวถังขนาดเล็กแล้วยังมีค่าความต้านทานที่แม่นยำของค่าตัวต้านทานลวด (Wound resistor)

 

      แผ่นฟิล์มคาร์บอน หรือโลหะผสมถูกวางลงบนแกนเซรามิคทรงกระบอก และผนึกด้วยอีพ็อกซี่ หรือปิดด้วยแก้ว ค่าของตัวต้านทานบอกได้จากการตัดร่องผ่านฟิล์ม ตามความยาวของตัวต้านทาน ใกล้ขอบพิตซ์ของเกลียว

 

      ตัวต้านทานฟิล์มคาร์บอนให้ค่าความต้านทานตั้งแต่ 10 โอห์ม ไปจนถึง 2.5 เมกะโอห์ม มีค่าความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ ±1% ส่วนตัวต้านทานแบบฟิล์มโลหะในทางกายภาพคล้ายกันกับตัวต้านทานแบบฟิล์มคาร์บอน แต่มีราคาไม่แพง พวกมันสามารถให้ความต้านทานตั้งแต่ 10 โอห์ม ไปจนถึง 1.5 เมกะโอห์ม ที่ความคลาดเคลื่อน ±1แม้ว่าค่าความคลาดเคลื่อนจะลดลงเหลือ ±0.1%

 

      ตัวต้านทานชนิดฟิล์มอีกตัวหนึ่งก็คือ ตัวต้านทานชนิด ดีบุกออกไซด์ (Tin oxide resistor) ดูที่รูปด้านล่าง ซึ่งประกอบไปด้วยแผ่นฟิล์มของดีบุกออกไซด์บนพื้นผิวเซรามิค

 

 

 

 

รูปตัวต้านทานชนิดดีบุกออกไซด์

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“การโกหกที่เลวร้ายที่สุดในชีวิต

คือ การโกหกตัวเอง

The worst lies in life are the ones we tell ourselves

Brad Meltzer

 

 

<หน้าที่แล้ว                                 สารบัญ                    หน้าต่อไป>

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา