14. คลัตช์ และสายแถบคาดในเกียร์อัตโนมัติ
รูปภาคตัดของเกียร์อัตโนมัติ
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
ในหัวข้อที่แล้ว เราได้อธิบายถึงอัตราทดของแต่ละเกียร์ที่สร้างขึ้นเพื่อการส่งกำลัง แล้วเราได้กล่าวอธิบายถึงโอเวอร์ไดรว์ เรากล่าวได้ว่า
รูปชุดคลัตช์ และสายแถบคาด
ในการส่งผ่านนี้ เมื่อมีการใช้โอเวอร์ไดรว์ เพลาที่ติดมากับตัวเรือนของทอร์ค คอนเวอร์เตอร์ (ซึ่งเป็นสลักเกลียวที่ล้อช่วยแรงของเครื่องยนต์) ถูกเชื่อมต่อโดยคลัตช์แล้วส่งกำลังไปที่เฟืองบริวาร ล้อช่วยแรงที่ต่อกับเฟืองพระอาทิตย์เล็ก และเฟืองพระอาทิตย์ที่ใหญ่จะถูกจับโดยสายแถบคาดโอเวอร์ไดรว์ จึงไม่มีอะไรเชื่อมต่อกับเทอร์ไบน์ มีเพียงแค่ขาเข้าจากตัวเรือนคอนเวอร์เตอร์เท่านั้น
เพียงแค่มีการส่งกำลังไปยังโอเวอร์ไดรว์ จะมีการเชื่อมต่อ และตัดต่อของชุดคลัตช์ และสายคาดจำนวนมาก ชุดเฟืองสุริยะเชื่อมต่อกับที่ตัวเรือนทอร์ค คอนเวอร์เตอร์ด้วยคลัตช์ เฟืองพระอาทิตย์ที่มีขนาดเล็กกว่าได้เชื่อมต่อกำลังจากกังหันโดยคลัตช์เช่นกัน เพื่อที่จะสามารถส่งกำลังมาจากล้อช่วยแรง เฟืองพระอาทิตย์ที่ใหญ่จะจับที่ตัวเรือนโดยสายแถบคาด ดังนั้น จึงไม่ทำให้มันหมุน
แต่ละการเปลี่ยนเกียร์ทริกเกอร์จะเกิดขึ้นแบบเป็นอนุกรมของเหตุการณ์เหล่านี้ แล้วมีการทำงานด้วยคลัตช์ และสายแถบคาดที่แตกต่างกันไป เพื่อทำหน้าที่ตัด / ต่อการทำงาน
สายแถบคาด
รูปสายแถบคาด
ในการส่งกำลังจะมีสายแถบคาดหลักอยู่สองเส้นที่อยู่ในระบบการส่งกำลัง นั่นก็คือ เป็นสายคาดแบบเหล็กกล้าที่หุ้มรอบส่วนของขบวนเฟืองเกียร์ และสายแถบคาดที่เชื่อมต่อกับตัวเรือน พวกมันจะมีกระบอกไฮดรอลิกส์ข้างในเพื่อใช้ในการจับ ตัด / ต่อการส่งกำลัง
รูปสายแถบคาดหนึ่งเส้น
ในรูปข้างบน คุณจะเห็นสายแถบคาดเส้นหนึ่งในตัวเรือนของการส่งกำลัง ขบวนเฟืองจะถูกเอาออกเพื่อจะได้เห็นอย่างชัด ๆ จะมีแท่งโลหะที่ถูกเชื่อมต่อกับลูกสูบ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่จะทำงานที่สายคาด
รูปลูกสูบที่เป็นอุปกรณ์ทำงานแล้วส่งกำลังไปควบคุมสายแถบคาด
ที่รูปด้านบน คุณจะเห็นลูกสูบอยู่สองตัวที่เป็นอุปกรณ์ทำงานกับสายแถบคาด ความดันไฮดรอลิกส์ จะมีเส้นทางไปยังกระบอกสูบ ควบคุมโดยชุดของวาล์ว ทำให้ลูกสูบเกิดความดันแล้วส่งแรงไปยังสายแถบคาด เพื่อล็อกชุดขบวนเฟืองที่อยู่ในตัวเรือน
คลัตช์
คลัตช์ ในการส่งกำลังมีขนาดเล็กที่มีความซับซ้อน ในการส่งกำลังนี้ มีคลัตช์อยู่สี่ตัว ซึ่งแต่ละตัวเป็นอุปกรณ์ทำงานโดยมีความดันจากของไหลไฮดรอลิกส์เข้าทางลูกสูบภายในคลัตช์ จะมีสปริงอยู่ด้วยเพื่อทำให้แน่ใจว่าเมื่อปลดคลัตช์ออกมันจะจากกันจริงเมื่อความดันไฮดรอลิกส์ลดลง
รูปคลัตช์ตัวหนึ่งในการส่งกำลัง
รูปด้านบนจะเห็นลูกสูบ และดรัมคลัตช์ ขอให้สังเกตซีลยางในลูกสูบ นี้เป็นหนึ่งของชิ้นส่วนหนึ่งเมื่อมีการรื้อซ่อมก็ควรที่จะทำการเปลี่ยนไปด้วย
รูปแผ่นคลัตช์
ที่รูปแผ่นคลัตช์ แสดงให้เห็นว่ามีการสลับชั้นกันของคลัตช์ระหว่างวัสดุที่มีความฝืด กับแผ่นเหล็กกล้า วัสดุความฝืดจะมีร่องสไปลน์อยู่ข้างใน ซึ่งมันจะล็อกเกียร์หนึ่ง ๆ ส่วนแผ่นเหล็กกล้า จะมีร่องสไปลน์อยู่วงนอก เพื่อมันจะล็อกคลัตช์กับตัวเรือน ชุดแผ่นคลัตช์เหล่านี้เมื่อมีการรื้อซ่อมก็ควรที่จะทำการเปลี่ยนใหม่ไปด้วย
ความดันสำหรับให้คลัตช์ทำงาน จะถูกป้อนผ่านรูทางเดินของไหลที่อยู่ในเพลา ระบบไฮดรอลิกส์จะทำหน้าที่ควบคุมคลัตช์ และสายแถบคาดตัด / ต่อการทำงาน ในขณะรถยนต์ทำงานตามเกียร์ที่เปลี่ยนไป
วิดีโอแอนิเมทชันการทำงานของเกียร์อัตโนมัติ
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
ร่วมน้อมรำลึกถึง คำพ่อสอน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต
“การทำงานใด ๆ ไม่ว่าเล็ก ใหญ่ ง่าย ยาก
ถ้าย่อหย่อนจากความเพียร แล้ว
ยากที่จะให้สำเร็จเรียบร้อยทันเวลาได้
และเมื่อใดพลังของความเพียรนี้เกิดขึ้น
เมื่อนั้นการงานทั้งหลายก็สำเร็จได้โดย ง่ายดาย และรวดเร็ว”
พระบรมราโชวาท ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในพิธีพระราชทาน ปริญญาบัตร
แก่ผู้สำเร็จการศึกษาจาก
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๒๒
ขอน้อมส่งพระองค์สู่สวรรคาลัย
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
<หน้าที่แล้ว สารบัญ หน้าต่อไป>