4 กฎกระแสไฟฟ้าของเคอร์ชอฟ
ในปี พ.ศ. 2390 จี.อาร์.เคอร์ชอฟ (G.R.Kirchhoff) ได้ขยายความหมายกฎของโอห์ม โดยมีความสำคัญสองข้อความที่ถูกเรียกว่า กฎของเคอร์ชอฟ (Kirchhoff’s laws)
กฎข้อแรก ก็คือ กฎกระแสไฟฟ้าของเคอร์ชอฟ (Kirchhoff’s crrent law) เป็นผลรวมทางพีชคณิตของกระแสไฟฟ้าที่เข้า และออกจากจุดแยกมีค่าเท่ากับศูนย์
ในทางหนึ่งของกฎกระแสไฟฟ้าของเคอร์ชอฟ นั่นก็คือ การแสไฟฟ้ารวมไหลผ่านไปยังจุดแยกเท่ากับผลรวมของกระแสไฟฟ้าไหลออกจากจุดแยก
จุดต่อแยกนั้นถูกกำหนดให้เป็นจุดใด ๆ ของวงจรที่มีเส้นทางกระแสไฟฟ้าสองเส้นทางขึ้นไป ในวงจรขนานจุดเชื่อมต่อ คือตำแหน่งที่ขนานกัน
รูปวงจรที่อธิบายกฏของเคอร์ชอฟ
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
สนใจหนังสือ และความรู้ของผู้เขียน
เรื่องอื่น ๆ มีทั้งโหลดได้ฟรี และราคาถูก นอกเหนือจากนี้
คลิก
มีหนังสือ ไฟฟ้า และ อิเล็กทรอนิกส์
Electrical & Electronics 1
ทำเป็นเล่ม อีบุ๊ค เพื่อสนับสนุนเว็บไซต์
รูปหน้าปกหนังสือ
สามารถโหลดอ่านตัวอย่างก่อนซื้อได้เลยครับ ฟรี
หากผู้อ่านสนใจ
คลิก
ในรูปด้านบน จุด A คือ จุดแยกหนึ่ง และจุด B คือ จุดแยกที่สอง มาดูกระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจร IT ผ่านจากแรงกำเนิดแรงดันไฟฟ้าไปยังจุดแยกที่จุด A และกระแสไฟฟ้าแยกออกไป ดังแสดงในรูป
แต่ละกิ่งก้าน กระแสไฟฟ้า (I1, I2 และ I3) ไหลออกมาจากจุด A ตามกฎกระแสไฟฟ้าของเคอร์ชอฟ ซึ่งสถานะกระแสไฟฟ้ารวมไปยังจุดแยกเท่ากับกระแสไฟฟ้ารวมออกจากการแยก กระแสไฟฟ้าสามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้
IT= I1 + I2 + I3
การติดตามกระแสไฟฟ้าแต่ละสาขาแยกสามสาขาพบว่าพวกมันกลับมารวมกันที่จุด B กระแสไฟฟ้า I1, I2 และ I3 ไหลไปยังตัวแยก B และ LT ไหลออก กฎกระแสไฟฟ้าของเคอร์ชอฟสูตรที่จุดแยกคือ เป็นเหมือนกับจุด A
I1 + I2 + I3= IT
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“อย่าปล่อยให้ความผิดพลาด
มาขวางกั้นเส้นทางสำเร็จของคุณ”
เบ็บ รูธ
<หน้าที่แล้ว สารบัญ หน้าต่อไป>
|