8. เครือข่าย 2 จี
เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ จะมีการแบ่งออกเป็นยุค ๆ จากที่ได้กล่าวเบื้องต้นมาแล้ว คือ 1จี, 2จี, 3จี, 4จี และอนาคตอันใกล้ก็จะเป็น 5จี
รูปโทรศัพท์ยุคต่าง ๆ
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
ยุค 2G เป็นยุคที่พัฒนาต่อมา โดยการเข้ารหัสสัญญาณเสียง ด้วยการบีบอัดสัญญาณเสียงในรูปแบบดิจิตอล ให้มีขนาดจำนวนข้อมูลให้น้อยลง ซึ่งเหลือเพียงประมาณ 9 กิโลบิตต่อวินาที ต่อช่องสัญญาณ
ยุค 2จี ซึ่งโดยทั่วไปจะมีอยู่สามเทคโนโลยีที่ใช้ในการส่งข้อมูล ดังนี้
v การเข้าถึงความถี่หลายช่องทาง หรือเอฟดีเอ็มเอ (Frequency Division Multiple Access: FDMA)
v การเข้าถึงในเวลาหลายช่องทาง หรือทีดีเอ็มเอ (Time Division Multiple Access: TDMA)
v การเข้าถึงรหัสหลายช่องทาง หรือซีดีเอ็มเอ (Code Division Multiple Access: CDMA)
รูปเทคโนโลยียุค 2 จี
แม้ว่าเทคโนโลยีเหล่านี้อาจมีเสียงขาด ๆ หาย ๆ หรือสายหลุดอยู่บ้าง แต่จากการพัฒนามาเรื่อย ๆ ทำให้มีการปรับปรุงคุณภาพตลอดเวลา ทำให้คนใช้ในยุค 2 จีนี้ มีความรู้สึกว่าสะดวกสบายในการโทรมากขึ้น
ในแต่ละชื่อด้านบนจะมีความแตกต่างกันไป ในคำส่วนหน้าด้านบนจะบอกถึงการนำเข้าไปสู่วิธีการ ส่วนคำข้างหลังจะบ่งบอกถึงการแยกช่องทางซึ่งจะขึ้นอยู่กับวิธีการเข้าถึง
ใน เอฟดีเอ็มเอ ทำให้การโทรแต่ละครั้งอยู่บนความถี่ที่แยกต่างหากกัน
ใน ทีดีเอ็มเอ จะช่วยกำหนดการโทรแต่ละครั้ง ขณะใดขณะหนึ่งของเวลาในความถี่ที่กำหนด
ใน ซีดีเอ็มเอ ให้รหัสที่ไม่ซ้ำกันในการโทรแต่ละครั้ง และสามารถกระจายรหัสของมันไปมากกว่าความถี่ที่มีอยู่
8.1 เอฟดีเอ็มเอ
รูปช่วงคลื่นความถี่ของเอฟดีเอ็มเอ
เป็นการแยกแถบคลื่นความถี่ หรือสเปกตรัม (Spectrum) ให้เป็นช่องทางเสียงที่แตกต่างกันโดย การแยกออกเป็นส่วนของแบนด์วิดธ์ หรือช่วงความถี่ของคลื่นวิทยุ (Banwidth)
รูปเอฟดีเอ็มเอ
เพื่อจะทำความเข้าใจในเอฟดีเอ็มเอ ให้นึกว่าเป็นสถานีวิทยุ แต่ละสถานีส่งสัญญาณความถี่ที่ต่างกันภายในแถบคลื่นความถี่ที่มีอยู่ เอฟดีเอ็มเอส่วนใหญ่จะใช้ส่งสัญญาณแบบอนาล็อก และแน่นอนมันก็เป็นพาหะในการส่งข้อมูลทางดิจิตอลด้วย แต่จะไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเท่าไหร่ในการส่งข้อมูลแบบดิจิตอล
8.2 ทีดีเอ็มเอ
การติดต่อจากสถานีลูก หรือตัวโทรศัพท์เคลื่อนที่ กับสถานีฐาน ที่ใช้วิธีการทีดีเอ็มเอ ก็ คือการแบ่งช่องเวลาออกเป็นช่องเล็ก ๆ และแบ่งกันใช้ ซึ่งจะทำให้ใช้ช่องสัญญาณความถี่วิทยุได้เพิ่มขึ้นจากเดิมอีกมาก
รูปช่วงคลื่นความถี่ของทีดีเอ็มเอ
เข้าสู่วิธีการใช้ประโยชน์ของ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics industry) และอุตสาหกรรมด้านการสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunications industry) ที่กำหนดเป็นมาตรฐานระหว่างช่วงเวลา (Interim Standard: IS)- 54 และมาตรฐานระหว่างช่วงเวลา- 136 (IS-136)
การใช้ทีดีเอ็มเอใช้แถบคลื่นความถี่แคบ (Narrow band) ช่วงคลื่นกว้าง 30 kHz และความยาวคลื่น 6.7 มิลลิวินาที (milliseconds) มีการแบ่งเวลาออกเป็นสามช่อง
แถบคลื่นความถี่แคบ หมายถึง ช่องสื่อสาร (Channels) ในความหมายดั้งเดิม คือการสนทนาแต่ละคนจากการรับวิทยุใช้เวลาหนึ่งในสาม นี้คือความเป็นไปได้เพราะว่าข้อมูลเสียงนั่นมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลทางดิจิตอลที่ถูกบีบอัด เพื่อให้มีพื้นที่น้อยลงอย่างมีนัยยะสำคัญในการส่ง
เพราะฉะนั้น ทีดีเอ็มเอจึงมีความสามารถสามเท่าของระบบอนาล็อกในการใช้จำนวนที่เหมือนกันของช่องสื่อสาร ระบบทีดีเอ็มเอทำงานในแต่ละแถบคลื่นความถี่ 800 MHz (IS-54) หรือ 1900MHz (IS-136)
รูปเทียบกันของเอฟดีเอ็มเอ และทีดีเอ็มเอ
วิดีโอการทำงานของทีดีเอ็มเอ
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“ทำลายคนหนึ่งคน
ใช้แค่คำพูดคำเดียวก็เพียงพอ
แต่ถ้าปั้นคนหนึ่งคน
ต้องใช้คำพูดเป็นร้อยเป็นพันคำ”