5. โทรศัพท์มือถือแบบอนาล็อก
รูปโทรศัพท์มือถืออนาล็อก
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
ในปี พ.ศ. 2526 โทรศัพท์มือถือแบบอนาล็อก (Analog cell phone) หรือถูกนับให้เป็น ยุคที่ 1 (1 G: Generation) ซึ่งตัวเครื่องจะมีขนาดใหญ่ และหนักมาก มีทั้งรุ่นที่เป็นกระเป๋าหิ้ว และรุ่นที่เรียกว่ารุ่นกระดูกหมา หรือกระติกน้ำ ยุคนั้นยังไม่มีการใช้ซิมการ์ด
ตามมาตรฐานสากลในขณะนั้น จะถูกเรียกว่า ระบบมือถือขั้นสูง หรือแอมปส์ (Advanced Mobile Phone System: AMPS) ที่ได้รับการอนุมัติโดย กรรมาธิการกิจการสื่อสารของสหรัฐอเมริกา (U.S. Federal Communications Commission: FCC) และถูกนำมาใช้ครั้งแรกในรัฐชิคาโก ของสหรัฐอเมริกา
รูปโทรศัพท์มือถือแบบอนาล็อก
รูปโทรศัพท์มือถืออนาล็อก
แอมปส์ ใช้ช่วงความถี่ระหว่าง 824 เมกะเฮิรตซ์ (Megahertz:MHz) ถึง 894 MHz ซึ่งนำมาใช้สำหรับโทรศัพท์มือถือแบบอนาล็อก สมัยนั้นเพื่อส่งเสริมการแข่งขันทางการตลาด และต้องการให้ราคาให้ต่ำ รัฐบาลของสหรัฐจึงต้องการผู้ให้บริการสองเจ้าในตลาด รู้จักกันในนาม ผู้ให้บริการ เอ และบี
หนึ่งในผู้ให้บริการ จะเรียกว่า ผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนท้องถิ่น (Local-Exchange Carrier: LEC) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการในท้องถิ่นนั้น สถานีฐานที่ให้บริการก็ยังคงมีอยู่น้อย ผู้ให้บริการเอ และบีจะได้รับมอบหมายหน้าที่ในแต่ละคลื่นความถี่ เช่น 832 MHz มีช่องสัญญาณ 790 ช่องสำหรับเสียง และอีก 42 ช่องสำหรับข้อมูล
รูปโทรศัพท์มือถืออนาล็อก
หนึ่งคู่ของความถี่ (หนึ่งคือการส่ง และอีกหนึ่งคือการรับ) ถูกนำมาใช้เพื่อการสร้างช่องทางหนึ่ง ความถี่ที่ใช้ในช่องเสียงแบบอนาล็อก จะใช้สัญญาณวิทยุในการส่งคลื่นเสียง เป็นชนิดความถี่ 30 กิโลเฮิรตซ์ (kilohertz: kHz) ซึ่งในความถี่ 30 kHz นี้ จะได้รับเลือกให้ใช้เป็นมาตรฐาน เพราะมันจะช่วยทำให้คุณภาพเสียงเทียบเท่ากับโทรศัพท์มือถือแบบใช้สาย จะมีสถานีฐานทำหน้าที่รับส่งสัญญาณไปยังโทรศัพท์มือถือ ซึ่งในหนึ่งคลื่นความถี่จะเท่ากับหนึ่งช่องสัญญาณ
ความถี่ในการส่ง และในการรับของแต่ละช่องเสียงจะถูกแยกจากกันด้วยช่วงความถี่ 45 MHz เพื่อปกป้องพวกมันจากคลื่นรบกวนย่านอื่น ๆ ทำให้ผู้ให้บริการแต่ละเจ้าจะมีช่องสัญญาณ 395 ช่องเสียง และมี 21 ช่องข้อมูล เพื่อใช้สำหรับการบริหารจัดการการรับ และโทรออก
รุ่นหนึ่งของแอมปส์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา รู้จักกันในชื่อ การให้บริการโทรศัพท์ขั้นสูงแถบลูกศร หรือแนมปส์ (Narrowband Advanced Mobile Phone Service: NAMPS) ประกอบด้วยการรวมเทคโนโลยีดิจิตอลบางอย่างเข้ามา เพื่อให้ระบบดำเนินการได้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นถึงสามเท่าในการโทรพร้อมกันเป็นจำนวนมาก
รูปการโทรด้วยโทรศัพท์มือถืออนาล็อก
ถึงแม้จะใช้เทคโนโลยีดิจิตอลเพิ่มเข้ามา แต่มันก็ถือว่าแอมปส์ และแนมปส์ยังคงเป็นอนาล็อก ทำงานได้ในเพียงแถบคลื่น 800 MHz เท่านั้น คุณภาพของเสียงก็ยังไม่คมชัดเท่าที่ควร ขณะใช้งานการโทรก็มักจะเกิดปัญหาที่สายหลุดบ่อย อีกทั้งมีความเสี่ยงต่อการลักลอบดักฟังสูง
ในมือถือยุค 1 จี ยังไม่ได้มีความสามารถที่หลากหลาย เป็นเพียงแค่เน้นการโทรเข้า และโทรออกเท่านั้น ยังไม่มีการรับส่งข้อความ หรือเอสเอ็มเอส (SMS) อีกทั้งยังไม่มี การใช้อีเมล์ และการท่องเว็บ ซึ่งผู้ใช้งานส่วนใหญ่มักจะเป็นนักธุรกิจที่มีฐานะ และต้องใช้ติดต่องานตลอดเวลา
วิดีโอโฆษณามือถืออนาล็อกสมัยก่อน
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
อัญเชิญพระบรมราโชวาทของในหลวง
“การจะทำงานให้มีประสิทธิผลและให้ ดำเนินไปได้โดยราบรื่นนั้น จำเป็นอย่างยิ่ง จะต้องทำด้วยความรับผิดชอบอย่างสูงไม่ บิดเบือนข้อเท็จจริงไม่บิดเบือนจุดประสงค์ที่แท้จริงของงาน
สำคัญที่สุดต้องเข้าใจความหมาย ของคำว่า ความรับผิดชอบเพราะความรับผิดชอบ คือหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ทำ จะหลีกเลี่ยงละเลยไม่ได้”
พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทาน
ปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
16 กรกฏาคม 2519
ทรงพระเจริญ