6. จากอนาล็อก สู่โทรศัพท์มือถือแบบดิจิตอล
รูปโทรศัพท์ และอุปกรณ์สื่อสารระบบดิจิตอล
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
โทรศัพท์มือถือดิจิตอลแบบสมบูรณ์ที่เกิดขึ้นเป็นรุ่นแรก ซึ่งถ้านับเป็นยุคก็คือ ยุคที่สอง หรือ ยุค 2 จี (2G) ซึ่งได้เปลี่ยนรูปแบบจากการส่งด้วยคลื่นวิทยุที่เป็นอนาล็อก เริ่มมาสู่การเข้ารหัส และส่งทางคลื่นไมโครเวฟของเทคโนโลยีเซลลูลาร์โทรศัพท์มือถือ มีการใช้งานซิมการ์ด (SIM card)
รูปตัวอย่างซิมการ์ด
ขนาดของโทรศัพท์จะถูกออกแบบให้เล็กลง มีความสามารถในการส่งเอสเอ็มเอส และข้อมูลได้ นอกจากนี้ยังมีการกำหนดเส้นทางที่เชื่อมต่อกับสถานีฐาน จนทำให้เกิดเป็น ระบบจีเอสเอ็ม (Global System for Mobilization: GSM) เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้โทรศัพท์มือถือเครื่องเดียวสามารถนำไปใช้งานได้ทั่วโลก ที่เรียกว่า การโรมมิ่งต่างประเทศ
รูประบบจีเอสเอ็ม
สัญญาณอนาล็อกไม่สามารถบีบอัด และจัดการได้อย่างง่ายดาย เหมือนกับสัญญาณดิจิตอลที่แท้จริง นี้คือเหตุผลว่าทำไมบริษัทผู้ให้บริการถึงเปลี่ยนมาเป็นระบบดิจิตอล เพื่อให้พอดีกับช่องสัญญาณที่มากขึ้นภายในแถบคลื่นแบนวิธที่กำหนด
รูปโทรศัพท์ดิจิตอลที่แปลงข้อมูลเป็นเลขฐานสอง
โทรศัพท์ดิจิตอลจะแปลงเสียงการโทรไปเป็นข้อมูลเลขฐานสอง (Binary) (เลข 1 และ 0 หรือ เปิด และปิด) และสามารถทำการบีบอัดมันได้ ทำให้คุณภาพเสียงมีความคมชัดขึ้น การลักลอบดักฟังจะทำได้ยากขึ้น เพราะมีการเข้ารหัสไว้
ระบบของโทรศัพท์ดิจิตอลทั้งหลายต้องพึ่งพา การเปลี่ยนคีย์ความถี่ (Frequency-Shift Keying: FSK) เพื่อการส่งข้อมูลไปกลับ และเพื่อให้มีการส่งข้อมูลได้มากกว่าแอมปส์ เอฟเอสเคจะมีใช้อยู่สองความถี่ ความถี่หนึ่งสำหรับ 1 และอีกความถี่หนึ่งสำหรับ 0
รูปเอฟเอสเค
มีการสลับกันอย่างรวดเร็วระหว่างค่าทั้งสอง เพื่อที่จะส่งข้อมูลดิจิตอล ระหว่างเสาส่งโทรศัพท์มือถือ กับตัวโทรศัพท์ มีการปรับตัวที่ชาญฉลาด และมีแผนการเข้ารหัส ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องแปลงข้อมูลจากอนาล็อกไปเป็นดิจิตอล แล้วก็นำไปบีบอัด และถูกแปลงกับคืนอีกครั้ง โดยที่ยังคงรักษาระดับคุณภาพของเสียงให้เป็นที่ยอมรับได้
ซึ่งการเกิดขึ้นทั้งหมดนี้ ก็มีความหมายว่าโทรศัพท์มือถือแบบดิจิตอล จะต้องใช้กำลังงานในการประมวลผลที่มีปริมาณมาก
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
อัญเชิญพระบรมราโชวาทของในหลวง
“งานที่กระทำโดยอาศัยหลักวิชาที่ดี บนรากฐานแห่งความสุจริตและความมุ่งมั่น และด้วยวิธีการอันแยบคาย
พร้อมด้วยความพึงพอใจความอุตสาหะขะมักเขม้น เอาใจใส่ ด้วยความพินิจพิจารณา จะต้องบรรลุที่ปราศจากโทษ และเป็นประโยชน์ แท้จริงอย่างแน่นอน”
พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทาน
ปริญญาบัตรของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
14 กรกฎาคม 2522
ทรงพระเจริญ
|