9. เครือข่าย 2 จี: จีเอสเอ็ม และซีดีเอ็มเอ
รูปซีดีเอ็มเอ และจีเอสเอ็ม
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
ทีดีเอ็มเอ ยังใช้เป็นแนวทางในการเข้าถึงเทคโนโลยี การสื่อสารเคลื่อนที่สำหรับระบบทั่วโลก หรือจีเอสเอ็ม (Global System for Mobile Communications: GSM) อย่างไรก็ตามจีเอสเอ็มทำงาน เมื่อเทียบกับทีดีเอ็มเอมีความแตกต่างกัน และอีกอย่างมีวิธีการที่เข้ากันไม่ได้จากมาตรฐานระหว่างช่วงเวลา IS-136
รูปวิวัฒนาการของทีดีเอ็มเอ
ความคิดของจีเอสเอ็ม และไอเอส-136 ซึ่งทั้งสองมีระบบปฏิบัติการ (Operating Systems: OS) ที่แตกต่างกัน ที่สามารถทำงานบนหน่วยประมวลผลเหมือนกันได้ ซึ่งเหมือนกับระบบปฏิบัติการวินโดว์ (Windows) กับลินุกซ์ (Linux) ในคอมพิวเตอร์ ที่ทั้งคู่สามารถทำงานบนโปรเซสเซอร์อินเทลเพนเทียมได้
ระบบจีเอสเอ็มต้องใช้การเข้ารหัส เพื่อให้การใช้งานของโทรศัพท์มีความปลอดภัยมากขึ้น จีเอสเอ็มทำงานอยู่ในโซนยุโรป และเอเชียในคลื่นความถี่ 900 และ1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz)
รูปประเทศที่ใช้ระบบจีเอสเอ็ม 900 และ1800 เมกะเฮิรตซ์
ส่วนในสหรัฐอเมริกาใช้คลื่นความถี่ 1900 เมกะเฮิรตซ์ (บางครั้งก็เรียกว่า 1.9 จิกะเฮิรตซ์ (GHz)) ซึ่งถูกนำมาใช้ในโทรศัพท์มือถือระบบดิจิตอล และเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
นอกจากนี้จีเอสเอ็มยังเป็นพื้นฐาน สำหรับการใช้งานในเครือข่ายแบบบูรณาการในระบบดิจิตอลที่เพิ่มเข้ามา (Integrated Digital Enhanced Network: IDEN) ระบบที่นิยมนำมาใช้ก็คือ โมโตโรล่า (Motorola) และใช้โดยเน็กเทล (Nextel) ส่วนเอทีแอนด์ที (AT&T) และที-โมไบล์ (T-Mobile) ใช้จีเอสเอ็ม
9.1 ซึดีเอ็มเอ
การเข้าถึงตามการเข้ารหัส และการถอดรหัสโดยใส่แอดเดรสหมือน IP เราเรียกวิธีการนี้ว่า ซีดีเอ็มเอ ใช้ในยุค 2G จึงเป็นการรับส่งสัญญาณโทรศัพท์แบบดิจิตอลหมดแล้ว
รูปการใช้งานซีดีเอ็มเอ
ซีดีเอ็มเอ เป็นมาตรฐานมาจากสหรัฐอเมริกา เป็นมาตรฐานของโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2จี ทำขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการในการใช้งานระบบสื่อสารส่วนบุคคล (Personal Communication) ในลักษณะการใช้งานแบบสื่อสารไร้พรมแดน (Global Communication) ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือ สามารถนำโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้งานที่ใด ๆ ก็ได้ทั่วโลกที่มีการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
