บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 576
เมื่อวาน 984
สัปดาห์นี้ 11,605
สัปดาห์ก่อน 29,853
เดือนนี้ 58,762
เดือนก่อน 65,987
ทั้งหมด 4,874,014
  Your IP :3.133.109.251

17. วาล์ว และโมดูเลเตอร์

 

      หากต้องการทราบวิธีการเปลี่ยนเกียร์อย่างไรให้เหมาะสมในเกียร์อัตโนมัติ ก็ควรทราบว่าเครื่องยนต์ทำงานอย่างไร มีอยู่สองวิธีในการทำงานแบบนี้ วิธีแรกคือใช้สายเคเบิลเพื่อต่อกับวาล์วเร่ง (Throttle valve) เพื่อส่งกำลัง

 

 

รูปตัวอย่างตัววาล์วเร่งในเกียร์ออโต้

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

ส่วนอีกวิธีคือ จะใช้ โมดูเลเตอร์ หรือตัวปรับแบบสุญญากาศ (Vacuum modulator) เพื่อใช้ความดันช่วยในการเปิดวาล์วเร่งเครื่อง โมดูเลเตอร์จะมีความไวต่อความดันในท่อร่วมไอดี ซึ่งจะเพิ่มขึ้นเมื่อเครื่องยนต์มีโหลดมากขึ้น

 

 

รูปตำแหน่งการติดตั้งตัวปรับสุญญากาศในกระปุกเกียร์ออโต้

 

 

รูปตัวปรับแบบสุญญากาศ

 

      วาล์วธรรมดา (Manual valve) เมื่อเลื่อนคันโยกเลือกเกียร์ วาล์วธรรมดาจะควบคุมวงจรไฮดรอลิกส์เพื่อยับยั้งเฟืองบางตัว ยกตัวอย่างเช่น หากเปลี่ยนเกียร์ไปเป็นเกียร์ 3 จะมีการป้อนวงจรเพื่อป้องกันไม่ให้โอเวอร์ไดรว์มาทำงานร่วมกับเกียร์ 3

 

 

รูปวาล์วธรรมดา

 

      วาล์วเปลี่ยนเกียร์ (Shift valves) ทำหน้าที่จัดหาแรงดันไฮดรอลิกส์เพื่อส่งไปยังคลัตซ์ และสายแถบคาด เพื่อยึดเกียร์แต่ละชุด ที่ลำตัววาล์วในการส่งกำลังจะมีวาล์วเปลี่ยนเกียร์หลายวาล์ว วาล์วเปลี่ยนเกียร์จะคำนวณเมื่อเปลี่ยนจากเกียร์หนึ่งไปสู่เกียร์ต่อไป

 

      ยกตัวอย่างเช่น วาล์วเปลี่ยนเกียร์ 1 ไป 2 กำหนดเมื่อจะเปลี่ยนจากเกียร์แรกไปเกียร์สอง วาล์วเปลี่ยนเกียร์ให้ความดันกับของไหลจากกัฟเวอร์นเนอร์ในอีกด้านหนึ่ง และวาล์วเร่ง ในอีกด้านหนึ่งปั๊มจะจ่ายของไหล และจะส่งของไหลไปยังวงจรต่าง ๆ เพื่อควบคุมการทำงาน ของเกียร์ในขณะที่รถทำงานอยู่

 

 

รูปวาล์วเปลี่ยนเกียร์

 

      วาล์วเปลี่ยนเกียร์จะหน่วงเวลาการเปลี่ยน หากว่ารถมีการเร่งเครื่องเร็วขึ้น ถ้ารถค่อย ๆ เร่งเครื่อง การเปลี่ยนเกียร์จะเกิดขึ้นที่ความเร็วรอบต่ำ

 

 

รูปวงจรเปลี่ยนเกียร์อย่างง่าย

 

      เมื่อรถเพิ่มความเร็ว ความดันจากกัฟเวิร์นเนอร์ถูกสร้างขึ้น แรงนี้ทำให้วาล์วเปลี่ยนเกียร์รอทำงานจนกว่าวงจรเกียร์แรกจะปิดลง และวงจรเกียร์สองเปิดขึ้น เนื่องจากรถกำลังเร่งเครื่องที่วาล์วเร่งเปิดเล็กน้อย วาล์วเร่งมันไม่ได้ใช้ความดันมากกว่าวาล์วเปลี่ยนเกียร์

 

      เมื่อรถยนต์ถูกเร่งอย่างรวดเร็ว วาล์วเร่งจะใช้ความดันมากขึ้นกว่าวาล์วเปลี่ยนเกียร์ นี้หมายถึงความดันจากกัฟเวิร์นเนอร์จะมีค่าสูงกว่า (เนื่องจากความเร็วของรถเร็วขึ้น) ก่อนวาล์วเปลี่ยนเกียร์เคลื่อนที่ขึ้นไปไกลเพียงพอที่จะเริ่มเข้าสู่เกียร์สองได้

 

      วาล์วเปลี่ยนเกียร์แต่ละตัวตอบสนองต่อช่วงความดันเฉพาะ ดังนั้นเมื่อรถยนต์กำลังจะแล่นเร็วขึ้น วาล์วเปลี่ยนเกียร์ 2 ไป 3 จะใช้เวลามากกว่า เพราะความดันจากกัฟเวิร์นเนอร์สูงเพียงพอที่จะสับไกวาล์วได้

 

วิดีโอแสดงตัวเรือนวาล์วของเกียร์ออโต้

 

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“การลงมือทำอะไรแล้ว ผิดพลาด

ดีกว่าอยู่เฉย ๆ

แล้วไม่เรียนรู้ อะไรเลย”

 

<หน้าที่แล้ว                                 สารบัญ                    หน้าต่อไป>

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา