บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 813
เมื่อวาน 984
สัปดาห์นี้ 11,842
สัปดาห์ก่อน 29,853
เดือนนี้ 58,999
เดือนก่อน 65,987
ทั้งหมด 4,874,251
  Your IP :3.138.126.124

8. เครื่องยนต์แรมเจ็ท

 

รูปตัวอย่างเครื่องบิน X-15 ที่ใช้เครื่องยนต์แรมเจ็ท

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      เครื่องยนต์แรมเจ็ท (Ramjet engine) เป็นเครื่องยนต์ที่ไม่ได้นำมาใช้งานปกติทั่วไป มีใช้งานน้อยมาก มักจะนำมาใช้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เช่น การทดลองในโครงการอวกาศของนาซ่า ให้เครื่องบินสามารถบินขึ้นไปแตะขอบชั้นบรรยากาศเพื่อทดลองสภาวะไร้น้ำหนัก หรือทดลองความทนทานของมนุษย์เมื่อถูกแรงจี (G force) หลาย ๆ เท่ากระทำกับร่างกายมนุษย์

 

      ภายในเครื่องยนต์จะไม่ค่อยมีชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่อยู่ภายใน แต่จะใช้หลักการบีบอัดอากาศให้เกิดความร้อนภายในเครื่องยนต์ หลักการทำงานคร่าว ๆ อากาศที่ผ่านการอัดตัวจนเกิดความดัน ไหลผ่านทางเข้า และไหลไปที่โซนห้องเผาไหม้ (Combustion zone) จะมีหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงรออยู่ เมื่ออากาศอัดไหลผ่านมาน้ำมันจะฉีดเพื่อเผาไหม้จะเกิดแก๊สร้อนความดันสูงผ่านกรวยหัวฉีด เกิดแรงขับดันขึ้น

 

      ในการพาขึ้นบินของเครื่องยนต์ชนิดนี้ก็ทำได้โดยนำเครื่องบินประกอบติดกับเครื่องบินชนิดอื่น และเร่งความเร็วของเครื่องบินบรรทุกให้มีความเร็วใกล้ความเร็วเหนือความเร็วเสียง จนเครื่องยนต์แรมเจ็ทติด จึงทำการปล่อยเครื่องบินที่มีเครื่องยนต์แรมเจ็ทให้บินได้ด้วยตัวเอง

 

      เครื่องยนต์แรมเจ็ทประกอบไปด้วย ทางเข้าอากาศ, โซนเผาไหม้ และกรวยหัวฉีด ผังไดอะแกรมของเครื่องยนต์แรมเจ็ทแสดงในรูปด้านล่าง เครื่องยนต์แรมเจ็ทไม่มีเครื่องอัดอากาศ และกังหันเทอร์ไบน์ เหมือนเครื่องยนต์เทอร์โบเจ็ท

 

รูป ผังไดอะแกรมของเครื่องยนต์แรมเจ็ท

 

รูปเครื่องยนต์แรมเจ็ท


วิดีโอการทดลองในห้องแล็บของเครื่องยนต์แรมเจ็ท

 

      การที่จะให้เครื่องยนต์แรมเจ็ททำงานได้จะขึ้นอยู่กับความเร็วของอากาศที่ไหลเข้ามาก่อนจะถึงห้องเผาไหม้จะต้องมีความเร็วที่สูง และความดันสูงมาก ยิ่งมีค่ามากเท่าไรจะทำให้การทำงานของเครื่องยนต์ทำงานมีประสิทธิภาพสูง ด้วยเหตุนี้ทำให้เครื่องยนต์แรมเจ็ทถูกนำมาใช้งานในอากาศยานที่บินด้วย ความเร็วเหนือเสียง (Supersonics)

 

      ถ้าทำงานที่ความเร็วของอากาศยานต่ำ เครื่องยนต์ชนิดนี้จะไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเลย การทำงานของเครื่องยนต์ที่เหมาะสม อากาศที่ไหลในปากทางเข้าของเครื่องยนต์จะมีความสัมพันธ์กับความเร็วของอากาศยานที่มีความเร็วสูง

 