อีกทั้งยังเป็นการสื่อสารดิจิตอลสมบูรณ์แบบ เพื่อให้มีความปลอดภัย และประสิทธิภาพในการสื่อสารมีมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการส่งข้อความสั้น หรือเอสเอ็มเอส (Short Message Service: SMS) เป็นการเริ่มต้นของยุคสื่อสารผ่านข้อมูลผ่านโทรศัพท์มือถือเป็นครั้งแรกโดยมาตรฐานจีเอสเอ็ม และซีดีเอ็มเอ ซึ่งเป็นวิธีการที่มีแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับทีดีเอ็มเอ
รูปเอสเอ็มเอสในโทรศัพท์ยุค 2จี
โดยในซีดีเอ็มเอ หลังจากที่การแปลงข้อมูลทางดิจิตอล มันกระจายออกไปทางช่องความถี่ของคลื่นวิทยุที่มีอยู่ทั้งหมด หลายสายที่มีการซ้อนทับกันในช่องสื่อสาร แต่ก็มีการกำหนดลำดับรหัสที่ไม่ซ้ำกัน
ซีดีเอ็มเอเป็นรูปแบบของการแพร่กระจายคลื่นความถี่ (Spread spectrum) หมายความว่าข้อมูลจะถูกส่งไปเป็นชิ้นเล็ก ๆ ซึ่งเป็นตัวเลขจำนวนมากของความถี่ที่ไม่ต่อเนื่อง เพื่อให้มีการใช้งานได้ตลอดเวลาในช่วงที่กำหนด ผู้ให้บริการส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกาใช้ระบบ ซีดีเอ็มเอ ซึ่งยังไม่มีซิมการ์ด
ผู้ใช้ทั้งหมดมีการใช้ส่งข้อมูลเป็นวงกว้างของคลื่นที่มีความถี่เดียวกัน ในสัญญาณของผู้ใช้ในแต่ละคนจะแผ่กระจายไปทั่วทั้งช่วงคลื่นความถี่โดยมีรหัสการแพร่กระจายที่ไม่ซ้ำกัน
รูปโทรศัพท์มือถือยุค 2จี ระบบซีดีเอ็มเอ
ที่ผู้รับสัญญาณเข้ารหัสจะเป็นรูปแบบที่เหมือนกันในการดึงสัญญาณ เพราะว่าระบบซีดีเอ็มเอมีความจำเป็นที่จะต้องระบุเวลาที่แม่นยำในแต่ละส่วนของช่วงสัญญาณ จะทำให้มันสามารถอ้างอิงกับระบบจีพีเอสในข้อมูลเหล่านี้ ระหว่างที่ทำการโทรซึ่งเป็นช่องสื่อสารรูปแบบเดียวกับการโทรแบบแอมป์อนาล็อก
เทคโนโลยีซีดีเอ็มเอ เป็นพื้นฐานสำหรับมาตรฐานระหว่างกาล 95 (IS-95) และทำงานในช่วงคลื่นความถี่ 800 และ1900 เมกะเฮิรตซ์
ในทางแนวคิดอุดมคติ ทีดีเอ็มเอ และซีดีเอ็มเอ ข้อมูลเป็นแบบโปร่งไส เมื่อเทียบกับรูปแบบอื่น ๆ
แต่ในทางปฏิบัติแล้ว สัญญาณซีดีเอ็มเอ มีกำลังส่งที่สูงซึ่งอาจเกิดคลื่นรบกวนมากกว่าภาครับของทีดีเอ็มเอ แต่ถ้าทำให้สัญญาณทีดีเอ็มเอให้กำลังส่งสูงก็อาจทำให้การใช้งานหนักมากไป และอาจเกิดการติดขัด (Jaming) มากกว่าภาครับของซีดีเอ็มเอ
นอกจากนี้ยังมียุคที่อยู่ก้ำกึ่งระหว่าง 2จี กับ 3 จี นั่นก็คือยุค 2.5จี
การสื่อสารไร้สายยุค 2.5จี ได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจากเทคโนโลยี ในระดับ 2จี แต่มีประสิทธิภาพด้อยกว่ายุค 3จี โดยเทคโนโลยียุค 2.5จีนั้น สามารถให้บริการรับส่งข้อมูล แบบชุดแพคเก็ตที่ความเร็วระดับ 20 – 40 Kbps
ในทางปฏิบัติ เทคโนโลยีจีพีอาร์เอส ถือว่าเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายในระดับ 2.5จี
รูปยุคของโทรศัพท์ที่มี 2.5จีเข้ามาคั่นกลาง
วิดีโอความแตกต่างกันของจีเอสเอ็ม และซีดีเอ็มเอ
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“ก่อนจะพูดอะไร ควรที่จะนึกถึงคนฟังก่อนเสมอ
เพราะการพูด คนพูดอาจไม่คิด แต่คนฟังจะจำไปอีกนาน”