บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 818
เมื่อวาน 984
สัปดาห์นี้ 11,847
สัปดาห์ก่อน 29,853
เดือนนี้ 59,004
เดือนก่อน 65,987
ทั้งหมด 4,874,256
  Your IP :3.149.235.171

6. เครื่องยนต์เทอร์โบแฟน

 

รูปเครื่องบินโบอิ้ง-747 ที่ใช้เครื่องยนต์เทอร์โบแฟน

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

รูปเครื่องยนต์ทางทหาร ซี-17 ที่ใช้เครื่องยนต์เทอร์โบแฟน

 

รูปเครื่องยนต์เทอร์โบแฟน

 

รูปภาคตัดขวางเครื่องยนต์เทอร์โบแฟน

 

      เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนมีส่วนประกอบหลัก ๆ ดังนี้ ช่องอากาศเข้า, ใบพัดลม, เครื่องยนต์เทอร์โบเจ็ท, และหัวฉีด แผนผังแสดงเครื่องยนต์เทอร์โบแฟนแสดงในรูป

 

แผนผังแสดงส่วนบายพาสอัตราส่วนสูงของเครื่องยนต์เทอร์โบแฟน

 

จากรูป   

      Inlet = ทางเข้าอากาศ

        Fan = ใบพัด

        Bypass nozzle = หัวฉีดบายพาส

        Low- pressure compressor = เครื่องอัดความดันต่ำ

        High- pressure compressor = เครื่องอัดความดันสูง

        Combustor = ห้องเผาไหม้

        HPT = เทอร์ไบน์ความดันสูง

        LPT = เทอร์ไบน์ความดันต่ำ

        Nozzle = หัวฉีด

 

      ในเครื่องยนต์เทอร์โบแฟน จะมีเครื่องยนต์เทอร์โบเจ็ททำงาน จ่ายกำลังงานไปหมุนใบพัดเพื่อขับดันเครื่องบินเป็นหลัก ถ้าเทียบกันภายในกราฟขีดความสามารถของการบิน เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนมีความประหยัดมากกว่า, การระบายความร้อนที่ตัวเครื่องยนต์ทำได้ดีกว่า และให้ประสิทธิภาพสูงกว่า การเผาผลาญเชื้อเพลิงจำเพาะเพื่อใช้ในการขับดัน ((Thrust Specific Fuel Consumption: TSFC) หมายถึงมวลอัตราการไปเชื้อเพลิงต่อหน่วยการขับดัน) ที่มีค่าที่ต่ำกว่าเครื่องยนต์เทอร์โบเจ็ท เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนก็สามารถทำอัตราเร่งได้เช่นกัน แม้ว่าความเร็วของมวลอากาศจะต่ำกว่าของเครื่องยนต์เทอร์โบเจ็ท พื้นที่หน้าตัดของปากทางเข้าของเครื่องยนต์เทอร์โบแฟนมีขนาดค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับเครื่องยนต์เทอร์โบเจ็ท ด้วยเหตุผลนี้เองทำให้มีผลก่อให้เกิดแรงฉุด และต้องใช้แรงในการทะยานขึ้นบินที่มากกว่า

 

      ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของใบพัดลมก่อให้เกิดขีดจำกัดทางอากาศพลศาสตร์ (Aerodynamically) ที่เกิดจากการอัดตัวของอากาศที่มีแรงดันสูงผ่านช่องทางบายพาส (Bypass) มากกว่าการไหลผ่านภายในเครื่องยนต์ การไหลผ่านช่องบายพาสอาจมีมากกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ มีเพียง 25 เปอร์เซ็นต์ที่ไหลผ่านไปเป็นแก๊สร้อน แน่นอนการบินจะบินได้ช้ากว่าเครื่องยนต์เทอร์โบเจ็ท เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนนี้ มักจะนำไปใช้ในเครื่องบินที่มีความเร็วต่ำกว่าความเร็วเสียง (Subsonic aircraft) ที่แสดงในรูปด้านล่าง

 

 

เครื่องยนต์เทอร์โบแฟน แพรท และวิทธ์นี (Pratt & Whitney) รหัส JT9D2

 

เครื่องยนต์เทอร์โบแฟน แพรท และวิทธ์นี รหัสPW40001

 

เครื่องยนต์เทอร์โบแฟน แพรท และวิทธ์นี รหัสPW40002

 

เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนของเจเนรัลอิเล็กทริก (General Electric: GE) รหัส CF6

 

เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนของโรลซ์-รอยซ์ (Rolls-Royce) รหัส RB-211-524G/H

 

เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนของ สเน็คม่า (SNECMA) รหัส CFM56

 

วิดีโอการทำงานของเครื่องยนต์เจ็ทประเภทเทอร์โบแฟน

 

เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนที่มีอาฟเตอร์เบิร์นเนอร์

 

เครื่องยนต์เทอร์โบแฟน ที่ติดตั้งอาฟเตอร์เบิร์นเนอร์

 

จากรูป   

                Free stream = กระแสอากาศไหลเข้า

                Fan = ใบพัด

                High- pressure compressor = เครื่องอัดความดันสูง

                Combustor = ห้องเผาไหม้

                Turbine = เทอร์ไบน์

                Afterburner = อาฟเตอร์เบิร์นเนอร์

 

      เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนที่มีอาฟเตอร์เบิร์นเนอร์ แสดงในรูป ในเครื่องยนต์นี้ อากาศที่ไหลผ่านช่องบายพาสจะไปผสมกันกับแก๊สร้อนที่ไหลออกมาจากเทอร์ไบน์ แล้วก็พากันไหลไปในส่วนอุปกรณ์อาฟเตอร์เบิร์นเนอร์ด้านล่าง แสดงรูปเครื่องยนต์เทอร์โบแฟนของแพรท และวิทธ์นี รหัส F100 และเครื่องยนต์เทอร์โบแฟนของ GE รหัส F110 ตามลำดับ เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนที่ติดตั้งอาฟเตอร์เบิร์นเนอร์จะให้สมรรถนะที่สูง ซึ่งถูกใช้ในเครื่องบินรบ F15 อีเกิล เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนที่ติดตั้งอาฟเตอร์เบิร์นเนอร์สามารถทำความเร็วในการบินไปถึงความเร็วเหนือเสียง (Supersonic)

 

เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนมีอาฟเตอร์เบิร์นเนอร์ ของแพรท และวิทธ์นี รหัส F100-PW2291

 

ครื่องยนต์เทอร์โบแฟนมีอาฟเตอร์เบิร์นเนอร์ ของแพรท และวิทธ์นี รหัส F100-PW229 2

 

 

เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนมีอาฟเตอร์เบิร์นเนอร์ของ GE รหัส F110-GE-129

 

เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนมีอาฟเตอร์เบิร์นเนอร์ของ GE รหัส F110-GE-129

 

วิดีโอทดสอบเครื่องยนต์เทอร์โบแฟนที่ติดตั้งอาฟเตอร์เบิร์นเนอร์

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“ถ้าก้าวพลาดไปหนึ่งก้าวจะเป็นไร
เพราะยังมีก้าวใหม่ที่มั่นคง”

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา