บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,297
เมื่อวาน 1,080
สัปดาห์นี้ 5,531
สัปดาห์ก่อน 15,976
เดือนนี้ 68,457
เดือนก่อน 47,501
ทั้งหมด 4,336,344
  Your IP :44.192.75.131

4 ของไหลที่ถูกนำมาใช้ในไครโอเจนิกส์

ของไหลที่ใช้ในทางไครโอเจนิกส์

 

 

1 การเปลี่ยนสถานะ

 

       เมื่อสสารถูกเปลี่ยนสถานะหนึ่ง ไปสู่อีกสถานะหนึ่ง เช่น น้ำแข็งเปลี่ยนไปเป็นน้ำ สถานะจะเปลี่ยนแต่ทว่า โมเลกุลจะไม่เปลี่ยน จะมีความสัมพันธ์ของสถานะที่เกิดขึ้นนั้นก็คือ โมเลกุลของของแข็งจะอยู่ชิดกัน เคลื่อนที่ได้ยากรูปร่างมักคงที่ไม่เปลี่ยน

 

รูปการเปลี่ยนสถานะของน้ำ

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      ส่วนโมเลกุลของของไหลโมเลกุลจะอยู่ห่างกันแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลมีน้อยและเคลื่อนที่ได้ง่ายกว่าของเหลวจึงสามารถไหลได้อย่างอิสระรูปร่างจะเปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ

 

 

2 กฎของก๊าซ

 

1.  ความดันกับการขยายตัวของก๊าซจะเป็นอัตราส่วนที่แน่นอนที่อุณหภูมิสัมบูรณ์

 

2.   ปริมาตร และความดันสัมบูรณ์ของก๊าซมีการเปลี่ยนแปลงในอัตราส่วนที่แน่นอน ที่อุณหภูมิสัมบูรณ์

 

3.       อุณหภูมิ และปริมาณ น้ำหนักก๊าซ มีการเปลี่ยนแปลงแบบผกผันที่ความดันสัมบูรณ์

 

 

จากทั้ง 3 ข้อที่กล่าวมาเราจะสามารถเขียนสมการได้ดังนี้

 

 

P x V = k x T

 

 

กำหนดให้     P = ความดันสัมบูรณ์ (lb/in2, N/mm2)

                                                    

                V = ปริมาตรจำเพาะ (ft3/lb, m3/kg)

 

                T = อุณหภูมิสัมบูรณ์ (K)

 

                k = ค่าคงที่ (k ของอากาศ = 0.37)



 

3 ของไหลที่ใช้ในระบบไครโอเจนิกส์ 

 

3.1 ไนโตรเจน (Nitrogen: N2)

 

รูปสัญลักษณ์ทางเคมีของธาตุไนโตรเจน

 

        ไนโตรเจนเหลวจัดว่าเป็นก๊าซเฉื่อย, ไม่มีสี, ไม่มีกลิ่น, ไม่กัดกร่อน, มีความเย็นยวดยิ่ง และไม่ติดไฟ อัตราการขยายตัวของไนโตรเจน 1: 694 

 

 

รูปก๊าซไนโตรเจน

 

      ถ้าเกิดอุบัติเหตุรั่วไหลขึ้น บริเวณนั้นจะเป็นจุดอับออกซิเจน (การละลายของก๊าซออกซิเจนในอากาศจะต่ำกว่าระดับความจำเป็นในการหล่อเลี้ยงชีวิต) จะทำให้หายใจไม่ออก และถ้าบริเวณนั้นมีสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นก็จะตายในที่สุด

 

 

 

3.2 อาร์กอน (Argon: Ar)

 

 

รูปสัญลักษณ์ทางเคมีของธาตุอาร์กอน

 

       อาร์กอนเหลวจัดว่าเป็นก๊าซเฉื่อย, ไม่มีสี, ไม่มีกลิ่น, ไม่กัดกร่อน, มีความเย็นยวดยิ่ง และไม่ติดไฟ อัตราการขยายตัวของอาร์กอน 1: 840

 

 

รูปตัวอย่างการนำก๊าซอาร์กอนมาใช้เป็นหลอดพลาสม่า (Plasma lamp)

 

      ถ้าเกิดอุบัติเหตุรั่วไหลบริเวณนั้นจะเป็นจุดอับออกซิเจน จะหายใจไม่ออก และถ้าบริเวณนั้นมีสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นก็จะตายในที่สุด

 

 

 

3.3 ฮีเลียม (Helium: He)

       

 

รูปสัญลักษณ์ทางเคมีของธาตุฮีเลียม

 

      ฮีเลี่ยมเหลวจัดว่าเป็นก๊าซเฉื่อย, ไม่มีสี, ไม่มีกลิ่น, ไม่กัดกร่อน, มีความเย็นยวดยิ่ง และไม่ติดไฟ อัตราการขยายตัวของฮีเลียม 1: 700 

 

 

รูปลูกโป่งสวรรค์ ภายในบรรจุก๊าซฮีเลียม

 

      ถ้าเกิดอุบัติเหตุรั่วไหลบริเวณนั้นจะเป็นจุดอับออกซิเจน จะหายใจไม่ออก และถ้าบริเวณนั้นมีสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นก็จะตายในที่สุด

 

 

 

3.4 ไฮโดรเจน (Hydrogen: H2)

 

 

รูปสัญลักษณ์ทางเคมีของธาตุไฮโดรเจน

 

       ไฮโดรเจนเหลว เป็นสารไวไฟ, ไม่มีสี, ไม่มีกลิ่น, ไม่กัดกร่อน และมีความเย็นยวดยิ่ง 700 ถ้าเกิดอุบัติเหตุรั่วไหลบริเวณนั้นจะเป็นจุดอับออกซิเจน จะหายใจไม่ออก ตาย และเสี่ยงต่อการเกิดระเบิดได้

 

 

รูปรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิง ที่ใช้พลังงานจากไฮโดรเจน

 

 

 

จุดเดือด

จุดเยือกแข็ง

อุณหภูมิวิกฤติ

ความดันวิกฤติ

Psia (atm)

K

°F

°C

K

°F

°C

K

°F

°C

N2

77.32

-320.5

-195.8

63.4

-320.5

-210.0

126.1

-232.4

-146.9

493 (33.5)

Ar

87.4

-297.6

-185.9

63.46

-308.9

-189.4

150.8

-188.4

-122.4

705 (48.0)

He

4.26

-452.1

-268.9

-

-458.0

-272.2

5.2

-450.3

-268.0

33.2 (2.26)

H2

20.43

-423.0

-252.5

13.98

-431.4

-259.14

32.976

-399.9

 

12.76 atm

ตารางที่ 2 แสดงอุณหภูมิและความดันของสารที่นำไปใช้กับระบบไครโอเจนิกส์

 

              

ทำการเปรียบเทียบจุดเดือดของสารทำความเย็น R-22 กับสารที่ใช้กับระบบไครโอเจนิกส์

 

 

สารที่ใช้ทำความเย็น

จุดเดือด

°F

°C

K

R-22

-41.4

-40.76

232.4

AR

-297.6

-185.76

87.4

H2

-423.0

-252.73

20.43

O2

-297.3

-183.03

90.13

N2

-350.5

-195.78

77.35

He

-452.1

-268.9

4.26

Ne

-410.4

-245.95

27.21

ตารางที่ 3 เปรียบเทียบจุดเดือดของสารที่ใช้ทำความเย็น

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“บ้านเราที่น่าอยู่ ไม่จำเป็นที่จะต้องหรูหรา

แค่ สามารถทำให้พร้อมหน้าพร้อมตากัน เวลาทานข้าวก็พอ”



Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา