บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 4,343
เมื่อวาน 4,086
สัปดาห์นี้ 11,621
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 52,821
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,397,318
  Your IP :18.191.228.88

8 กฎของเทอร์โมไดนามิกส์

 

รูปกฏต่าง ๆ ของเทอร์โมไดนามิกส์

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      ในการทำงานเกี่ยวกับอุณหภูมิ กฎของเทอร์โมไดนามิกส์ หรืออุณหพลศาสตร์ (Law of Thermodynamics) นั้น มีความจำเป็นต้องกล่าวถึงเสมอ

 

      เมื่อเอามาใช้ในวิชาไครโอเจนิกส์กฎทางเทอร์โมไดนามิกส่จะมีความสำคัญเป็นอย่างมาก

 

      กฏทางเทอร์โมไดนามิกส์ มีอยู่ 3 ข้อ แต่จะมีผนวกกฏข้อที่ 0 (ข้อนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งของกฎข้อที่ 1) ขึ้นมาอีกข้อ

 

 

 

กฎข้อที่ 0 กล่าวไว้ว่า หากมีระบบ (หรือวัตถุ) อยู่ 3 ระบบ เช่น ระบบ A, B, C แล้วระบบทั้งสามนี้สัมผัสกันอยู่ และสามารถถ่ายเทความร้อนไปมาระหว่างกันได้

 

 

รูปแนวคิดของกฏข้อที่ 0

     

      ถ้าหากว่า ระบบ A และ B อยู่ในสภาวะสมดุลทางความร้อน (ความร้อนเท่ากัน) และระบบ B กับ C อยู่ในสภาวะสมดุลทางความร้อนเช่นกัน นั่นก็หมายความว่า ระบบ A กับ C อยู่ในสภาวะสมดุลทางความร้อนเหมือนกันนั่นเอง

 

 

 

กฎข้อที่ 1 เป็นแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับ กฎการอนุรักษ์พลังงาน (Conservation of energy) กล่าวไว้ว่า ในกระบวนการที่เปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ พลังงานจะไม่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ และไม่มีการสูญหายไป แต่สามารถเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบอื่นได้

 

 

รูปแนวคิดของกฏข้อที่ 1

     

      ในกฎข้อนี้ จะบอกถึงการเปลี่ยนแปลงพลังงานที่เกิดขึ้นภายในระบบต่าง ๆ มีทั้งการเปลี่ยนแปลงทางเคมี และทางกายภาพ

 

 

กฎข้อที่ 2 เป็นการอธิบายเกี่ยวกับตัวแปร ซึ่งเป็นตัวกำหนดทิศทางของการเกิดกระบวนการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางเคมี หรือทางกายภาพ

     

 

รูปแนวคิดของกฏข้อที่ 2

 

      ตัวแปรที่สำคัญที่เกี่ยวกับการกำหนดทิศทางของการเกิดกระบวนการต่าง ๆ ได้แก่ เอนโทรปี (Entropy: การวัดระดับของความผิดปกติในสสาร หรือระบบ: เอ็นโทรปีจะเพิ่มขึ้นเสมอ และขณะเดียวกันพลังงานก็จะลดลงในระบบปิด ขณะที่อยู่ในพื้นที่กว้าง)

 

 

กฎข้อที่ 3 กล่าวไว้ว่า ค่าเอนโทรปีของระบบผลึกที่สมบูรณ์แบบที่อุณหภูมิศูนย์องศาเคลวิน จะมีค่าเท่ากับ ศูนย์ 

 

 

รูปแนวคิดของกฏข้อที่ 3

 

      การที่จะหาค่าของเอนโทรปีของระบบที่อุณหภูมิใด ๆ ก็ตาม ต้องอาศัยกฎข้อนี้ ซึ่งจะนิยามค่าเอนโทรปีของระบบไว้ที่ศูนย์องศาเคลวิน

        

 

 

      ในกฎข้อแรกจะกล่าวถึงพลังงานที่ป้อนเข้าไป ก็จะเท่ากับพลังงานที่ออกมา แต่ในทางปฏิบัติไม่เป็นเช่นนั้น ในการทำงานจริงเราจะพบว่า

 

1. พลังงานที่ให้ไปกับงานที่ออกมาจะไม่เท่ากัน สาเหตุเนื่องจากมีการสูญเสียประสิทธิภาพทางความร้อน, จากการสูญเสียจากแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นขณะทำงาน อีกทั้งจุดข้อต่อที่มีมาก ทำให้ประสิทธิภาพทางกลต่ำ  (อันเกิดจากการเคลื่อนไหวของเครื่องจักรกล)

 

2. ไม่มีเครื่องกลใด ๆในโลกนี้ ที่สามารถทำงานให้ได้ประสิทธิภาพ 100% เต็ม

 

ทั้ง 2 ข้อ จะครอบคลุมการทำงานของเครื่องจักรกล หรือระบบทุกชนิด

 

     

 

      ในความจริงงานที่เกิดขึ้น จะต้องอาศัยแรงที่ป้อนเข้าไปจนได้ระยะทาง เพื่อให้เกิดงาน ถ้าไม่มีแรงกระทำก็ไม่มีงาน ไม่ว่าจะเป็นแรงที่เกิดจากการกระทำของธรรมชาติ หรือแรงที่เกิดจากกระทำของมนุษย์

