5 กฎแรงดันไฟฟ้าของเคอร์ชอฟ
กฎข้อที่สองของเคอร์ชอฟก็คือ กฎแรงดันไฟฟ้าของเคอร์ชอฟ (Kirchhoff’s voltage law) และมันระบุถึง
· ผลรวมเชิงพีชคณิตของแรงดันไฟฟ้าทั้งหมดที่อยู่รอบ ๆ วงจรปิดเท่ากับศูนย์
อีกวิธีในการระบุแรงดันไฟฟ้าของกฎของเคอร์ชอฟ ก็คือ
· ผลรวมของแรงดันไฟฟ้าทั้งหมดลดลงในการปิด
· ผลรวมของแรงดันไฟฟ้าทั้งหมดลดลงในการปิดวงจร จะเท่ากับแหล่งกำเนิดแรงดันไฟฟ้า
รูปกฎแรงดันไฟฟ้าของเคอร์ชอฟ
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
สนใจหนังสือ และความรู้ของผู้เขียน
เรื่องอื่น ๆ มีทั้งโหลดได้ฟรี และราคาถูก นอกเหนือจากนี้
คลิก
มีหนังสือ ไฟฟ้า และ อิเล็กทรอนิกส์
Electrical & Electronics 1
ทำเป็นเล่ม อีบุ๊ค เพื่อสนับสนุนเว็บไซต์
รูปหน้าปกหนังสือ
สามารถโหลดอ่านตัวอย่างก่อนซื้อได้เลยครับ ฟรี
หากผู้อ่านสนใจ
คลิก
ในรูปด้านบน มีแรงดันไฟฟ้าตกคร่อมอยู่สามจุด และแหล่งกำเนิดแรงดันหนึ่งจุด (แรงดันไฟฟ้าที่สูงกว่าที่อื่น) ในวงจร หากแรงดันไฟฟ้ารวมรอบ ๆ วงจรดังแสดงในรูป พวกมันจะเท่ากับศูนย์
ET – E1 – E2– E3= 0
ขอให้สังเกตว่าแหล่งแรงดันไฟฟ้า (ET) มีเครื่องหมายตรงข้ามกับแรงดันไฟฟ้าตกคร่อม ดังนั้นผลรวมทางพีชคณิตเท่ากับศูนย์ เมื่อมองอีกวิธี ผลรวมของแรงดันตกคร่อมทั้งหมด จะเท่ากับแหล่งกำเนิดแรงดันไฟฟ้า
ET= E1 + E2 + E3
สูตรทั้งสองที่แสดงนั้น ระบุในสิ่งเดียวกัน และเป็นวิธีที่เท่าเทียมในการแสดงกฎของแรงดันไฟฟ้าเคอร์ชอฟ
สิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้ก็คือ ขั้วของแหล่งกำเนิดแรงดันไฟฟ้าในวงจรตรงกันข้ามกับแรงดันไฟฟ้าตกคร่อม
บทสรุป
· วงจรไฟฟ้า จะต้องประกอบไปด้วย แหล่งจ่ายไฟ, โหลดหรือภาระ และตัวนำ
· เส้นทางกระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า สามารถทำให้เป็นวงจรอนุกรม, ขนาน หรืออนุกรม- ขนาน หรือวงจรผสม
· วงจรอนุกรม มีเส้นทางเดียวที่กระแสไฟฟ้าไหลเท่านั้น
· ในวงจรขนาน เส้นทางเดินไฟจะมีหลายเส้นทางแยกกัน
· วงจรผสม จะเป็นการรวมกันของวงจรอนุกรม และวงจรขนาน
· กระแสฟ้า ไหลจากด้านลบของแหล่งกำเนิดแรงดันไฟฟ้าผ่านไปยังด้านบวกของแหล่งกำเนิดแรงดันไฟฟ้า
· การไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า สามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยการเปลี่ยนแปลงแรงดันไฟฟ้า หรือความต้านทาน
· ความสัมพันธ์ของกระแสไฟฟ้า, แรงดันไฟฟ้า และความต้านทน เป็นไปตามกฎของโอห์ม
· กฎของโอห์มระบุว่า กระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าเป็นสัดส่วนโดยตรงกับแรงดันไฟฟ้าที่ใช้ และเป็นสัดส่วนผกผันกับความต้านทานในวงจร ตามสูตรด้านล่าง
I = E/R
· กฎของโอห์ม สามารถประยุกต์ใช้ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นวงจรอนุกรม, ขนาน และผสม
· เพื่อตรวจสอบปริมาณที่ไม่ทราบในวงจร ทำตามขั้นตอนดังนี้
Ø ให้วาดวงจรไฟฟ้า และเขียนค่าเพื่อแสดงปริมาณทั้งหมด
Ø แก้ปัญหาสำหรับวงจรเทียบเท่า และวาดวงจรใหม่
Ø แก้ปัญหาปริมาณที่ไม่ทราบทั้งหมด
· กฎการไหลของกระแสไฟฟ้าเคอร์ชอฟ: เป็นผลรวมเชิงพิชคณิตของกระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้า และไหลออกจากทางแยกเท่ากับศูนย์ มันอาจได้รับการปรับปรุงใหม่ในขณะที่กระแสรวมที่ไหลเข้ามาในทางแยกเท่ากับ ผลรวมของกระแสที่ไหลออกมาจากทางแยกนั้น
· กฎแรงดันไฟฟ้าของเคอร์ชอฟ: คือผลรวมทางพีชคณิตของแรงดันไฟฟ้าทั้งหมดที่อยู่ในวงจรปิดเท่ากับศูนย์ มันอาจได้รับการปรับปรุงใหม่ เนื่องจากผลรวมของแรงดันไฟฟ้าทั้งหมดที่ลดลงในวงจรปิด จะเท่ากับแหล่งกำเนิดแรงดันไฟฟ้า
จบบทที่ 5
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“การทำร้ายใครสักคน นั้นง่ายเหมือนกับโยนก้อนหินลงไปในทะเล
แต่คุณไม่มีทางรู้เลยว่า หินก้อนนั้นจะจมลงไปได้ลึกขนาดไหน
Hurting someone can be as easy as throwing a stone in the sea.
But do you have any idea how deep that stone can go?”
<หน้าที่แล้ว สารบัญ หน้าต่อไป>