6. แสง
รูปแสง
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
แสง (Light) เป็นพลังงานรูปแบบหนึ่ง มันมีแนวคิดอยู่สองกรอบแนวคิด คือ:
แสงมีคุณสมบัติที่มีลักษณะเป็นอนุภาคที่ไม่ต่อเนื่อง เช่น พลังงานของแสงจะเคลื่อนที่ไปแบบเป็นพัลซ์ (Pulse) ส่งมาเป็นชิ้น ๆ เป็นต่อน ๆ (Chunks)
และอีกแนวคิดหนึ่งก็คือ แสงมีลักษณะของ คลื่น (Waves) เช่น แสงมี การเลี้ยวเบน (Diffraction) ได้
รูปการแยกตัวของแสง
ในลักษณะของการเป็นลูกคลื่น มันสามารถแยกองค์ประกอบของมันออกเป็นคู่ มันเป็นสิ่งสำคัญเพื่อที่จะทำให้สามารถเข้าใจได้ ว่านั่นไม่ได้เป็นเพียงแค่สถานการณ์ มันหมายความว่า
ลักษณะของมันที่เป็น ทั้งคลื่น และอนุภาค มันจะมีทิศทางไปในทางเดียวกัน ในลำของแสงจะทำงานเป็นอนุภาคและ / หรือคลื่น ก็ขึ้นอยู่กับการทดลอง
นอกจากนี้ ในโครงกรอบอนุภาค (ที่เป็นพัลซ์) มันมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งจะสามารถอธิบายในแง่ของลักษณะคลื่นได้ และกรอบคลื่นก็สามารถมีปฏิสัมพันธ์ ที่จะอธิบายในแง่ของลักษณะอนุภาค รูปแบบของอนุภาค ที่เราเคยได้ยินในชื่อของ โฟตอน (Photon)
รูปโฟตอน
วิดีโอโฟตอนคืออะไร
และรูปแบบของคลื่นเป็นที่รู้จักกันในชื่อ คลื่นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic radiation) ซึ่งเป็นอันดับแรก ๆ ของโฟตอน
รูปแสดงแถบคลื่นของรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า
วิดีโอความรู้เกี่ยวกับแถบคลื่นของรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า
โฟตอนเป็นแสงที่เราเห็นได้เมื่ออะตอมมีการปล่อยพลังงาน
ในแบบจำลองของอะตอม อิเล็กตรอนมันจะโคจรรอบนิวเคลียสที่ภายในจะประกอบไปด้วยโปรตอน และนิวตรอน แล้วมันยังมีการแยกระดับอิเล็กตรอนตามชั้นวงโคจรรอบนิวเคลียส
รูปจำลองอะตอมที่เกี่ยวกับโฟตอน
รูปจำลองการปลดปล่อยโฟตอน
เปรียบได้กับลูกบอลที่อยู่วางอยู่ตรงกลาง แล้วมีห่วงซ้อนล้อมกันหลายชั้นรอบตัวมัน โดยลูกบอลถูกแทนให้เป็นนิวเคลียส ส่วนห่วงที่วางล้อมรอบลูกบอล ก็คือระดับของอิเล็กตรอนไปตามชั้นเท่าที่เป็นไปได้ ระดับของการเวียนรอบเหล่านี้ เรียกว่า วงโคจร (Orbitals)
รูปวงโคจรของอะตอมที่ลูกบอลเป็นนิวเคลียส
ในแต่ละวงโคจร จะยอมรับได้เฉพาะจำนวนพลังงานไม่ต่อเนื่องเท่านั้น หากอะตอมสามาถดูดซับพลังงานได้ อิเล็กตรอนที่โคจรที่ใกล้นิวเคลียส (มีระดับพลังงานต่ำว่า) จะกระโดดข้ามไปยังวงโคจรถัด หรือห่างออกไปจากนิวเคลียส (มีระดับพลังงานที่สูงขึ้น)
อะตอม ณ ขณะนี้จะกล่าวได้ว่า มันอยู่ในลักษณะ ตื่นเร้า (Excited) การเกิดการตื่นเร้านี้ โดยทั่วไปจะไม่เกิดนาน และหลังจากนั้นอิเล็กตรอนจะตกกลับไปยังระดับเชลล์ที่ต่ำกว่าเหมือนเดิม
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
ร่วมน้อมรำลึกถึง คำพ่อสอน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต
“การศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรม เป็นการศึกษาที่สำคัญ
และควรจะดำเนินควบคู่กันไปกับ
การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์
เพราะความเจริญของบุคคล ตลอดจนถึงความเจริญของประเทศ
และของโลกโดยส่วนรวมด้วยนั้น
มีทั้งทางวัตถุ และจิตใจ ความเจริญทั้งสองทางนี้
จะต้องมีประกอบกัน เกื้อกูลและส่งเสริมกันพร้อมมูล
จึงจะเกิดความเจริญที่แท้จริงได้
ประเทศทั้งหลายจึงต่างพยายามส่งเสริม
การศึกษาด้านศิลปะวัฒนธรรมนี้
พร้อมกันไปกับ การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์”
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๓๕
ขอน้อมส่งพระองค์สู่สวรรคาลัย
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
<หน้าที่แล้ว สารบัญ หน้าต่อไป>