 

      เราทราบมาว่าความร้อน ไม่สามารถเคลื่อนที่จากบริเวณที่เย็นไปสู่บริเวณที่ร้อนได้ หากไม่มีการป้อนพลังงานเข้าไป

 

 

ด้านล่างนี้ เป็นตัวอย่างในกฎข้อที่สองของเทอร์โมไดนามิกส์ที่เกี่ยวกับงาน

 

o   ความร้อนจะไหลจากบริเวณที่ร้อนเข้าไปสู่บริเวณที่เย็นเสมอ

 

o   ก๊าซจะไหลจากบริเวณที่มีความดันสูงไปสู่ที่มีความดันต่ำเสมอ

 

 

รูปก๊าซออกซิเจนที่อัดอยู่ในถัง เมื่อเปิดวาล์วจะไหลออกสู่ภายนอกเสมอ

 

o   ก๊าซ 2 ชนิดที่ไหลกระจายในบริเวณเดียวกันจะผสมกันเสมอ

 

o   น้ำเกลือ สามารถแยกน้ำออกจากเกลือได้ โดยการให้พลังงานความร้อน

 

รูปน้ำเกลือเมื่อให้ความร้อนจะสามารถแยกเกลืออกมาได้

 

o   การเกิดขึ้นของสนิมเหล็ก

 

o   การแตกละเอียดของก้อนหิน

 

 

จากตัวอย่างที่กล่าวมานี้เป็นกระบวนการที่ไม่สามารถย้อนกลับได้ ซึ่งเป็นไปตามความหมายของกฎข้อที่ 2 ของเทอร์โมไดนามิกส์

 

 

 

 

เราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร ในทางไครโอเจนิกส์?

 

เราเทียบประโยชน์การใช้งานจาก เครื่องยนต์ (Engines) กับ ปั๊ม (Pumps) ในหลักการทำงาน เครื่องยนต์จะทำงานสวนทางกับปั๊ม

 

 

รูปเครื่องยนต์ กับปั๊ม

 

กล่าวคือเครื่องยนต์นั้นเป็นตัวให้พลังงาน ส่วนปั๊มนั้น เป็นตัวรับพลังงาน ดังแสดงในรูปด้านล่างนี้

 

 

รูปแสดงการเปรียบเทียบกันระหว่างเครื่องยนต์ กับปั๊ม

               

      เครื่องยนต์ จะผลิตพลังงานความร้อนเพื่อให้ได้งานเกิดขึ้น งานที่ได้ อาจจะนำไปใช้กับกลไกอื่น ๆ เพื่อให้ได้ประโยชน์จากงานนั้น ความร้อนที่สูญเสียจะถูกปล่อยออกมาสู่สภาพแวดล้อมรอบ ๆ

 

ปั๊ม จะดูดความร้อนจากสภาพแวดล้อมโดยรอบที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า เมื่ออุณหภูมิการทำงานสูงขึ้น การดูดความร้อนก็จะน้อยลง สิ่งที่ทำให้ปั๊มสามารถทำงานได้ก็คือ ต้องป้อนพลังงานเข้าไป

               

ในกฎข้อแรกของเทอร์โมไดนามิกส์จะเกิดความแตกต่างระหว่างความร้อน และงาน ขนาดของพลังงานจะเท่ากับพลังงานความร้อนแต่เครื่องหมายจะตรงกันข้าม

 

      ส่วนกฎข้อที่สอง เป็นการเปลี่ยนแปลงจากความร้อนไปสู่งานพร้อมกับกล่าวถึงประสิทธิภาพการทำงาน

 

      คาร์โนด (Carnot) เป็นนักฟิสิกส์ ชาวฝรั่งเศสได้คิดค้น และพัฒนาสมการ ที่แสดงประสิทธิภาพของเครื่องกลในทางอุดมคติ คือในทางทฤษฏี เครื่องยนต์จะไม่เกิดการสูญเสียทางความร้อน เป็นดังสมการด้านล่าง

 

W/Q = TE/TL – 1

 

 

กำหนดให้      W/Q = อัตราส่วนกำลังจำเพาะของงาน (W) ต่อค่าความร้อนที่ได้จากปั๊ม (Q) ซึ่งสัมพันธ์กัน

                TE = อุณหภูมิสิ่งแวดล้อม

                TL = อุณหภูมิต่ำที่ต้องการ

 

 

      ในทำงานจริงทางปฏิบัติ ประสิทธิภาพที่ได้ จะน้อยกว่า งานที่คิดได้จากวัฏจักรคาร์โนด และในสมการนี้สามารถคำนวณพลังงานเพื่อให้ความเย็นมีอุณหภูมิเข้าสู่ศูนย์องศาสัมบูรณ์ได้ ซึ่งจะเป็นไปตามกฎข้อที่ 3 ของเทอร์โมไดนามิกส์ ที่สามารถนำมาใช้ในระบบไครโอเจนิกส์

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“จงใช้ชีวิต ราวกับว่า คุณจะตายในวันพรุ่งนี้

และจงเรียนรู้ ราวกับว่า คุณจะมีชีวิตอยู่ตลอดกาล”

มหาตมะ คานธี

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา