7. อัตราทดของชุดเฟืองสุริยะ
ชุดเฟืองสุริยะ 1 ชุด
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
ชุดเกียร์สุริยะโดยทั่วไปหนึ่งชุด ที่มีการส่งกำลัง จะมีเฟืองวงแหวน 72 ฟัน และเฟืองพระอาทิตย์ 30 ฟัน ทำให้เราสามารถทำการคำนวณ จนได้จำนวนของอัตราทดที่แตกต่างกันดังนี้
แบบที่
|
ขาเข้า (รับมาจากเครื่องยนต์)
|
ขาออก (ไปที่เพลาส่งไปยังล้อ)
|
จับนิ่งอยู่กับที่
|
คำนวณ
|
อัตราทดของเกียร์
|
A
|
เฟืองพระอาทิตย์ (S)
|
เฟืองบริวาร (C)
|
เฟืองวงแหวน (R)
|
1 + R/S
|
3.4:1
|
B
|
เฟืองบริวาร(C)
|
เฟืองวงแหวน(R)
|
เฟืองพระอาทิตย์ (S)
|
1 / (1+S/R)
|
0.71:1
|
C
|
เฟืองพระอาทิตย์ (S)
|
เฟืองวงแหวน(R)
|
เฟืองบริวาร(C)
|
- R/S
|
-2.4:1
|
นอกจากนี้ยังมี ยังมีการล็อคชุดเฟืองสองตัวจากสามตัวให้ประกบเข้าด้วยกัน จะทำให้เกิดอัตราทดเกียร์ที่ 1:1
ให้สังเกตว่าเกียร์แต่ละตำแหน่งจากตารางด้านบน จะแตกต่างกัน คือ
แบบ A รอบลดลง (Reduction) คือ ความเร็วที่ขาออก (ไปที่ล้อ) จะช้ากว่าความเร็วขาเข้า (มาจากเครื่องยนต์) ถ้าเทียบแล้วเป็นเกียร์ 1 ของกระปุกเกียร์ธรรมดา เพื่อใช้ในการออกตัวของรถ
แบบ B เกียร์สอง คือ โอเวอร์ไดรว์ (Overdrive) ความเร็วรอบขาออกจะสูงกว่า ความเร็วรอบขาเข้า ก็คือรถที่วิ่งด้วยความเร็วบนถนน
แบบ C เกียร์สุดท้าย คือ รอบลดลงอีกครั้ง แต่รอบการหมุนจะกลับทาง ถ้าเทียบกันก็คือคือ เกียร์ถอยหลัง (Reversed)
ส่วนที่ใช้งานจริงจะมีความซับซ้อนกว่านี้ เพราะชุดเฟืองจะอยู่อย่างน้อย 2 ชุด ทำให้มีอัตราทดมากกว่านี้ จากชุดเฟืองสุริยะหลายชุดทำงานประกอบกัน
ตัวอย่างอัตราทดต่าง ๆ ของชุดเฟือง เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจง่ายขึ้น ดูได้จากแอนิเมทชันด้านล่าง
แอนิเมทชันเกียร์สุริยะ
ดังนั้น ชุดเฟืองสุริยะหนึ่งชุด สามารถทำได้ 3 อัตราทด ของจริงจะมีชุดเฟืองสุริยะอย่างน้อยอีกชุดมาประกอบใช้งานร่วมอยู่ในแนวแกนเดียวกัน ทำให้อัตราทดแต่ละเกียร์มากขึ้น เช่น เดินหน้ามีสี่เกียร์ มีเกียร์ถอยหลังหนึ่งเกียร์ ซึ่งในส่งกำลังที่ใช้ในรถยนต์มักจะมีชุดเกียร์ประกบกันสองชุด ซึ่งจะได้กล่าวในหัวข้อต่อไป
วิดีโอแอนิเมทชันการทำงานของชุดเฟืองสุริยะ
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“การทำผิด เกิดขึ้นได้กับทุกคน
แต่ การสำนึกตน
เป็นเรื่องของบางคน ที่คิดได้”
|