      กระบวนการเริ่มต้นเผาไหม้ในเครื่องยนต์แรมเจ็ทเกิดขึ้นที่ความเร็วต่ำกว่าความเร็วเสียง แต่ยิ่งทำให้มีความเร็วการบินมีความเร็วเหนือเสียงเท่าไหร่จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานก็จะยิ่งดีขึ้น ในทางตรงกันข้ามเมื่อเครื่องบินเริ่มบินต่ำกว่าความเร็วเสียง มีผลทำให้สูญเสียความดันภายในเครื่องยนต์มาก แรงขับดันจะน้อยลง แน่นอนความเร็วของการบินก็จะยิ่งลดลง และเมื่อความเร็วต่ำถึงขีดจำกัดจุดหนึ่งจะไม่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิงเครื่องยนต์ก็จะดับกลางอากาศ

 

      มีการวิจัย และพัฒนาเครื่องยนต์ชนิดนี้อย่างต่อเนื่อง การปรับปรุงพัฒนาเครื่องยนต์แรมเจ็ทให้ทำงานที่ความเร็วเหนือเสียงได้ดีขึ้น และทนทานต่ออุณหภูมิ กับความดันได้สูงขึ้น เครื่องยนต์แรมเจ็ทที่ทำงานโดยการเผาไหม้ที่ความเร็วเหนือเสียงดีขึ้นนี้เรียกว่า เครื่องยนต์แรมเจ็ทเผาไหม้ความเร็วเหนือเสียง (Supersonic Combustion Ramjet: SCRAMJET) รูปด้านล่างแสดงผังของเครื่องยนต์สแครมเจ็ท โดยผ่านการวิจัยและพัฒนาขององค์การการบินและอวกาศแห่งชาติ (National AeroSpace Plane: NASP) อากาศยานนี้ก็คือ เครื่องบิน X-43 ดูที่รูป

 

รูปเครื่องบินที่ใช้ เครื่องยนต์ SCRAMJET X-43

 

รูปตัวเครื่องยนต์ SCRAMJET

 

รูปผังภายในของเครื่องยนต์ SCRAMJET

 

วิดีโอ SCRAMJET

 

เครื่องยนต์ผสมระหว่างเทอร์โบเจ็ท/แรมเจ็ท

 

รูป เครื่องยนต์เทอร์โบเจ็ทของแพรท และวิทธ์นี เจ58

 

รูปที่ เครื่องบินล็อคฮีต เอสอาร์-71 แบล็คเบิร์ด

 

รูป แบล็กเบิร์ดเอสอาร์-71

 

รูปเครื่องยนต์ J58

 

รูปแบล็กเบิร์ดด้านหน้า

 

      เครื่องยนต์เทอร์โบเจ็ทของแพรท และวิทธ์นี รุ่น J58 ดูที่รูปด้านบน เป็นเครื่องยนต์ต้นกำลังของ เครื่องบินแบล็คเบิร์ด ล็อคฮีต เอสอาร์ 71 (Lockheed SR71 Blackbird) เป็นเครื่องบินที่บินได้เร็วที่สุด (สูงถึงกว่า 3 มัค) และถูกปลดประจำการเมื่อปี พ.ศ. 2532 การทำงานของเครื่องยนต์ J58 เป็นเครื่องยนต์เทอร์โบเจ็ทที่มีอาฟเตอร์เบิร์นเนอร์ มีการทำงานจนถึงความเร็วมัคสูงสุดเมื่อท่อใหญ่หกท่อจะไหลบายพาสไปถึงส่วนอาฟเตอร์เบิร์นเนอร์ ใช้ท่อเหล่านี้ผ่าน เครื่องอัด, การเผาไหม้ และเทอร์ไบน์ของเทอร์โบเจ็ท โดยพื้นฐานการทำงานของบายพาส และเครื่องยนต์ซึ่งเป็นแรมเจ็ท พร้อมกับการกระทำซึ่งการเผาไหม้อาฟเตอร์เบิร์นเนอร์ของแรมเจ็ท

 

วิดีโอเครื่องบินแบล็คเบิร์ด ล็อคฮีต เอสอาร์ 71

 

วิดีโอเครื่องบินแบล็คเบิร์ด ล็อคฮีต เอสอาร์ 71 2

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

ในธรรมชาติไม่มีสิ่งใดที่ดีพร้อม แต่ทุกอย่างก็สมบูรณ์แบบในตัวมันเอง

                                    ต้นไม้อาจบิดเบี้ยวโค้งงออย่างประหลาด แต่ก็ยังคงความงดงาม

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา