บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,456
เมื่อวาน 984
สัปดาห์นี้ 12,485
สัปดาห์ก่อน 29,853
เดือนนี้ 59,642
เดือนก่อน 65,987
ทั้งหมด 4,874,894
  Your IP :13.59.183.186

13 ท่อทางสารความเย็นไครโอเจนิกส์

 

 

รูปท่อทาง

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      ประสิทธิภาพการส่งผ่านสารความเย็นของไครโอเจนิกส์จะดีหรือไม่ดีนั้น ขึ้นอยู่กับท่อทางส่งที่มีฉนวนป้องกันอย่างดี ฉนวนในที่นี้จะมีบางส่วนเป็นสุญญากาศโดยเรียกกันว่า แจ็กเก็ตสุญญากาศ (Vacuum jacket) 

 

      ซึ่งบางส่วนจะมีไนโตรเจนเหลวคอยทำหน้าที่เป็นฉนวน ที่สามารถป้องกันความร้อนที่มาในรูปแบบ การนำ การพา และการแผ่รังสีได้เป็นอย่างดี

 

 

รูปท่อทางที่ใช้ในไครโอเจนิกส์

 

 

 

รูปแสดงภาคตัดขวางของท่อส่งผ่านอย่างง่าย 

 

      จากรูปด้านบนแสดงให้เห็นภาคตัดขวางของรูท่อทางส่งผ่าน โดยท่อตรงกลางภายในนั้นเป็นส่วนที่สารความเย็นไครโอเจนิกส์ไหลผ่าน ต่อจากท่อภายในจะเป็นช่องที่อยู่ของไนโตเจนเหลว ถัดออกมาเป็นฉนวนป้องกันความร้อนอย่างดี ชั้นนอกสุดที่ติดกับท่อด้านนอกเป็นที่อยู่ของสุญญากาศที่เป็นแจ็กเก็ตคลุมป้องกันท่อภายในอีกที

 

 

รูปภาคตัดขวางของท่อแบบโปรตอน

 

 

      รูปด้านบนเป็นท่อส่งสารความเย็นอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ท่อโปรตอน (Proton tube) โครงสร้างภายในมีความคล้ายคลึงกับท่อในแบบแรก แต่จะมีชั้นท่อของสารความเย็นเพิ่มขึ้นมาเป็น ประกอบไปด้วยฮีเลียมเฟสหนึ่ง และฮีเลี่ยมเฟสที่สอง

 

      จุดประสงค์ก็เพื่อให้เกิดความเย็นที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด ภายในท่อทางภายในประกอบไปด้วย ท่อเหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless steel tubing) ที่ซ้อนกันภายใน

 

 

รูปท่อทาง

 

      นอกจากนี้ก็ยังมีที่อยู่ของช่องสุญญากาศ, มีที่อยู่ของฉนวนยวดยิ่ง (Superinsulation), ช่องว่าง (ในรูปไม่ได้ทำการแสดงเอาไว้), ช่องที่อยู่ของไนโตรเจนเหลว, ฮีเลียมเฟสสอง และท่อภายในสุดคือฮีเลี่ยมเฟสหนึ่ง ตามลำดับ

 

      ท่อทางที่เป็นฉนวนสุญญากาศที่ติดกับฮีเลียมเฟสหนึ่งนั้นมีการห่อหุ้มท่อถึง 60 ชั้นต่อความหนาหนึ่งนิ้ว ส่วนไนโตรเจนเหลวที่คอยคลุมเป็นฉนวนนั้นนอกจากเป็นฉนวนแล้วยังทำหน้าที่เป็นสารตัวกลางในเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนอีกด้วย

 

      ท่อภายในสุดเป็นฮีเลียมเฟสสองเป็นท่อที่ออกมากจาก แม็กเน็ตสตริง (Magnet string) ทางออกของแม็กเน็ตสตริง จะเป็นฮีเลียมเหลว

 

      ฮีเลียมทั้งสองเฟสจะเป็นสถานะของไหลสองสถานะคือก๊าซ (ฮีเลียมเฟสหนึ่ง) และของเหลว (ฮีเลียมเฟสสอง) การสัมผัสกันของฮีเลียมทั้งสองเฟส ซึ่งหลายคนอาจคิดว่ามันเป็นการส่งถ่ายความร้อนแบบการนำความร้อน หรือเป็นรูปแบบอื่น

 

      ในความเป็นจริงแล้วท่อ 2 ท่อไม่ได้มีกริยาการแลกเปลี่ยนความร้อนกันมากนัก ก๊าซฮีเลียมเฟสหนึ่งไหลย้อนเข้าไปเป็นฮีเลียมเฟสสองในท่อตรงกลาง ที่มีการขยายตัวหลังออกจากแม็กเน็ตสตริง ดังนั้นการทำฮีเลียมให้มีสองเฟสจะช่วยเพิ่มความเย็นที่จะนำไปใช้ต่อไป

 

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“จะทำได้ หรือไม่ได้

นั่นไม่ใช่ปัญหา

แต่ปัญหา ก็คือ

เมื่อไหร่ คุณถึงจะตัดสินใจที่จะทำต่างหาก”

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา