10. เข้าเกียร์ดีสอง
การส่งกำลังนี้ระบบจะทำการเข้าเกียร์ โดยได้รับอัตราทดที่จำเป็นสำหรับเกียร์ลำดับที่สอง หน้าที่ของชุดเฟืองสุริยะชุดที่สองที่ทำงานเชื่อมต่อกับเฟืองบริวารชุดแรก
รูปภาคตัดภายในของเกียร์อัตโนมัติ
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
ขั้นแรกของเฟืองบริวาร มีการขับเฟืองสุริยะขนาดใหญ่ กับเฟืองวงแหวน ดังนั้นขั้นตอนแรกจะประกอบไปด้วยเฟืองพระอาทิตย์ (เฟืองพระอาทิตย์ที่มีขนาดเล็กกว่า) เฟืองบริวาร และวงแหวน (เฟืองพระอาทิตย์ที่ใหญ่กว่า)
รูปคันเกียร์
ในด้านขาเข้า ประกอบไปด้วย เฟืองพระอาทิตย์อันเล็ก เฟืองวงแหวน (พ่วงกับเฟืองพระอาทิตย์ขนาดใหญ่) ถูกจับให้อยู่กับที่โดยสายแถบคาด และในด้านขาออกก็คือ เฟืองบริวาร
สำหรับขั้นตอนนี้ จะพบว่าเฟืองพระอาทิตย์เป็นขาเข้า ส่วนเฟืองบริวารเป็นขาออก และเฟืองวงแหวนถูกตรึงอยู่กับที่ โดยมีสูตรคำนวณอัตราทดดังนี้
1+R/S = 1 + 36/30 = 2.2:1
นั่น คือ เฟืองบริวารหมุน 2.2 รอบ ต่อการหมุนของเฟืองพระอาทิตย์เล็กที่หมุนหนึ่งรอบ
ในขั้นที่สอง เฟืองบริวารถูกทำเป็นขาเข้าต่อโยงกับชุดเฟืองสุริยะชุดที่สอง เฟืองพระอาทิตย์ที่ใหญ่กว่า (ซึ่งถูกจับให้อยู่นิ่ง) ทำให้เฟืองพระอาทิตย์ และเฟืองวงแหวนถูกกระทำเป็นขาออก ดังนั้นอัตราทดเกียร์ ก็คือ
1 / (1 + S/R) = 1 / (1 + 36/72) = 0.667:1
เพื่อให้ได้ปฏิกิริยาอัตราทดโดยรวม สำหรับเกียร์สอง เราคูณอัตราทดแรกด้วยอัตราทดที่สอง
2.2 ´0.67 = 1.474
ซึ่งอัตราทดจะลงเหลือ 1.47:1 ซึ่งเมื่อมองดูแล้วอาจจะดูประหลาด แต่หากลองดูรูปแอนิเมทชันแล้ว จะเข้าใจแนวคิดของการทำงานนี้
แอนิเมทชันการเปลี่ยนเป็นเกียร์ต่าง ๆ ของเกียร์อัตโนมัติ (ซ้ำ)
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“ผมมักจะเลือก คนที่ “ขี้เกียจ” (แต่มีความรับผิดชอบ)
ให้เขาได้ทำงาน ที่ยาก ๆ เสมอ
เพราะเขามักจะหาหนทางที่ “ง่าย” ที่สุด
เพื่อทำให้งานสำเร็จ
I will always chose a lazy person
to do a difficult job, because,
he will find and easy way to do it.”
Bill Gates
|