7. ลักษณะของแสง
รูปแสง
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
ในขณะที่แสงเดินทางผ่านตัวกลางเช่น อากาศ, อวกาศ, ในน้ำ ฯลฯ ธรรมชาติของแสงเมื่อไปกระทบกับวัตถุ ถ้ายิ่งเป็นวัตถุที่มันวาว หากวัตถุนั้นยิ่งเหมือนกับกระจก เมื่อแสงมันตกกระทบใส่ มันจะเกิดการสะท้อนของแสง
รูปแสงเมื่อกระทบกับวัตถุที่มันวาว จะเกิดการสะท้อนของแสง
นี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของคุณสมบัติของแสง ที่มีปฏิกิริยากับวัตถุบางชนิด
เมื่อแสงเดินทางจากที่แห่งหนึ่งพุ่งเข้าไปยังตัวกลางชนิดหนึ่ง แสงจะเลี้ยวเบน เราเรียกว่า การหักเหของแสง (Refraction)
หากตัวกลางในเส้นทางของแสง โค้ง หักเหแสง หรือปิดกั้นความถี่บางส่วนของมัน เราสามารถเห็นสีที่แยกออกมา
รูปตัวอย่างการหักเหแสง
ยกตัวอย่างเช่น สายรุ้ง (Rainbow) จะเกิดขึ้น ก็เมื่อแสงของดวงอาทิตย์กระทบกับละอองน้ำในอากาศ แล้วจากอากาศจึงแยกสีออกมาให้เห็น ความชื้นทำให้แสงเกิดการหักเห ดังนั้น การแยกความถี่ ก็จะทำให้เราเห็นเป็นสีที่ไม่ซ้ำกันของคลื่นแสง
รูปแสงที่วิ่งผ่านปริซึมจนเกิดการแยกสีของแสง
รูปปริซึม แสงที่ตกกระทบ
ปริซึม (Prisms) มันมีความสามารถแยกองค์ประกอบของแสงออกจากกันได้ เมื่อแสงกระทบกับปริซึมในบางมุม แสงจะสามารถหักเห แล้วก็มีการแยกออกเป็นสีในแต่ละความถี่ ผลที่เกิดขึ้นแบบนี้ได้ มันจะเกิดขึ้นจากรูปร่างของปริซึม และมุมที่แสงไปตกกระทบ
นอกจากจะมองเห็นเป็นแถบสีต่าง ๆ และถ้าหากคุณลองมองสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด คลื่นแสงที่เข้าสู่ปริซึม มันจะเป็นตามภาพที่สอง
รูปคลื่นแสง
จะเห็นว่ามันโค้งลง การเกิดการเลี้ยวเบนนี้ ก็เพราะว่าแสงเดินทางเร็วกว่า ผ่านอากาศก่อนที่มันจะผ่านเข้าแท่งปริซึม เมื่อส่วนล่างของคลื่นแสงเข้าสู่ปริซึม ความเร็วของมันก็จะช้าลง แต่ช่วงด้านบนของคลื่น (มันยังคงอยู่ในอากาศ) ความเร็วของคลื่นจะลดหลั่นกันไปตามแถบสี แถบคลื่นที่มีการเคลื่อนที่เร็วกว่า จะอยู่ในแถบสีที่ต่ำกว่า ดังนั้น คลื่นจึงเกิดการเลี้ยวเบนครั้งแรก
รูปคลื่นแสงเข้าปริซึม แล้วเกิดการเลี้ยวเบน
ทำนองเดียวกันกับคลื่นแสงที่ออกจากปริซึม แถบคลื่นด้านบน จะออกมาเป็นอันดับแรก และจะเร็วกว่าแถบคลื่นแสงที่อยู่ด้านล่างถัดลงไป ที่มันยังคงอยู่ในปริซึมอยู่เลย ความเร็วที่แตกต่างกันนี้ ก็ทำให้คลื่นจึงเกิดการเลี้ยวเบนเป็นครั้งที่สอง
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
ร่วมน้อมรำลึกถึง คำพ่อสอน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต
“การทำงานสร้างอนาคตนี้
นอกจากจะต้อง ใช้วิชาความรู้ที่จัดเจนเป็นหลักแล้ว
บุคคลยังจำเป็นต้องอาศัยคุณสมบัติพิเศษอีกหลายด้าน
เป็นเครื่องอุดหนุน และส่งเสริม
ความรู้ของตนเป็นอย่างมากอีกด้วย”
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในพิธีพระราชทาน ปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๓๑ ตุลาคม ๒๕๒๘
ขอน้อมส่งพระองค์สู่สวรรคาลัย
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
<หน้าที่แล้ว สารบัญ หน้าต่อไป>