ชุดของพลังงาน เรียกว่า โฟตอน หรือควอนต้า (Quanta) จะปล่อยพลังงานออกมา พลังงานที่ปล่อยออกมานี้จะมีค่าเท่ากับ ความแตกต่างระหว่างระดับพลังงานที่สูง กับระดับพลังงานที่ต่ำ และอาจเห็นเป็นแสง ซึ่งขึ้นอยู่กับความถี่ของคลื่นที่กล่าวในด้านล่าง
รูปการจำลองการสั่นรัวของประจุ
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
รูปแบบคลื่นของแสงตามความเป็นจริง จะอยู่ในรูปแบบของพลังงานที่สร้างขึ้นมาโดย ประจุที่สั่นรัว (Oscillating charge) ประจุนี้มีองค์ประกอบของ สนามไฟฟ้าสั่น (Oscillating electric field) และ สนามแม่เหล็กสั่น (Oscillating magnetic field)
ด้วยเหตุนี้ เราจึงเรียกว่า รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic radiation)
รูปรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า
เราควรทราบว่าทั้งสองสนามนั้น จะมีการสั่นตั้งฉากซึ่งกัน และกัน ซึ่งแสงก็เป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
รูปการณ์ตั้งฉากซึ่งกัน และกันของสนามแม่เหล็ก และสนามไฟฟ้า
คลื่นทุกรูปแบบจะถูกจัดอยู่ในสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า โดยจะนับกันเป็นจำนวนของการสั่นสมบูรณ์ต่อวินาที ผ่านสนามไฟฟ้า และสนามแม่เหล็ก ที่เราเรียกว่า ความถี่ (Frequency)
รูปแสดงความถี่
รูปความถี่
ช่วงความถี่ของแสงที่สามารถมองเห็นได้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเล็ก ๆของสเปกตรัม ที่มีสีม่วง (มีค่าสูงสุด) และสีแดง (มีค่าต่ำสุด) (เรียงลำดับสีตามช่วงความถี่ก็คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง)
โดยแสงสีม่วง จะมีความถี่สูงกว่าแสงสีแดง เรากล่าวได้ว่ามันมีพลังงานมากขึ้น แล้วถ้าหากเราสามารถแยกมันออกมาให้เป็นแถบสเปกตรัมได้ ที่บนสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า คุณจะเห็นเป็น รังสีแกมมา (Gamma rays)
รูปรังสีแกมมา
มันมีพลังงานเพียงพอที่จะเจาะทะลวงวัสดุได้หลายชนิด รังสีนี้มีความเป็นอันตรายอย่างมาก เพราะว่าอาจก่อให้เกิดความเสียได้ในทางชีวภาพได้หากโดนเข้าไป ปริมาณของพลังงานจะมาก หรือน้อย มันขึ้นอยู่กับความถี่ของรังสี
รูปเปรียบเทียบรังสีที่ปล่อยออกมา
วิดีโอรังสีแกมมาคืออะไร
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า คือสิ่งที่เราเรียกว่า แสง ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นความถี่ ที่แยกต่างหากจากกัน กับพลังงานที่สอดคล้องกันในแต่ละสี
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
ร่วมน้อมรำลึกถึง คำพ่อสอน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต
“งานทุกอย่างมีบุคคลซึ่งมีชีวิตจิตใจ มีความนึกคิดเป็นผู้กระทำ
ถ้าผู้ทำ มีจิตใจไม่พร้อมจะทำงาน เช่น
ไม่ศรัทธาในงาน ไม่สนใจผูกพันกับงาน
ผลงานที่ทำก็ย่อมบกพร่อง
ไม่คงที่ ต่อเมื่อผู้ปฏิบัติมีศรัทธา เข้าใจซึ้งถึงประโยชน์ของงาน
พร้อมใจ และพอใจที่จะขวนขวายปฏิบัติงาน
โดยเต็มกำลังความสามารถ
งานจึงจะดำเนินไปได้โดยราบรื่น
และบรรลุผลตามที่มุ่งหมาย”
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๓๖
ขอน้อมส่งพระองค์สู่สวรรคาลัย
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
<หน้าที่แล้ว สารบัญ หน้าต่อไป>