บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,366
เมื่อวาน 1,008
สัปดาห์นี้ 5,962
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 34,197
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,378,694
  Your IP :18.219.63.90

11 วัฏจักรการทำความเย็น

 

 

รูปวัฏจักรการทำความเย็น

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      วัฏจักรการทำความเย็น ที่แสดงในที่นี้เป็นระบบการใช้น้ำยา R-22 จะมีส่วนประกอบที่สำคัญได้แก่ เครื่องอัด และเอ็กแพนชั่นวาล์ว วาล์วนี้จะเป็นเขตแบ่งกันระหว่างด้านความดันสูง และด้านความดันต่ำ

 

 

รูปวงจรการทำความเย็น

 

      มันเป็นวัฏจักรการทำงานแบบย้อนกลับได้ เป็นระบบปิด สามารถแปรเปลี่ยนพลังงานจากระดับต่ำไปสู่ระดับที่สูง ซึ่งตรงข้ามกับพลังงานที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ที่เปลี่ยนจากพลังงานระดับสูง ไปสู่พลังงานที่มีระดับต่ำ

 

      ในวัฏจักรการทำความเย็นจึงต้องมีการป้อนพลังงานเข้าไปในวัฏจักรเสมอ เพื่อชดเชยกับงานที่ต้องเสียไปในรูปของความร้อน ประสิทธิภาพจึงไม่ได้ 100 % นอกจากนี้ประสิทธิภาพยังขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ และการทำงานของอุปกรณ์แต่ละชนิดอีกด้วย

 

      หลักการทำความเย็นขั้นพื้นฐานทั่วไปสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการทำความเย็นที่เป็นระบบไครโอเจนิกส์ได้อย่างดี         

 

 

 

 

ระบบการทำความเย็นอย่างง่าย

 

 

 

รูปวัฏจักรการทำความเย็นอย่างง่าย

 

 

เครื่องอัด

 

 

รูปตัวอย่างคอมเพรสเซอร์

 

      เครื่องอัด (Compressor) เป็นตัวเพิ่มพลังงานของสารจากก๊าซที่มีความดันต่ำ, อุณหภูมิต่ำ ไปเป็นของก๊าซที่มีความดันสูง, อุณหภูมิสูง สารจะไหลไปตามท่อทางไปที่เครื่องควบแน่น

 

 

 

เครื่องควบแน่น

 

 

รูปตัวอย่างเครื่องควบแน่น

 

      เครื่องควบแน่น (Condensor) เป็นอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนของสารความเย็น กล่าวง่าย ๆ ก็คือทำหน้าที่ลดอุณหภูมิของสารความเย็น ที่มาจากเครื่องอัด จากก๊าซไปเป็นของเหลวที่เย็นตัวลง แต่ความดันยังสูงอยู่

 

 

เอ็กแพนชั่นวาล์วความร้อน

 

 

รูปตัวอย่างเอ็กแพนชั่นวาล์ว

 

      หน้าที่ง่าย ๆของเอ็กแพนชั่นวาล์ว (Thermal expansion valve) ก็คือจะทำหน้าที่ขยายของเหลว ไปเป็นก๊าซเย็นอย่างฉับพลัน ลักษณะของเอ็กแพนชั่นวาล์ว คือการลดพื้นที่หน้าตัดของท่อทางสารทำความเย็น นอกจากนี้ก็ยังมี ท่อขนาดเล็ก (Capillary tube) ที่ทำหน้าที่คล้ายกัน

 

 

 

                 

อีแวปเปอเรเตอร์

 

 

รูปตัวอย่างอีแวปเปอเรเตอร์

 

      อีแวปเปอเรเตอร์ หรือตัวระเหย (Evaporator) เป็นการแลกเปลี่ยนความร้อนซึ่งจากก๊าซเย็นที่มาจากเอ็กแพนชั่นวาล์วไปแลกเปลี่ยนความร้อนกับพื้นที่ที่ต้องการทำความเย็น (ยกตัวอย่างพื้นที่ที่ต้องการให้เย็นเช่น ภายในตู้เย็น, ภายในห้องปรับอากาศ ของไหลที่ไหลเวียนภายในห้องทำความเย็นจะเป็นอากาศ)

 

                

      อุปกรณ์ทั้ง 4 ที่กล่าวมานี้เป็นส่วนที่สำคัญของการทำความเย็น ไม่สามารถขาดได้ นอกเหนือจากนี้ก็ยังมีอุปกรณ์เสริมอีกมากมาย เช่น ถังพักน้ำยา (Receiver tank) ตาแมว (sign glass) และเทคนิคการโค้งงอท่อ แต่จะไม่กล่าวรายละเอียดในที่นี้

 

 

รูปถังพักน้ำยก กับตาแมวอยู่รวมกัน

 

 

รูปวัฏจักรการทำความเย็น

 

วิดีโอแอนิเมชันวัฏจักรการทำความเย็น

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“คุณไม่มีวันเปลี่ยนชีวิตได้

หากไม่เปลี่ยนสิ่งที่ทำอยู่ทุกวัน”

 

John C. Maxwell

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา