บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,515
เมื่อวาน 984
สัปดาห์นี้ 12,544
สัปดาห์ก่อน 29,853
เดือนนี้ 59,701
เดือนก่อน 65,987
ทั้งหมด 4,874,953
  Your IP :18.116.87.221

ความเย็นเหนือเย็น

ไครโอเจนิกส์เบื้องต้น (Fundamental of Cryogenics)

 

 

รูปสัญลักษณ์ความเย็น

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

 

รูปเกล็ดน้ำแข็ง

 

 

รูปผลึกน้ำแข็ง

 

บทนำ

 

ในความหมายของไครโอเจนิกส์ (Cryogenics) ในทางฟิสิกส์ ก็คือ การศึกษาเพื่อดูพฤติกรรม และนำไปสร้างวัสดุที่สามารถทนทานต่ออุณหภูมิต่ำมาก ๆ ได้

 

ไครโอเจนิกส์ มันเป็นการทำความเย็นชนิดหนึ่ง แต่มีความแตกต่างจากการทำความเย็นโดยทั่วไป กล่าวคือ การทำความเย็นที่เราพบเห็นโดยทั่วไป อุณหภูมิจะลดต่ำลงไม่มาก เมื่อเทียบสถานะของการทำความเย็นแบบไครโอเจนิกส์ นักวิทยาศาสตร์กำหนดให้อุณหภูมิของไครโอเจนิกส์สามารถทำได้ต่ำกว่า -150 °(-238 °F)

 

 

รูปการทำความเย็นสุดขั้ว

 

        สถานะในการทำความเย็นแบบไครโอเจนนิกส์นั้น (ต่ำกว่า-150 °C) จะมีผลต่อโครงสร้างวัสดุอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น เหล็กกล้าคาร์บอนเมื่อถูกอุณหภูมิที่ต่ำมาก ๆ โครงสร้างภายในจะเปลี่ยนแปลงไปทำให้เหล็กกล้านั้นมีความเปราะ จนถึงมีการแตกร้าวในเนื้อวัสดุได้

 

 

รูปเฟืองที่ทำจากเหล็กกล้า ถูกนำไปแช่แข็ง

 

 

ความเป็นมา

 

      แนวคิดทฤษฏีของไครโอเจนิกส์ ได้เริ่มต้นในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2403 เป็นแนวคิดในการลดอุณหภูมิก๊าซ ให้มีความเย็นใกล้อุณหภูมิของจุดวิกฤติ จนสถานะของก๊าซนั้นเป็นของเหลว

 

      ตัวอย่างก๊าซที่มีความคิดที่จะลดอุณหภูมิให้เป็นของเหลว เช่น ออกซิเจน (Oxygen: O2)ไนโตรเจน (Nitrogen: N2)ฮีเลียม (Helium: He) ฯลฯ

 

      ในปี พ.ศ. 2420 ชาลเลทท์ (Cailiet) นักวิทยาศาสตร์ของประเทศฝรั่งเศส และ พิคเต็ต (Pictet) นักวิทยาศาสตร์ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทั้งคู่ได้ร่วมกันทำให้ออกซิเจนนั้นเป็นของเหลวได้เป็นผลสำเร็จ งานของพวกเขาได้ทำการทดลองก๊าซออกซิเจน ศึกษาพฤติกรรมจุดเดือด และจุดหลอมเหลวของก๊าซ ศึกษาการทำความเย็น การแลกเปลี่ยนความร้อนของสาร

 

 

รูปถังเก็บความเย็นในรูปของเหลวของบริษัทดีวอร์

 

      ในปี พ.ศ. 2435 บริษัท ดีวอร์ (Dewar) ได้พัฒนาถังเก็บบรรจุก๊าซที่มีความเย็นต่ำ ประกอบไปด้วย ผนังแก้วจำนวน 2 ชั้น ภายในเป็นสุญญากาศ ผนังภายในจะเคลือบด้วยเงิน ทำให้เก็บความเย็นได้นานขึ้น ก๊าซที่เขาเก็บจะเป็นก๊าซฮีเลียม (He) และได้ใช้ก๊าซไนโตรเจนเหลวมาป้องกันการแผ่รังสีความร้อน

 

 

รูปคาร์ล วอน ลินเด

 

      ทฤษฏีการทำความเย็นโดยใช้อุปกรณ์ทางกล มี คาร์ล วอน ลินเด (Carl Von Linde) ในปี พ.ศ. 2413 เขาได้เขียนหนังสือออกมาเรื่อง “การใช้วิธีการทางกล ในการดึงเอาความร้อนออกมาจากสาร จนสารมีอุณหภูมิต่ำ” 

 

      อุปกรณ์ที่เขาสร้างขึ้นนำมาใช้ในโรงงานต้มเหล้าที่ออสเตรีย ได้นำการออกแบบความเย็นของเขามาใช้ในการผลิตเหล้า 11 ปีหลังจากนั้นมีโรงงานมากกว่า 1,000 แห่ง นำอุปกรณ์ความเย็นที่เขาได้ออกแบบมาใช้ในโรงงาน

 

      ลินเดได้ทำการศึกษาอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับหลักการของอุณหพลศาสตร์(Thermodynamics) และงานของทอมสัน และจูล จนในปี พ.ศ. 2438   ลินเด ได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ที่สามารถทำให้อากาศเป็นของเหลวได้ ซึ่งเป็นการเตรียมการเอาไว้ในการที่จะทำให้ก๊าซออกซิเจนเป็นของเหลวต่อไป

 

      กระบวนการในการทำให้เป็นของเหลวของลินเด ขึ้นอยู่กับก๊าซที่มีความดันสูง และผลของจูล-ทอมสัน แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ว่ากระบวนการนี้มีอัตราการสูญเสียพลังงานที่มากเกินไป

 

 

รูปจอร์จ คลอท

 

      ในปี พ.ศ. 2445 จอร์จ คลอท (George Claude) นักวิทยาศาสตร์ของฝรั่งเศส ได้พัฒนา เครื่องอัดแบบลูกสูบ ที่ทำให้อากาศเป็นของเหลว โดยออกมาเป็นงานทางกล กระบวนการนี้ให้ประสิทธิภาพทางด้านพลังงานมากกว่า และทำงานที่ความดันต่ำ อากาศที่เป็นของเหลวถูกสร้างขึ้นในกระบวนการนี้ ในภายหลัง ได้ตั้งเป็นบริษัท แอร์โค (Airco)

 

วิดีโอสารคดีเกี่ยวกับไครโอเจนิกส์

 

 

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“อุปสรรค ของคนกลัวเรียกว่า ปัญหา

 

ส่วนอุปสรรค ของคนกล้าเรียกว่า ความท้าทาย ”

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา