12. โอเวอร์ไดรว์
รูปหน้าปัดรถยนต์ แสดงถึงการใช้งานของระบบเกียร์โอเวอร์ไดรว์
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
คำนิยาม โอเวอร์ไดรว์ (Overdrive) คือ เป็นระบบการเข้าเกียร์ที่ มันมีความเร็วด้านขาออกมีมากกว่าความเร็วรอบด้านขาเข้า ทำให้มีความเร็วรอบที่เพิ่มสูงขึ้น
ในการส่งกำลังนี้ โอเวอร์ไดรว์จะทำให้เกิดสองสิ่งเกิดขึ้นในคราวเดียว คือการที่ทอร์ค คอนเวอร์เตอร์ กับชุดเกียร์ติดกัน ทำงานไปพร้อมกัน
ระบบของโอเวอร์ไดรว์จะมีการล็อกทอร์ค คอนเวอร์เตอร์ กับเกียร์ จะทำให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เพราะเครื่องยนต์จะเข้ามาขับโดยตรงโดยผ่านเพียงบางส่วนของระบบเกียร์อัตโนมัติเท่านั้น รถบางคันจะมีกลไกล็อกอัพทอร์ค คอนเวอร์เตอร์ เพื่อให้ความเร็วรอบขาออกของเครื่องยนต์ ถูกส่งกำลังไปยังเพลากับล้อโดยตรง
รูปตัวอย่างปุ่มโอเวอร์ไดรว์ เพื่อเปลี่ยนไปเป็นการขับเคลื่อนแบบโอเวอร์ไดรว์
กระบวนการทำงานในการส่งกำลังนี้ เมื่อโอเวอร์ไดรว์ทำงาน เพลาที่ต่อเข้ากับตัวเรือนของทอร์ค คอนเวอร์เตอร์ (ซึ่งยึดติดกับล้อช่วยแรงของเครื่องยนต์) ต่อกันกับคลัตช์ที่เฟืองบริวาร เฟืองพระอาทิตย์ขนาดเล็ก, ล้อช่วยแรง, และเฟืองพระอาทิตย์ขนาดใหญ่ถูกจับโดยสายแถบคาด
เกียร์หลังไม่มีการเชื่อมต่อกับเทอร์ไบน์ ซึ่งมีเพียงขาเข้าเท่านั้นที่มาจากตัวเรือนคอนเวอร์เตอร์ ลองกลับไปที่ดูที่รูปแอนิเมทชัน ของเราอีกครั้ง (ตัวดี มีวงกลมล้อมรอบ คือตำแหน่งของเกียร์โอเวอร์ไดรว์)
แอนิเมทชันการเปลี่ยนเป็นเกียร์ต่าง ๆ ของเกียร์อัตโนมัติ (ซ้ำ)
เวลานี้จะมีเฟืองบริวารสำหรับรับความเร็วรอบขาเข้า เฟืองพระอาทิตย์ถูกตรึงกับที่ และเฟืองวงแหวนสำหรับหมุนผ่านด้านความเร็วรอบขาออก
อัตราทด = 1 / (1 + S / R) = 1 / (1 + 36 / 72) = 0.67:1
ดังนั้น ทำให้ ความเร็วรอบด้านขาออกหมุน ด้วยความเร็วรอบสูงขึ้นเมื่อเทียบกับการหมุนของเครื่องยนต์
ยกตัวอย่างเช่น หากเครื่องยนต์หมุน ที่ 2000 รอบต่อนาที (Rotation Per Minute: RPM) ความเร็วรอบขาออกก็คือ 3000 rpm นี้จะช่วยให้รถสามารถขับด้วยความเร็วกว่าความเร็วรอบของเครื่องยนต์ที่มีความเร็วรอบการหมุนที่ช้ากว่า
วิดีโอแสดงการใช้งานของเกียร์โอเวอร์ไดรว์
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
ร่วมน้อมรำลึกถึง คำพ่อสอน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต
“บ้านเมืองของเรา กำลังต้องการการปรับปรุง และการพัฒนา
ที่มีประสิทธิภาพ ทางที่เราจะช่วยกันได้ก็คือ
การที่ทำความคิดให้ถูก และแน่วแน่
ในอันที่จะยึดถือประโยชน์ของบ้านเมืองเป็นที่หมาย
ต้องเพลาการคิดถึงประโยชน์เฉพาะตัว
และความขัดแย้งกันในสิ่งที่มิใช่สาระลง”
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทยในโอกาสขึ้นปีใหม่ ๒๕๔๓
ขอน้อมส่งพระองค์สู่สวรรคาลัย
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