11. เทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือยุค 4จี
รูป 4 จี
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
รูป 3 จี กับ 4 จี
รูปเปรียบเทียบยุคต่าง ๆ
โทรศัพท์มือถือยุค 4 จี มีใช้ครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2549 โครงข่าย 4 จี เริ่มต้นใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า เทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูง หรือไวแมกซ์ (Worldwide Interoperability for Microwave Access: WiMAX) ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายวิธีการของ 4 จี
รูปไวแมกซ์
วิดีโอไวแมกซ์
เช่นเดียวกันกับยุคก่อนหน้านี้ 4 จี ในตอนแรกยังไม่ได้ถูกกำหนดเป็นมาตรฐาน มันเป็นเพียงขั้นตอนต่อไปของความเร็วการใช้งานที่เพิ่มขึ้น
ผู้ให้บริการชั้นนำเกือบทุกค่าย จะมีเครือข่ายการทำงานแบบ 4 จีไว้ให้บริการ ในขั้นตอนต่าง ๆ ของการพัฒนา และการครอบคลุมการใช้งาน 4 จี จะถูกสร้างขึ้นบนหลักการของเทคโนโลยีสามรูปแบบ ในการเข้าถึงเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ ซึ่งได้แก่ ไวแมกซ์, วิวัฒนาการแบบชุดแพ็คเก็ตเข้าถึงความเร็วสูง หรือเฮชเอสพีเอ+ (Evolved High-Speed Packet Access: HSPA+) และ วิวัฒนาการระยะยาว หรือแอลทีอี (Long Term Evolution: LTE)
รูปเทคโนโลยี 4 จี
ไวแมกซ์ ค่อนข้างน่าตื่นตาตื่นใจ ในการนำมาใช้ในโทรศัพท์มือถือ การทำงานจะอยู่บนพื้นฐานของ มาตรฐานไร้สาย 802.16 หรือรู้จักกันในชื่อว่า อินเตอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง (Wireless broadband internet) ซึ่งมีใช้ในที่พักอาศัย และในสำนักงาน
รูปการใช้งานไวแมกซ์ เครือข่ายไร้สายความเร็วสูง
วิดีโอไวแมกซ์
ไวแมกซ์จะมีกระบวนการทำซ้ำสองครั้งในการเข้าถึงของมาตรฐานเหล่านั้น โดยมาตรฐาน 802.16e ซึ่งสนับสนุนการเข้าถึง และนำไปใช้ในขอบเขตผ่านโทรศัพท์มือถือ จะส่งสัญญาณโดยใช้ วิธีการแบ่งความถี่ฉากทวีคูณ หรือโอเอฟดีเอ็ม (Orthogonal Frequency Division Multiplexing: OFDM) เป็นวิธีการแบ่งสัญญาณข้อมูลไปยังหลายช่องทางเพื่อเพิ่มความเร็วในการส่ง และจากนั้นก็รวมบิตทั้งหมดกลับไปเป็นหน่วยเดียวที่ปลายทาง
ในทางทฤษฏีไวแมกซ์สามารถส่งข้อมูลได้มากถึง 40 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) แต่ในความเป็นจริงน้อยกว่านั้นมาก
เฮชเอสพีเอ+ เป็นการปรับรุ่นมาจากวิธีการระยะยาวที่มีอยู่ในโทรศัพท์มือถือ เฮชเอสพีเอที่เคยถูกสร้างขึ้นบนโครงสร้างพื้นฐาน 3 จี ในเทคโนโลยีที่ชื่อว่า ดับเบิลยูซีดีเอ็มเอ (WCDMA) ซึ่งถือเป็นสัญญาณในหนึ่ง หรือสองแถบความถี่ อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นอยู่กับโหมดที่เลือก
รูปเฮชเอสพีเอ+
ในรูปแบบ 3 จี เครือข่ายเฮชเอสพีเอ มีการส่งถ่ายข้อมูลได้สูงสุดด้วยความเร็วถึง 14.4 เมกะบิตต่อวินาที โดยมีการใช้คำสั่งที่สูงกว่าโดยใช้ การโมดูเลตความกว้างพื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือคิวเอเอ็ม (Quadrature Amplitude Modulation: QAM) เป็นการเข้ารหัสกระแสสตรีมที่หลากหลายของข้อมูลโดยใช้การส่งเพียงครั้งเดียว ซึ่งเป็นการลอกเลียนแบบแบนวิดธ์ที่เพิ่มขึ้น
ผู้ให้บริการสามารถเพิ่มความเร็วให้ เฮชเอสพีเอ+ โดยเพิ่มความเร็วได้ถึง 21 เมกะบิตต่อวินาที แล้วยิ่งมีการปรับปรุงเสาอากาศให้ดียิ่งขึ้น ก็อาจเพิ่มอัตราการส่งแบบ เฮชเอสพีเอ+ เพิ่มมากยิ่งขึ้นไปอีก
แม้จะมองเห็นได้ชัดขึ้นจากความเร็ว ที่โทรศัพท์มือถือที่ใช้ทั้งไวแมกซ์ และเฮชเอสพีเอ+ แต่ก็ยังมีการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี 4 จี เข้าไปสู่เทคโนโลยีทีเรียกว่า แอลทีอี ซึ่งจะได้กล่าวถึงในตอนหน้า
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“คนที่ขยัน
ไม่มีคำว่าอดตาย”
|